ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงศ์ บรรจงศิลป์ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ, ผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและสิทธิ การรักษา มีผลต่อการเลือกผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลนครพนม และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลนครพนม วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำนวน 100 ราย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากร จากนั้นสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากเกณฑ์การกำหนดตัวอย่าง (Sample Size Criteria) ของเครซี่มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) โดยทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Least Significant Different (LSD) และวิเคราะห์สัมประสิทธ์สัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’ product moment correlation coefficient) ผลการศึกษา : พบว่า 1) การศึกษาผู้ป่วยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแต่ละด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเปรียบเทียบความแปรปรวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสิน ใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบความแปรปรวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด โดยภาพรวม พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ มีความคิดเห็นไม่แตก ต่างกัน 4) ผลการเปรียบเทียบความแปรปรวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำแนก ตามรายได้ โดยภาพรวม พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 5) ผลการเปรียบเทียบ ความแปรปรวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำแนกตามสิทธิการรักษา โดยภาพ รวม พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อสรุป : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบได้และผู้ป่วยสามารถทราบข้อมูลก่อนทำการผ่าตัด ลดภาวะวิตกกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยรายได้น้อยด้วย

References

ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์.ตำรา ศัลยศาสตร์ ภาค 2 เรื่อง ไส้เลื่อน Hernia .(พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ:บริษัท ไพลินบุ๊คเน๊ตจำกัด (มหาชน); 2558:107-120.

ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2558:44-48)

รสสุคนธ์ เรืองโพน,วรุตม์ โลห์สิริวัฒน์.โรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ.งานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช; 2559:1-2.

ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีของนักเรียนที่มีผลต่อการ เรียนดี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สถิติห้องผ่าตัด. สรุปยอดผู้ป่วยผ่าตัด ศัลยกรรมทั่วไป. งานห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม; 2560.

สถิติห้องผ่าตัด.สรุปยอดผู้ป่วยผ่าตัด ศัลยกรรมทั่วไป.งานห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม; 2561.

Pobpad. Hernia. [online] 2017 [cited 2018 Oct 1]. Pobpad.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30