ผลของสื่อวีดิทัศน์โปรแกรมต่อระดับความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุนิษฐา เชี่ยวนาวิน โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจก, ความสามารถในการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก วัสดุและวิธีการศึกษา : รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pre test – Post test Designs) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคตาต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ โรงพยาบาลหนองคาย จำนวน 150 ราย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ดำเนินการใช้แบบสอบถาม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยก่อนและหลังการสอน ด้วยการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมฯ ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมฯ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าประสิทธิภาพ ของสื่ออยู่ระหว่าง 3.67 ถึง 4.66 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ส่วนแบบสอบถามความรู้และแบบประเมินความ สามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน นำไปทำการทดลองใช้ (try out) กับผู้ป่วยที่มีคุณลักษณะเช่น เดียวกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย และนำแบบสอบถามมาหาค่าดัชนีความตรง ตามเนื้อหาของแบบ สอบถามทั้งชุด (Content Validity index หรือ CVI) ได้ค่าความเชื่อมั่นความรู้เท่ากับ 0.73 และค่าความเชื่อมั่นความสามารถเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired samples Test ผลการศึกษา : พบว่าความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกหลังการสอนโดยใช้ สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้ป่วยก่อนและหลังการสอน โดยใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมฯ พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.000 และความสามารถของผู้ป่วย ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมฯ พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p= 0.000 ข้อสรุป : ผู้วิจัยมีข้อสรุปว่าสื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดตาต้อกระจกนี้สามารถ นำไปใช้กับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดตาต้อกระจก ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

References

Rao GN, Khanna R, Payal A. The global burden of cataract. Curr Opin Opthalmol. 2011; 22(1), 4-9.

Bollinger KE, Langston RH. What can patients expect from cataract surgery? Cleve Clin J Med. 2008; 75(3), 193-6, 199-200.

Geoffrey T, Michael C, Ladan E. Cataract surgery for the developing world. Curr Opin Opthalmol. 2008; 19(1), 5-9.

โรงพยาบาลหนองคาย. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลหนองคาย ประจำปี 2559. หนองคาย : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Chaimanee T. The quality of life of elderly cataract patients before and after intraocular lens implantation sugery at Siriraj Hospital [master‘s thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2009. 267 p. (in Thai).

Yenjit W. Cataract issues in Thailand:manual for assessment of caring situation of cataract treatment in Thailand in 2005. Bangkok: Department of Medical Service, Ministry of Public Health. 2005. (in Thai).

โรงพยาบาลหนองคาย. รายงานการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลหนองคาย. หนองคาย : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Dale, Edgar. Audio – Visual Method in Teaching. 3rd ed. New York: Dryden Press. 1969.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคนอื่นๆ. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเล่มที่ 1 หน่วยที่ 1-5.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543; 731-6.

เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์. การพัฒนารายการวีดิทัศน์ประกอบการฝึกอบรมเรื่องกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2540; 54-5.

Orem.D.E. Thai journal of Public health Opthalmology.Nursing:Concepts of Practice. 5thed. Newyork:Mc Graw –Hill. 1995; 40, 13-24.

สุรพล เวียงนนท์ และคณะ. ผลของการให้ความรู้ด้วยซีดีวีดิทัศน์ เรื่องการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคธาลัสเมีย. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 2547.

สุธัญญา นวลประสิทธิ์, พวงเพชร วุฒิพงศ์และกษิรา จันทรมณี. ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล. 2552; 25(2), 78-86.

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2553; 28(2) ,8-19.

พัชราภรณ์ วิริยะประสพโชค และ ศิลปะ ไชยขันธ์. ประสิทธิภาพของการสอนญาติผู้ป่วยหลังผ่าตัดตาต้อกระจกโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ หอผู้ป่วยโสตศอนาสิกและ จักษุ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2555; 4(2) , 43-52

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะด้ำ และ เขมริฐศา เข็มมะลวน. ความรู้ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 2558; 13(1), 35-45

เบญจวรรณ พวงเพชร, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และ กนกรัตน์ พรพาณิชย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. Journal of Nursing Science. 2016; 34(1), 53-62.

เสริมทรง จันทร์เพ็ญ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกหอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.[cited 2017 August 5] Aviable from: www.photharamhosp.go.th/ptrhos/attachments/article/30/pdfd08.pdf.

ธนาวรรณ ศรีกุลวงศ์ และศิริพันธ์ สาสัตย์. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558; 7(1) , 117-127

Google.com/site/vediowidithasn/praphethkhxng-ray-ka-rwi-di-thasn-pheux-kar-suksa [cited 2017 August 2] Aviable from: http://mediathailand.blogspot.com/2012/06/blogpost_4538.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30