การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • อรพินท์ สว่าง โรงพยาบาลนครพนม
  • นิภาพร หอมหวน โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลนครพนม และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 30 คน ผู้ดูแล 30 คน และทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 32 คน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 3 ทดลอง ใช้ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา : พบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) แผนการดูแล ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบสหสาขาวิชาชีพ 2) การจัดรูปแบบการบริการโดยใช้ผู้จัดการรายกรณี 3) การมีส่วนร่วม ของบุคคลในครอบครัว 4) การส่งต่อข้อมูลเพื่อการดูแลต่อเนื่อง 5) การติดตามเยี่ยมบ้านหลังการใช้รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า หลังการสอนผู้ป่วยและผู้ดูแลมีค่าคะแนนความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-17.32, p < .01) ด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.7, p < 0.05; t=4.6, p < .01) ตามลำดับ ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับตามรูปแบบการดูแลผู้ ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับมากที่สุด (X=4.86, S.D.=.28) พบการกลับมารักษาที่แผนกฉุกเฉิน (ER Visit) เพียง 1 ราย ข้อสรุป : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เน้นการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ บุคคลใน ครอบครัว การจัดการรายกรณี และการดูแลต่อเนื่องที่บ้านจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วย

References

World Health organization, WHO. World health reports. (serial online). [Cited 2009 May 1]. Available from: URL: http://www.who.int/whr/2008/en/.htm

กรมการแพทย์. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (serial online) [Cited 2017 March 10] Available from:URL: http://dhes.moph.go.th.

Pothirat C, Petchsuk N. Long term survival among COPD patients at Northern Thailand COPD club member. J med Asso C thai 2007; 90: 653-62.

Boonsawat W. Easy COPD Treatment. Khonkaen: Klangnanawitaya; 2012.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. (ออนไลน์) [สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2559] available from: URL: http://www.bhps.mophogo.th

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. รายงานเวชสถิติประจำปี 2558-2559. (เอกสารอัดสำเนา).นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม.

แจ่มจันทร์ แหวนวิเศษ. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังขะ จังหวัดศรีสะเกษ [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

สุทธิพล สุคนธชาติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Clari M., Ivziku D., Matarese M. The self-care experiences of people with chronic obstructive pulmonary disease. European Respiratory Journal 2016; 48: PA1394.

จันทร์จิรา วิรัช. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อการหายใจลำบากและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

นวลตา โพธิ์สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, เพชราภรณ์ สุพร. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2014; 32(1): 165-175.

วรรณวรา ไหลวารินทร์, กัญญา เลียนเครือ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล กันยายน-ธันวาคม 2559; 43(3): 92-113.

สารภี วงศ์สิทธิ์. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (serial online) 2 ตุลาคม 2556 [สืบค้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2560]. Available from: URL: http://www.med.cmu.ac.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30