ผลลัพธ์ของผู้ป่วยเมลิออยโดสิสเด็กในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • พัชรวจี วิฑูรเศรษฐ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์ของผู้ป่วยเมลิออยโดสิสเด็ก, โรคเมลิออยโดสิสเด็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : การศึกษาข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเมลิออยโดสิส ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง ปีงบประมาณ 2561 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยา ลักษณะ อาการทางคลินิก ตำแหน่งของการติดเชื้อ โรคหรือภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อน การตรวจเพื่อ วินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส ผลของการรักษาและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสเด็กในโรงพยาบาลมุกดาหาร วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยเด็กแรกเกิดถึงอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มุกดาหารด้วยโรคเมลิออยโดสิส มีผลเพาะเชื้อ Burkholderia pseudomallei ยืนยันระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 71 ราย ผลการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสเด็กในโรงพยาบาลมุกดาหารจำนวน 71 ราย พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 62 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 1 - 5 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 57.70 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 6 - 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.40 พบอุบัติการณ์การเกิดโรคเมลิออยโดสิสเด็กมากสุดในช่วงฤดูฝนร้อยละ 74.60 ลักษณะอาการ ทางคลินิกที่มากที่สุดคือ fever and head, neck or body swellingร้อยละ 39.40 รองลงมา head, neck or body swellingร้อยละ 25.40 จัดเป็นกลุ่มชนิด Localized melioidosis มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ73.20 รองลงมาคือ Non- Disseminated septicemic melioidosis ร้อยละ 25.40 พบเสียชีวิตโดยรวมร้อยละ 4.22 สำหรับกลุ่ม Non- Disseminated septicemic melioidosis พบว่าอัตราการเสียชีวิตการติดเชื้อที่ปอด (pneumonia) และอัตราการ เสียชีวิต โดยที่ยังไม่ทราบตำแหน่งของการติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 12.50 และ66.66 ส่วนในกลุ่ม Localized melioidosis พบตำแหน่งที่มีการติดเชื้อมากที่สุดคือ skin/soft tissue abscess, parotid abscess, pneumonia คิดเป็นร้อยละ 44.23 42.31 7.70 ตามลำดับพบว่าในกลุ่มLocalized melioidosis ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่ม Non-Disseminated septicemic melioidosis พบตำแหน่งที่มีการติดเชื้อมากที่สุดคือ splenic abscess ร้อยละ 27.77 รองลงมาคือ ติดเชื้อที่ปอด (pneumonia) และ skin/soft tissue abscess ร้อยละ 22.22 เท่ากัน การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสเด็กที่พบมากที่สุดคือ ผลตรวจจาก Pus culture ร้อยละ 67.61 รองลงมา คือ ผลตรวจจาก Hemoculture ร้อยละ 26.76 ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้แก่ Ceftazidime และ Meropenem เท่ากับ ร้อยละ 25.40 และ12.70 การรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาceftazidimeคิดเป็นร้อยละ 57.70 ผลการรักษาพบ ว่าร้อยละ 77.47 อาการดีขึ้น ข้อสรุป : ผลลัพธ์ของผู้ป่วยเมลิออยโดสิสเด็กในโรงพยาบาลมุกดาหารมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส และมีการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเมลิออยโดสิส พบว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อย ละ70.40 แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่ม Non-Disseminated septicemic melioidosis ที่ไม่ทราบตำแหน่งของการติดเชื้อ พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 66.66 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องศึกษาวิจัยต่อไป

References

ผกากรอง ลุมพิกานนท์, วัลลภ เหล่าไพบูลย์, สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ, สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. โรคเมลิออยโดสิสในเด็ก (Childhood Melioidosis). พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2543.

เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณพร วุฒิเอกอนันต์, วีระชัย โควสุวรรณ, สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ, สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด, 2547.

วิภาดา เชาวกุล, ผกากรอง ลุมพิกานนท์. เมลิออยโดสิส (Melioidosis). ใน: นลินี อัศวโภคี, สุรภี เทียนกริม, ศศิธร ลิขิตนุกูล,อัษฎา วิภากุล บรรณาธิการ. ประสบการณ์ด้านโรคติดเชื้อในประเทศไทย (Infectious Diseases Experiences in Thailand).

โรงพิมพ์โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด กรุงเทพฯ 2540: 86-105.

วิภาดา เชาวกุล. การรักษาโรคเมลิออยโดสิสและการกลับเป็นซ้ำ. ใน: บุญมี สถาปัตยวงศ์ บรรณาธิการ. An update on infectious diseases V. โรงพิมพ์สวิชาญ การพิมพ์ กรุงเทพฯ 2541: 85-102.

รายงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลมุกดาหาร ปี 2561

Allen C. Cheng, Dale A. Fisher, Nicholas M. Anstey, Dianne P. Stephens, Susan P. Jacups, Bart J. Currie. Outcomes of Patients with Melioidosis Treated with Meropenem.Antimicrob Agents Chemother. 2004 May; 48(5): 1763–

Brett PJ, Woods DE. Endemic melioidosis in tropical northern Australia: a 10-year prospective study and review of the literature. Clin Infect Dis 2000; 31: 981-6.

Chaowagul W. Recent advances in the treatment of severe melioidosis. Acta Trop 2000; 74: 133-7.

Leelarasamee A. Melioidosis in Southeast Asia. Acta Trop 2000; 74: 129-32.

Leelarasamee A. Recent development in melioidosis. CurrOpin Infect Dis 2004; 17: 131-6.

Lumpiganon P, Viengnondha S. Clinical manifestations of melioidosis in Children. Pediatr Infect Dis J 1995; 14:136-140.

Lumbiganon P, Chotechuangnirun N, KosalaraksaP,Teeratakulpisarn J. Localized Meliodosis in children in Thailand : Treatment and Long-term Outcome. Journal ofTropical Pediatric, 2011; 57: 185-191.

Lumbiganon P, Chotechuangnirun N, Kosal araksaP.Clinical experience with treatment of melioidosis in children : The Pediatric Infectious Disease Journal. 2004; 23:1165-6.

Pongrithsukda V, Simakachorn N, Pimda J. Childhood melioidosis in northeastern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1988; 19(2): 370-2.

Simpson AJH, Suputtamongkol Y, Smith MD, etal.Comparison of imipenem and ceftazidime as therapy for severe melioidosis. Clin Infect Dis 1999; 29:381-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30