ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ติยาภรณ์ เจริญรัตน์ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาล นครพนมต่อความรู้ การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง และการเกิดภาวะแทรกซ้อน

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยหู ตา คอ จมูก โรงพยาบาลนครพนม ในระหว่างเดือนตุลาคม 2560-กันยายน 2561 จำนวน 60 คน แบ่ง เป็น กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมคือ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลอง คือ รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก การสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ การฝึกปฏิบัติ การ แจกคู่มือการดูแลตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยนำไปใช้ที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบสอบถามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .78 และ .92 ตามลำดับ และแบบบันทึกการเกิดภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบฟิชเชอร์

ผลการศึกษา : 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) 3) กลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

ข้อสรุป : รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกนี้มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความรู้และการ ปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ และเพิ่มคุณภาพบริการพยาบาล

References

Rao GN, Khanna R, Payal A. The global burden of cataract. Curr Opin Opthalmol. 2011; 22(1): 4-9.

Bollinger KE, Langston RH. What can patients expect from cataract surgery? Cleve Clin J Med. 2008; 75(3): 199-200.

Arphawan Sopontammarak. เร่งผ่าตัดต้อกระจก ผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด. (อินเทอร์เน็ต) [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560]. Available from URl เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/25941.

World Health Organization. Global Initiative or the elimination of avoidable blindness. Vision 2020, the right to sight. WHO/PBL/1997(97.61 Rev. 2).

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ .โรคต้อกระจก. (อินเทอร์เน็ต) ( สืบค้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก: http://www.isaranews.org.

ธิดาวรรณ ไชยมณี. เปรียบเทียบคุณภาพผู้สูงอายุ ที่เป็นต้อกระจกระหว่างก่อนกับหลังผ่าตัดต้อกระจก และใส่เลนส์แก้วตาเทียม โรงพยาบาลศิริราช, 2551 (อินเทอร์เน็ต) (สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก http://www.dric.nrct.go.th

สถิติและเวชระเบียน โรงพยาบาลนครพนม. สถิติผู้ป่วย ปี พ.ศ. 2559-2560. นครพนม: โรงพยาบาล นครพนม (เอกสารอัดสำเนา).

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริม การดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี. Journal of Health and Nursing research Journal of Boromarajonani of nursing, Bangkok: 2012; 28(2): 1-12.

Bloom BS. Learning for mastery. Evaluation comment. Center for the study of instruction promgrame. Univercity of California at Los Angeles. Vol 2; 1986: 47-62.

อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริม และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัด ต้อกระจก โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี (ออนไลน์). [สืบค้นวันที่ 3 มีนาคม 2562] เข้าถึงได้จาก : http://www.srth.moph.go.th.

ยุวดี ชาติไทย, นภาพร วาณิชย์กุล & สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. ผลของการให้คำแนะนำผ่านสื่อวีดิทัศน์และหุ่นสาธิต ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัด ต้อกระจกของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดจากหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2559; 36(2): 159-170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26