ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการด้วยอาการกำเริบซ้ำห้องฉุกเฉิน ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรางคณา แสนนาม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, อาการกำเริบซ้ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการด้วยอาการกำเริบซ้ำ ห้องฉุกเฉิน ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการด้วยอาการ กำเริบซ้ำ ห้องฉุกเฉิน ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีคุณสมบัติและ ลักษณะตามที่กำหนด มีความสมัครใจและยินดีเข้าร่วมในการศึกษา จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออก เป็น 2 ส่วนประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้น ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด หัวใจโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทำการศึกษาในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 – สิงหาคม 2562

ผลการศึกษา : พฤติกรรมสุขภาพโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (svg.image?\bar{x}=2.34, S.D.=0.32) และเมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับ การรักษา ด้านการจัดการความเครียด และด้านการออกกำลังกายและการพักผ่อน อยู่ในระดับปานกลาง (svg.image?\bar{x} =2.86, S.D.=0.34, svg.image?\bar{x}=2.80, S.D.=0.55, svg.image?\bar{x}=2.46, S.D.=0.45 และ svg.image?\bar{x}=2.01, S.D.=0.46 ตามลำดับ) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพน้อยที่สุดคือ ด้านเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อย ( svg.image?\bar{x}=1.56, S.D.=1.15) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สถานภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .150, p = .048) ระดับการศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์ ทางลบกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .147, p = .050 และ r = - .146, p = .050 ตามลำดับ) ส่วนเพศ อายุ กรรมพันธุ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .136, p = .066 และ r = - .016, p = .0429 และ r = - .064, p = 239 ตามลำดับ)

ข้อสรุป : การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อป้องกันกันอาการกำเริบซ้ำ ควรส่ง เสริมให้ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร ด้านการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรักษา ด้านการจัดการความเครียด ด้านการออกกำลังกายและการพักผ่อน และด้านเพศสัมพันธ์โดยคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี

References

WHO. (2004). The World Health Report 2004-Changing history. Geneva: World Health Organization.

American Heart Association. (2010). ACC/AHA Guideline for the Management of Patients with ST-Elevation Myocardial Infarction. American Heart Association.

Martinez, L. G. (2004). Nursing management of coronary artery disease and acute coronary syndrome. In S. M. Lewis, M. Mc. Heitkemper, & S. R. Dirksen (Eds.), Medical-surgical nursing.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2554). การพยาบาลผู้ป่วยโรค หัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ศิริพร ปาระมะ. (2549). พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ ประจำปีที่โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาล ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กนกกาญจน์ สวัสดิภาพ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของ ผู้มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

วิไลพร หอมทอง. (2547). พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มี โรคหลอดเลือดหัวใจที่กลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล นครพิงค์. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทิรา ทรงเต๊ะ. (2554). พฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของชาวไทยมุสลิมใน ชุมชนมีสุวรรณ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติ เอื้อพงศธร. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของประชาชนใน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26