การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติ, เครื่องมือผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาแบบปฏิบัติการนี้ (action Research) นำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการ ศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จำนวน 21 คน ดำเนินการศึกษาระหว่าง วันที่ 15 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2562 ขั้นตอนการศึกษาคือ 1) Plan ศึกษาปัญหาและวางแผนการใช้แนวทางปฏิบัติตรวจนับเครื่องมือผ่าตัด 2) DO การปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ 3) Check ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัด และ 4) Act ปรับปรุงแนวปฏิบัติจากปัญหาที่ พบในการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แนวปฏิบัติการป้องกันเครื่อง มือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัด 3) แบบบันทึกการตรวจนับเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดแต่ละราย 4) แบบบันทึกจำนวน การผ่าตัดและการเกิดอุบัติการณ์เครื่องมือผ่าตัดสูญหายรายวันและ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แนวปฏิบัติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ นำเสนอด้วยสถิติความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.4 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 61.9 (Max = 59, Min = 22, = 32.5, S.D. = 10.5 ปี) มีสถานะโสด ร้อยละ 61.9 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 66.7 บุคลากร ห้องผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 42.8 ประสบการณ์การทำงานในห้องผ่าตัดไม่เกิน 10 ปี ร้อยละ 85.7 ( Max = 25, Min = 1, = 5.8, S.D. = 7.7 ปี) จากการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้อง ผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส พบว่าเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดทั้งหมด 110 set ใช้มากที่สุดได้แก่ set Major ร้อยละ 54.5 รองลงมาคือ set TR ร้อยละ 21.8 และ set appendectomy ร้อยละ 21.8 ส่วนที่ใช้น้อยที่สุดคือ set hepatectomy ร้อยละ 1.9 และยังพบว่ามีการตรวจนับเครื่องมือผ่าตัดครบถ้วนร้อยละ 100 ทั้งก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด ก่อน ปิดแผลผ่าตัดและก่อนส่งจ่ายกลางทำให้ไม่พบอุบัติการณ์เครื่องมือผ่าตัดสูญหาย ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากสุด ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.5 (S.D. = 0.5) ข้อสรุป : การตรวจนับเครื่องมือผ่าตัดตามแนวปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ทำให้ผู้รับบริการปลอดภัยและลดความเสี่ยง ต่อการเกิดเครื่องมือผ่าตัดติดค้างในร่างกายผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
WHO Surgical Safety Checklist Implementation [Internet]. 2009 [cited 2019 Mar 8]; Available from: http://www.who. int/patientsafety/topics/safe-surgery/checklist_implementation/en/
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาลและคณะ. การใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. 2558: คลังความ
รู้และข้อมูลระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
สตบงกช ทั่งทองและคณะ. ความร่วมมือในการทำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ของโรงพยาบาลพิจิตร. วิสัญญีสาร 2561; 44(2): 70-72
Perneger V. The Swiss cheese model of safe ty incidents: are there holes in the metaphor?. BMC Health Services Research 2005; 5(71): 1-7.
สุดารัตน์ อุตโมและคณะ. [อินเตอร์เน็ต]. 2556. การตรวจนับเครื่องมือผ่าตัดประจำวันให้มีประสิทธิภาพ. [เข้าถึงเมื่อ 8 มี.ค. 2562]. เข้าถึงจากhttp://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/downloads/?p= 3179
เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิและคณะ. การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจนับใบมีดและเข็มติดแถบกาวในห้องผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2559; 22(1): 1-8
ดนุวศิน เจริญ. Action Research สำหรับการวิจัยการเปลี่ยนแปลงองค์กร: คำตอบสำหรับความแตกต่างระหว่างภาควิชาการกับภาคปฏิบัติ. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า 2550; เล่ม 3 : หน้า 43-53
Baskerville, & Myers. Special issue on action research in Information Systems: Making IS research relevant to practice-forward MIS Quarterly 2004; 28(3): 329
วิลาวัลย์ สมดีและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์ของงานบริการวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครนิทร์เวชสาร 2553; 25(2): 125-130
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ