ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พรชนก กุลยะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ความสุข, ความผูกพันต่อองค์กร, องค์กรแห่งความสุข, เครื่องมือวัดความสุขในระดับบุคคล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานและความผูกพัน ต่อองค์กรของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

วิธีการศึกษา : การศึกษาครังนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ และปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จำนวน 143 คน ในระหว่างเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2563 โดยใช้แบบสำรวจความสุขและความผูกพันในองค์กร (HAPPINOMETER) ของศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 17.0 ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ Independent t-test, One-way ANOVA และหาปัจจัยที่มีผลต่อความ สุขและความผูกพันต่อองค์กรโดยใช้ Multiple linear regression นอกจากนี้ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficiency) เพื่อหาระดับความสัมพันธ์ของความสุขในการทำงานกับความผูกพันธ์ต่อองค์กร

ผลการศึกษา : การศึกษาพบว่ามีบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมยินยอมเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 140 คน (ร้อยละ 98) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 91 คน (ร้อยละ 65.0) มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 48 คน (ร้อยละ 34.3) การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 95 คน (ร้อยละ 67.9) ปฏิบัติงานมา 3-5 ปี จำนวน 26 คน (ร้อยละ 18.6) ดัชนี ความสุข 10 มิติ (Happinometer) ด้านการงานดี (Happy Work Life, r= 0.665) มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร ในระดับสูง มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (p < 0.001) คือ ความสุขด้านสังคมดี (Happy Society, r= 0.423), ความสุขด้านน้ำใจดี (Happy Heart, r= 0.335), ความสุขด้านสมดุลชีวิตกับงาน (Happy Work Life Balance, r= 0.334), ความสุขด้านใฝ่รู้ดี (Happy Brain, r= 0.312), ความสุขด้านสุขภาพกายดี (Happy Body, r=0.289) และความสุขด้านการ ผ่อนคลายดี (Happy relax, r= 0.268) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน คือ ระดับตำแหน่งในการทำงาน (p= 0.006) และปัจจัยมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครพนม คือ เพศ (p = 0.009) ระยะเวลาการทำงาน (p = 0.039) และการจบการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า (p< 0.001) ตามลำดับ

ข้อสรุป : ดังนั้นบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมมีความสุขในการทำงานและมีความผูกพันต่อ องค์กรมาก หากมีการงานดี (Happy Work Life) จะมีความผูกพันต่อองค์กรสูง และการมีตำแหน่งงานที่มั่นคงจะส่ง ผลให้มีความสุขในการทำงาน สำหรับปัจจัยเรื่องเพศ ระยะเวลาการทำงานและการจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือ สูงกว่าจะบ่งชี้ถึงความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้ ทำงานอย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุการเป็น “องค์กรแห่งความสุข” ต่อไป

References

Davis, L.E. Ewhancing the quality of working life: developments in the United Stater. Inter national Labour Review. 116, pp.53-65. 1997.

Seashore, S.E. Defining and measuring the quality of norking life, In Davis, L.E.&Cherns, A.B. (eds), The quality of Working lift, New York: The Free Press, pp.105-118. 1975.

Royuela, V., LÓpez-Tamayo, J. and Suriñach, J. The institutional V.S. the academic definition of the quality of work Life: what is the focus of the European Commission? Springer, 401-415. 2007.

สุภาวดี ทองบุญส่ง . “ปัจจัยบางประการท่ส่งผลต่อ ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงาน อัยการสูงสุด.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2556; 6 (2) (พฤษภาคม - สิงหาคม): 541-551.

สุพรรณี ไชยอำพร และ คมพล สุวรรณกูฎ. “การสังเคราะห์ความสุขของมนุษย์ตามแนวคิดตะวัน ตก-ตะวันออก เพื่อการพัฒนาดัชนีชี้วัด.” วารสารพัฒนาสังคม 2550; 9(1): 118-156.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, และคณะ. คู่มือวัดความสุข ด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. 7. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข).2559.

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. People Excellent คุณค่าคน คุณค่างาน สานความสุข. 2559.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวง สาธารณสุข. คู่มือการแปลผลการประเมินความสุข บุคคลากร (Happinometer). 2562.

กัณฐณัฏฐ์ ครุฑใจกล้า. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทส่งออก กล้วยไม้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2560. สืบค้น วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563; http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Kantanat_Krutjaikla/fulltext.pdf

ลลิตา จันทร์งาม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. 2559. สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/ TU_2016_5803010395_5504_5100.pdf

กิตติพัฒน์ ดามาพงษ์. ความสุข ความพึงพอใจต่อ ความผูกพันของบุคคลากรที่มีต่อสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). การค้นคว้า อิสระ. 2559. สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/Thesis/2016/TU_2016_5803010114_5489 _5145.pdf.

ณิชารีย์ แก้วไชยา. ความสุขในการทำงานและความ ผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและ จัดจำหน่ายสินค้าแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ 2559. สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563, https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/55669/1/5874252130.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26