ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

ผู้แต่ง

  • ฉัฐกร สุรชัย งานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ, อุปกรณ์จัดท่า, การให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังร่วม กับยาระงับปวด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ innovation+ intervention research รูปแบบ Controlled trial ในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังร่วม กับยา ระงับปวด แบบไม่เร่งด่วน โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนตุลาคมพ.ศ. 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เปรียบ เทียบอุบัติการณ์เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้อุปกรณ์จัดท่า ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลนครพนม รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหลังการ ให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังร่วมกับยาระงับปวดและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คืออุปกรณ์จัดท่าและแบบ บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติทดสอบการแจกแจงปกติ ด้วย Shapiro–Wilk tests for normality รวมทั้งความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างโดยเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตทั้งสองกลุ่มด้วย Independent t distribution รวมทั้งใช้สถิติ chi-square ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์การเกิดภาวะความดันโลหิต ต่ำที่นัยสำคัญระดับ 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 60 ราย เป็นกลุ่มใช้อุปกรณ์จัดท่า 31 ราย กลุ่มจัดท่าตาม แนวปฏิบัติเดิม 29 ราย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์อายุอยู่ในช่วง 25 – 29 ปี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 อายุเฉลี่ย 28.48 ปี ส่วนใหญ่มีอายุครรภ์เฉลี่ย 38.74 สัปดาห์ ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 28.11 มีความเสี่ยงในการให้ยา ระงับความรู้สึกระดับ II จำนวน 53 รายคิดเป็นร้อยละ 88.33 จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามสรีรวิทยาการตั้ง ครรภ์ ผลจากการพัฒนาแนวทางปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์จัดท่าเพื่อลดภาวะความดันโลหิตต่ำในหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอด บุตรทางหน้าท้องมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต 5 และ30 นาที หลังได้รับยาระงับความรู้สึก ระดับสูงกว่า (X= 113.84 , SD=12.45)และ (X=109.81, SD=6.08) ในกลุ่มจัดท่าตามแนวปฏิบัติเดิมที่มี (X=96.34 , SD= 17.56) และ (X=107.31, SD=8.32)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อสรุป: จากการพัฒนาแนวทางปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์จัดท่าสามารถลดภาวะความดันโลหิตต่ำในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังร่วมกับยาระงับปวดได้รวม ทั้งยังผลให้แนวทางปฏิบัติที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

ธีรยุทธ เต็มธนะกิจไพศาล.หาหมอดอทคอม. การตั้งครรภ์ (Pregnancy).[ออนไลน์] 2015 [cite] 15กรกฏาคม 2562].Available from :http//www.haamor.com.

สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, ภารดี ชาญสมร, ยุพา พูนขำ, ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, สุวชัย อินทรประเสริฐ, กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง.การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.พิมพ์ครั้งที่2 ;2561.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ.การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์.[online] 2019 [cited 2019 July 18]. Available from: http://www.unicef.org. /2018.

The Lancet.การพัฒนาระบบสุขภาพในไทย:รากฐานสำคัญ.[online] 2019[cited 2019 June19]. Availablefrom: http://www.thelancet.com./2018.

Kinsella SM,Harvey NL.A comparison of the pelvic angle applied using lateral table tilt or a pelvic wedge at elective ceasareansection Anesthesia.2012;67(12): 1327-31.

Chumpathong S, Chinachoti T, Visalyaputra S, Himmunngan T. Incidence and risk of Factor hypotension during spinal anesthesia for cesarean section at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2006;89(8): 1127-32.

Reich, David L. MD; Hossain, Sabera MA; Krol, Marina PhD; Baez, Bernard MD; Patel, Puja;Bernstein, Ariel; Bodian, Carol A. DrPH. Anesthesia & Analgesia.2005 Sep;101(3):622-28

ผ่องพิศ มุกดาสกุลภิบาลและบุบผา ธรรมานุภาพ. ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลังให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต11.2562; 33 (1มกราคม– มีนาคม 2562):115-130.

อังกาบ ปราการรัตน์, วรภา สุวรรณจินดา.ตำราวิสัญญีวิทยา.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร. 2558: 503 -23.

การุณพันธ์ สุรพงค์. ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.ภาควิชาชีวสถิตประชากรศาสตร์คณะสาธารณสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น.พิมพ์ครั้งที่ 1. 2547:175 – 95.

Haguchi H, Takagi S, Zhang K, Furui I. Ozaki M. Effect of lateral tilt angle on the volume of abdominal aorta and inferior vena cava in pregnant and non pregnant woman determined bymagnetic resonance imaging. Anesthesiology. 2015;122(2):286-93

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30