ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • ลักษณา ญาตินิยม โรงพยาบาลนครพนม
  • อนัญญา สารีพร โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

รูปแบบการวางแผนจำหน่าย, ทารกคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดต่อพฤติกรรม การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา และการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดที่ทารกเข้ารับ การรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลนครพนม ในช่วงเดือนตุลาคม 2560-กันยายน 2561 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่มารดาทารกคลอดก่อนกำหนดได้รับดูแลตามรูปแบบการวางแผนก่อนจำหน่ายทารกคลอด ก่อนกำหนด จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่มารดาทารกคลอดก่อนกำหนได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติ ทดสอบฟิชเชอร์ ผลการศึกษา : 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) 2) กลุ่มทดลองมีอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิต (p < 0.05) ข้อสรุป : การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและสามารถนำไปไปสู่การปฏิบัติการวางแผน จำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีคุณภาพ

References

Bums, N., and Grove, S.K. The practice of nursing research: Conduct, Critique, & Utilization. 4thed. New York: W.B. Saunders Company; 2001.

สุจินดา เพชรมั่ง, ก่อแก้ว กะสิรักษ์, จีราวรรณ พญารัง. ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3): 111-126.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. สรุปสถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2556-2558 (เอกสารอัดสำเนา). นครพนม: โรงพยาบาล ; (ม.ป.ป.).

วันเพ็ญ พุ่มเกตุ, รัตน์ศิริ ทาโต. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการสอนแนะต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นนครรภ์แรก. วารสารสภากาชาดไทย 2551; 1(1): 53-67.

ปราณี ผลอนันต์, ศรีพรรณ กันธวัง, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ในหออภิบาลทารกแรกเกิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. 2556; 40(1): 89-101.

สมทรง เค้าฝ่าย. ผลการเตรียมมารดาต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการดูแลทารก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

กันทิมา ขาวเหลือง, ปรีย์กมล รัชนกุล, เรณู พุกบุญมี. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดที่ส่งเสริมการดูแลต่อเนื่อง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555; 6(1): 27-38.

สมจิตต์ อุทยานสุทธิ, ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, วันเพ็ญ ภิญโญภาคสกุล. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด โรงพยาบาลตำรวจ.วารสารพยาบาลตำรวจ 2558; 7(2): 145-16

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30