ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกของประชาชน ในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ดนัย เนวะมาตย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, ไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดนครพนม

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ประชาชนทั่วไป ที่มีอายุระหว่าง 20 – 60 ปี ในจังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F test ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบ LSD และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก โดยใช้ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน

ผลการศึกษา : พบว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ และด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และด้านการจัดการ ตนเองให้มีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด ออก อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความรอบรู้ด้านสุขภาพพบ ว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมไข้เลือด ออก ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุม ไข้เลือดออก ไม่แตกต่างกัน ส่วนอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกัน ควบคุมไข้เลือดออกพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อสรุป : ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ประชาชน ดังนั้น การพัฒนาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ จะส่งผลให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสม และยั่งยืน

References

กองสุขศึกษา. รายงานการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือ วัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ระยะที 1). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2554.

Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for Contemporary health education and communication strategies into health 21st century. [Internet] 2000.Available Source: http://heapro.oxfordjournals.org/content/15/3/259. abstract, September 9, 2013.

สำราญ สิริภคมงคล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การควบคุมโรคไข้เลือดออก ศึกษาเปรียบเทียบในชุมชน ที่มีความเข้มแข็งกับชุมชนที่อ่อนแอของจังหวัด นครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท].กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.

Nemcek, M.A. Health beliefs and preventive behavior: a review of research literature. AAOHN Journal. 1990;6(2): 27.

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. การพัฒนารูปแบบการป้องกัน โรคไข้เลือดออกในชุมชนนาชะอัง จังหวัดชุมพร. [ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประยุกต์)]. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.

US Department of Health and Human Services. Healthy people 2010. US Department of Health and Human Services, Washington DC; 2000.

Sun, X., Shi, Y., Zeng. Q., Wang, Y., Du, W., Wei, N., Xie, R. and Chang, C. Determinants of health literacy and health behavior regarding infectious respiratory disease: a pathway model. BMC Public Health.2013; 1: 261.

Souza, J. G., Apolinario, D., Magaldi, R. M., Busse, A. L., Campora, F., & Jacob-Filho, W. Functional health literacy and glycemic control in older adults with type 2 diabetes: A Cross sectional study. BMJ Open 2014; 4(2): e004180

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26