การพัฒนาแนวทางการดำเนินแผนงานวัณโรคของจังหวัดนครพนม เพื่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด รายใหม่ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างรักษาวัณโรค จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • จงกล ธมิกานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

แผนงานวัณโรค, การดูแลผู้ป่วย, วัณโรคปอดรายใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการ ดูแลผู้ป่วยในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างรักษาวัณโรคของจังหวัดนครพนม วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง(Retrospective Study) ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตและ รักษาหายระหว่างที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ทุกรายของจังหวัดนครพนม รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากข้อมูล โปรแกรม TBCM ONLINE ของโรงพยาบาล 12 แห่ง ในจังหวัดนครพนม ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561 ศึกษาลักษณะการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติ Chi-Square โดยนำปัจจัยที่มีค่า p-value < 0.05 มาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษา : จากข้อมูลพบผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคทั้งหมด 561 ราย รักษาหายจำนวน 186 ราย เสีย ชีวิตระหว่างรักษา จำนวน 48 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 319 ราย อื่นๆ 9 ราย ศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่เสียชีวิตกับ ผู้ป่วยที่รักษาหายของผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติ Chi-Square นำปัจจัยที่มีค่า p-value < 0.05 วิเคราะห์ด้วยสถิติ Multiple logistic regression พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตระหว่างการ รักษาวัณโรค ถึง 2.995 เท่า (95% CI 1.476% – 6.118%) และผู้ป่วยที่มีการดูแลกำกับการกินยา DOT โดยเจ้าหน้า ที่หรืออสม.มีการเสียชีวิตน้อยกว่าการทำ DOT โดยญาติ ร้อยละ 77.4 (95% CI 0.106%-0.4272%) นำปัจจัยที่มีผล ต่อลักษณะการเสียชีวิตของผู้ป่วยมาวางแผนพัฒนาแนวทางดำเนินแผนงานวัณโรคของจังหวัดนครพนม โดยใช้ กระบวนการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) ได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1) พัฒนารูปแบบการมีผู้จัดการ ผู้ป่วยรายบุคคล 2) พัฒนาระบบการดูแลที่มีผู้ป่วยวัณโรคเป็นศูนย์กลาง (Patient center care) 3) พัฒนาระบบการ คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง และ 4) พัฒนาการดูแลกำกับผู้ป่วย DOT อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้การดำเนินงานด้าน วัณโรค จังหวัดนครพนม รอบไตรมาส 1/2562 อัตราการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 86.76 อัตราตาย ร้อยละ 8.09 และ มีการคัดกรองการคิดเชื้อวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค ร้อยละ 75.14 ข้อสรุป : ผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และการทำ DOT โดยญาติ มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค ปอด นำปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์พัฒนา กำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านวัณโรคและติดตามประเมินผลอย่าง ต่อเนื่องทำให้ผลการดำเนินงานด้านวัณโรคของจังหวัดนครพนมมีแนวโน้มสูงขึ้น

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva, Switzerland: WHO; 2017.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National Tuberculosis control Programme Guidelines, Thailand, 2018. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้าน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล, เกสร แถวโนนงิ้ว, ศุภฤกษ์ ถวิลลาภและคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย: ศึกษาแบบ Matched Case Control. วารสารการสาธารณสุข

ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2561:s 2-12.

Hanna HA, Miramontes R, Gandhi NR. Sociodemo-graphic and clinical risk factors associated with tuberculosis mortality in the united states, 2009-2013. Publice Health Rep 2017; 132: 366-75.

Feng JY, Su WJ, Chiu YC, Huang SF, Lin YY, Huang RM, et al. Initial Presentations Predict Mortality in Pulmonary Tuberculosis Patients - A Prospective Observational Study. PLoS One. 2011;6(9):e23715.

ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1/2560.

พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน และคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2556; 34 (2): 51-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30