ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติ, ภาวะท้องอืด, การดูแลผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้อง โดยเปรียบเทียบการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยก่อนการใช้แนวปฏิบัติเพื่อลดภาวะท้องอืด และผู้ป่วยหลัง การใช้แนวปฏิบัติเพื่อลดภาวะท้องอืด และความพึงพอใจของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติเพื่อลดภาวะท้องอืด ตึกพิเศษนำโชค โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (purposive sampling) จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ก่อนใช้แนวปฏิติบัติเพื่อลดภาวะท้องอืด จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลอง คือกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หลังใช้แนวปฏิติบัติเพื่อลดภาวะท้องอืด จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยตั้งสมมติฐานได้ว่าเป็นผลการทดลองขนาดที่เหมาะ สม มีความสำคัญในระดับปฏิบัติการที่ยอมรับได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบ ประเมินภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามแนวทาง การลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูล ในวันที่ 1 เมษายน 2562 – 31 ตุลาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบการกระจายไค-สแควร์ (Chi-square test) และสถิติอนุมาน Independent t-test
ผลการวิจัย : พบว่า 1) การเกิดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ระหว่างกลุ่มควบคุม และ กลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (X2=9.102 p=.693) 2) ระดับความรุนแรงของภาวะท้องอืดใน 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของภาวะท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ความ พึงพอใจในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ผลการศึกษาพบว่า ระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, SD = 1.21) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจ พบว่า กลุ่ม ผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติการภาวะท้องอืดมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามแนวทางลดภาวะท้องอืดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้แนว ปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ข้อสรุป : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวทางปฏิบัติสามารถลดภาวะท้องอืดในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และควรขยายผลการใช้แนวปฏิบัติการลดภาวะท้องอืดในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในช่องท้องอื่นๆ
References
กษยา ตันติผลาชีวะ. “Postoperative ileus : Cause, Prevention and Treatment,” ใน ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 32. หน้า 87 – 88. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร; 2549.
กนกวรรณ บุญวิทยา. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ภาวะท้องอืดภายหลังผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง แบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลรามาธิบดี; 2548.
ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ และวารี พร้อมเพชรรัตน์. “สรีรวิทยา ของระบบทางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว,” ใน สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์; 2549.
ทิพวรรณ วัฒนเวช. “ท้องอืดหลังผ่าตัดช่องท้อง,” วารสารโรงพยาบาลระยอง 2. 2(1) : 1 - 6 ; ธรรมสารมกราคม – มิถุนายน; 2546.
นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและ หลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2540
นันทาวดี ศิริจันทรา. การศึกษาอาการท้องอืด และการ จัดการอาการท้องอืด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์ พย.ม. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี; 2551.
เนาวรัตน์ สมศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ภาวะท้องอืดสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม; 2552.
มาลี งามประเสริฐ. “การศึกษาเบื้องต้นของโปรแกรม การลดอาการท้องอืดในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทาง หน้าท้อง : ศึกษาระดับความรุนแรงของอาการ ท้องอืด,” สารศิริราช 2548; 57(7) :302 – 307.
สมพร ชินโนรส. การพยาบาลศัลยศาสตร์. ธรรมสาร:กรุงเทพฯ; 2545.
ศิริพรรณ ภมรพล พย.ม. “บทบาทพยาบาลในการ ส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ภายหลัง ผ่าตัด.” วารสารสภากาชาดไทย 2556; 6(1): 40 – 52.
ศิริรัตน์ มั่นใจประเสริฐ. ภาวะท้องอืด การจัดการกับ ภาวะท้องอืด และความพึงพอใจต่อการจัดการกับภาวะ ท้องอืดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหิดล; 2552.
อรทัย ชบาภิวัฒน์, พรรณี วิระบรรณ,อวยพร ภัทรภักดีกุล “ความสุขสบายในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัด ช่องท้อง” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2558; 2(2) : 24 – 35.
Condom, R.E. Conles, V., Ekbom, G.A., Schulte, W.I., & Hen, G. (1987). Effects of halothane, Enflurance and Nitrous oxide on colon malility. Surgery 81, 101(1). 83.
Kozier, B., & Erb, G. Fundamentals of nursing: concepsts and procedures. (2nd el) California: Addison-Wesley; 1983.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ