ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลของผู้ป่วยในอายุ 14 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ชูวัฒนา ชาระ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลนครพนม
  • ศุภโชค เข็มลา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • ศิรานันต์ พลเหี้ยมหาญ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • อุไรวรรณ สุรินทร์ 4กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลนครพนม
  • เกรียงไกร ประเสริฐ กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, การติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม, โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มและอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มของ ผู้ป่วยในอายุ 14 ปี ขึ้นไป ในโรงพยาบาลนครพนม วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ case-control study ในผู้ป่วยที่รับเข้าไว้รักษา ในโรงพยาบาล นครพนม ระหว่างเดือนมกราคม 2559 ถึงเดือนธันวาคม 2561 เปรียบเทียบปัจจัยการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มระหว่าง ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มกับผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา 1-2 กลุ่ม และติดเชื้อไม่ดื้อยาในโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูล ย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยใน ปัจจัยที่สนใจศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ โรคร่วม ได้แก่ เบาหวานและมะเร็ง การรักษา ในหอผู้ป่วยวิกฤต การสอดใส่ท่อหรือสายสวนเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ การใส่เครื่องช่วยหายใจ การใส่สายสวนปัสสาวะ และ การใส่สายยางเข้ากระเพาะอาหาร และการได้รับยาต้านจุลชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย multivariable logistic regression ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 461 ราย เป็นกลุ่มศึกษา 117 ราย กลุ่มควบคุม 344 ราย กลุ่มศึกษาส่วนมาก เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58 อายุเฉลี่ย 62 ปี ส่วนมากปอดอักเสบจากที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 58 เชื้อก่อโรคที่พบ มากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii พบร้อยละ 83 ระยะเวลารักษาเฉลี่ย 33 วัน กลุ่มควบคุม ส่วนมากเป็น เพศชาย ร้อยละ 52 อายุเฉลี่ย 59 ปี ส่วนมากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากที่ใส่คาสายสวน ร้อยละ 32 เชื้อก่อโรคที่พบ มากที่สุด คือ Escherichia coli พบร้อยละ 22 ระยะเวลารักษาเฉลี่ย 25 วัน ทั้งสองกลุ่มมีสภาพขณะจำหน่ายแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มศึกษา หายหรือทุเลา ร้อยละ 63 เสียชีวิต ร้อยละ 21 ขณะที่กลุ่มควบคุม หาย หรือทุเลา ร้อยละ 79 และเสียชีวิต ร้อยละ 13 อุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม ปี 2559 - 2561 พบร้อยละ 0.11, 0.12 และ 0.16 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม ได้แก่ การรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (OR adjusted 1.83, 95% CI 1.00-3.35) การใส่เครื่องช่วยหายใจ (aOR 2.47 95% CI 1.10-5.55) และการได้รับยา 3rd Cephalosporins (aOR 1.92, 95% CI 1.21-3.05) ข้อสรุป: ผู้ป่วยที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ใส่เครื่องช่วยหายใจ และได้รับยา 3rd Cephalosporins มีโอกาส ติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาล ควรมีการเก็บข้อมูลและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น

References

ศูนย์เฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. (2013). สถานการณ์เชื้อดื้อยาของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://narst.dmsc.moph.go.th/whonetmeeting/2.pdf

Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2014). MRSA Surveillance, In Hospitals. Retrieved from http://www.cdc.gov/mrsa/statistics/MRSA-Surveillance- Summary.html

CDC. Multidrug-Resistant Organism & Clostridium difficile Infection (MDRO/CDI) Module. January 2014. http://www.cdc.gov/nhsn/PDFs/pscManual/12pscMDRO CDADcurrent.pdf

Hanberger,H.,Walther, S., Leone, M., Barie, P. S., Rello, J.,Lipman, J. et al. (2011). Increased mortality associated with methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) infection in the intensive care unit:results from the EPIC II

study. International Journal of Antimicrobial Agents,38(4),331-335. https://scholar.google.co.th/scholar?cluster=1140104170647084118&hl=th&as_sdt=0,5

Eagye KJ, Kuti JL, Nicolau DP. Risk factors and outcomes associated with isolation of meropenem high-level-resistant Pseudomonas aeruginosa. Infect Control Hosp Epidemiol; 2009;30(8):746-52. https://scholar.google.co.th/scholar?cluster=8307974404296548609&hl=th&as_sdt=0,5

Fillice, G. A., Nyman, J. A., Lexau, C., Lee, C. H., Bockstedt, L. A., Como-Sabetti, K., et al. (2010).Excesscost and utilization associated with methicillin resistance for patients with Staphylococcus aureus infection. Infection Control and Hospital Epidemiology, 31, 365-373. https://scholar.google.co.th/scholar?cluster=8307974404296548609&hl

Salgado, C., Gonçalves, J. C., Souza, C. M. D., Silva, N. B. D., Sánchez, T. E. G., Oliveira, G.D., & Karnikowski, M. (2011). Cost of antimicrobial treatment of patients infected with multidrug-resistant organisms in the intensive care unit. Medicina (B Aires). 71(6), 531

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาธร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6(3):352-360.

World Health Organization. Antimicrobial resistance: global report on surveillance 2014. Available at: apps.who.int/iris/bitstre am/10665/112642/1/9789241564748_eng.pdf.Accessed Aug 26, 2018. :https://scholar.google.co.th/scholar?cites=4105865597082968317&as_sdt=2005&sciodt=0,5&hl=th

กลุ่มงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลนครพนม. (2018). รายงานเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล.

SIEGEL, Jane D., et al. Management of multidrug-resistant organisms in health care settings, 2006. American journal of infection control, 2007, 35.10: S165-S193. :https://www.cdc.gov/infectioncontrol/guidelines/mdro/

US DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES, et al. Antibiotic resistance threats in the United States, 2013. Centers for Disease Control and Prevention, 2013. :https://www.cdc.gov/drugresistance/threat-report-2013/pdf/ar-threats-2013-508.pdf

กัลยาณี ศุระศรางค์. (2006). ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii ในโรงพยาบาลศิริราช. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.si.mahidol.ac.th/th/publication/2007/Vol90_ No.8_1633_2880.pdf

Forster, A. J., Oake, N., Roth, V., Suh, K. N., Majewski, J., Leeder, C., & van Walraven, C. (2013). Patient-level factors associated with methicillin-resistant Staphylococcus aureus carriage at hospital admission: A systematic review. American Journal of Infection Control, 41(3), 214-220. doi: http://dx.doi.org/10.1016/j.ajic.2012.03.026

Swati Patolia, Getahun Abata, Nirav Patel, Setu Patolia,and Sharon Frey.(2017). Risk factor and outcomes for multidrug-resistant Gram-negative bacilli bacteremia: https://www.ncbi.nim.nih.gov/pmc/articles/PMC5761922/

นันทิพัฒน์ พัฒนโชติม พรนภา ศุกรเวทย์, ชินวัตร ศรีใส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานของเชื้อ Acinetobacter baumannii ในผู้ป่วยในโรงพยาบาบร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555;5(1):87-95

นฤมล จุ้ยเล็ก, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนาระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วย ใน.พยาบาลสาร; 2559 ;43(3):69-80.

Hong-Yu Zhou, Zhe Yuan, Yu-Ping Du.(2014) Prior use four invasive procedures the risk of Acinetobacter boumannii nosocomial bacteremia among patients in intensive care units: a systemic review and meta-analysis.

International journal of Infectious Disease 22(2014) 25-30 https://bmcinfectdis.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12879-017-2932-5.

Spilpa kalluru, Shoshannah Eggers, Anna Barker, Daniel Shirley, Ajay K. Sethi, Shamila Sengupta, Kajal Yeptho, Nasia Safdar: Am J Infect Control. 2018 Mar; 46(3) ; 341-345 https://www.ncbi.nim.nih.gov/pmc/articles/PMC5760232/.

PARKER, Chris M., et al. Ventilator-associated pneumonia caused by multidrug-resistant organisms or Pseudomonas aeruginosa: prevalence, incidence, risk factors, and outcomes. Journal of critical care, 2008, 23.1: 18-26.

https://scholar.google.co.th/scholar?cluster=16947238079996373387&hl=th&as_sdt=0,5

NSEIR, S., et al. Risk of acquiring multidrugresistant Gram-negative bacilli from prior room occupants in the intensive care unit. Clinical Microbiology and Infection, 2011, 17.8: 1201-1208. https://scholar.google.co.th/scholar?

cluster=15890187102535323811&hl=th&as_sdt=0,5

BLANCO, Natalia, et al. Risk factors and outcomes associated with multidrug-resistant acinetobacter baumannii upon intensive care unit admission. Antimicrobial agents and chemotherapy, 2018, 62.1: e01631-17. https://scholar.google.co.th/scholar?cluster=1027079 1613741120540&hl=th&as_sdt=0,5

HUANG, Huiping, et al. A multi-center study on the risk factors of infection caused by multi-drug resistant Acinetobacter baumannii. BMC infectious diseases, 2018, 18.1: 11. https://scholar.google.co.th/scholar?cluster

=14614415049417775369&hl=th&as_sdt=0,5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30