ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในสตรีวัยรุ่นที่มารับบริการคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลนครพนม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาที่มาคลอดที่โรง พยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ case control study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล นครพนม ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 – กันยายน 2558 คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 418 คน แบ่งเป็นมารดาที่คลอดทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 59 คน และมารดาที่คลอดทารกน้ำหนัก ตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นผ่านการศึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งประกอบไปด้วย 4 ตอน คือข้อมูลทั่วไป ประวัติการคลอด ประวัติการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ ตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ Chi-square Test หาความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยกับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นไม่ น้อยกว่าร้อยละ 95
ผลการศึกษา : อุบัติการณ์การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2500 กรัม จำนวน 359 คน คิดเป็นร้อยละ 85.9 โดยทารกแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 2895.8กรัม ( =2295.8, SD =374.50) มีทารกแรกเกิดน้ำหนักสูงสุด 4,430 กรัม และมีทารกแรกเกิด น้ำหนักต่ำสุด 1,980 กรัม ระดับการศึกษาของมารดาวัยรุ่น ประวัติคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ระดับฮีโมโกลบินของมารดาวัยรุ่น ประวัติการมีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ และประเภทของการตั้งครรภ์ กับมารดาวัยรุ่นที่คลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ความสูง น้ำหนักมารดาก่อนคลอด จำนวนครั้งของ การตั้งครรภ์ และประวัติจำนวนครั้งของการแท้งบุตรของมารดาวัยรุ่นไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนัก น้อยกว่า 2,500 กรัม
ข้อสรุป : ควรลดอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี และควรศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อทารกตัวน้อย (เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อจำกัดเฉพาะข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่มาจากเวชระเบียนเท่านั้น) และควรมีการ ศึกษาวิจัยระยะยาว เพื่อติดตามการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในบริบทสังคมไทยเพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
References
สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. ใน: กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 2. วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์, สุรางค์ เจียม จรรยา, บรรณาธิการ.กรุงเทพ: โฮลิสติก; 2540. 18-23.
Stoll BJ, Kliegman RM. Prematurity and Intrauterine Growth Retardation. In: Behrman RE, Uterigman RM,Jensen HB.Nelson textbook of pediatrics: 17th ed.Philadelph ia: Saunders; 204. 500-8.
สายฝน ชวาลไพบูลย์. คลอดก่อน กำหนด: ปัญหาระดับชาติ. ใน: คลอดก่อน กำหนด(preterm labour). สายฝน ชวาล ไพบูลย์, บรรณาธิการ. กรุงเทพ: พี.เอ. ลิฟวิ่ง; 2553. 3-14.
World Health Organization. Newborn: Reducing mortality. [Internet]2012[ Cited 2012 Feb 22]. Available from: http://www. who.int/ mediacenter/factsheets/fs333/en/.
Goldenberg RL, Culhan JF. Low birth weight in the United States 1’2’3.Am J Clin Nutr 2007;85:5845-905.
ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์. อัตราการรอดชีวิต และ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารก แรกเกิดน้ำหนัก น้อยมากในโรงพยาบาล นครนายก.วารสารไทย เภสัชศาสตร์และ วิทยาการสุขภาพ 2551; 3:87-96.
วราภรณ์ แสงทวีสิน. Care of Low Birth Weight Infants. ใน : ปัญหาทารกแรกเกิด. วราภรณ์ แสงทวีสิน,วิบูลย์ กาญจน พัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์,บรรณาธิการ. กรุงเทพ: ธนาเพรส; 2551.143-58.
Roth J, Hendrickson J, Schilling M, Stowell WD. The risk of teen mothers having low birth weight babies: implications of recent medical research for school health personnel. J Sch Health 1998;68:271-5.
สุธิต คุณประดิษฐ์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย:จุดเริ่มต้น ในทารกสู่โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2547;48:309-22.
เรณู ศรีสมิต และคณะ. แนวโน้มและปัจจัยเสี่ยงของ น้ำหนักเด็กแรกคลอดต่ำในโรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;7(1):32-38.
สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, กำแหง จาตุรจินดา. ทารก น้ำหนักแรกเกิดน้อย ปัญหาสุขภาพคนไทยที่ยังแก้ไม่ตก. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 1988. 4(1):71.
ศันสนีย์ หาญพินิจศักดิ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการ เกิดทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร 2550;31:33-42.
อุบล จันทร์เพชร, รัชกร เทียมเท่าเกิด,ชุติมา ไตรนภากุล, อนุจิตร ชลิศวพงศ์,วรรณี เพิ่มสิน. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลแม่และ เด็กราชบุรี (Internet) ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 4 ราชบุรี, 2544[cited .2012 Jan 20]available from: http://hpc4.anamai.moph.go.th/articles/ abstract/2544/article-LBW.pdf.
นพัสร ทรัพย์พิพัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดา ต่อการ เกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยใน โรงพยาบาล กาฬสินธุ์(Internet). 2550 [cited 2012 Jan 20] available from: http://mkho:moph.go.th/mchold/downloaddata/research/207-08-18-13.pdf.
ปิ่นมณี แซ่เตีย. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการเกิดทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555;27:65-76.
Kiely JL, Brett KM, Yu S, Rowley DL. Low birth weight and intrauterine growth retardation. CDC’s public health surveillance for women, infants, and children.1990; 185-202.
สมนึก จิรายุส. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด ทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยและการคลอด ก่อนกำหนดในหญิง ตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ไม่ดี. ขอนแก่นเวชสาร 2551;32 (พิเศษ7):121-7.
Mangklabroks A,Rerkasem A,Wngthanee A. The risk factors of low birth weight infants in the Northern part of Thailand.J Med Assoc Thai 2012;95:358-65.
Najmi RS. Distribution of birthweights of hospital born Pakistani infants. J Pak Med Assoc 2000;50:121-4. 20. Khan N, Jamal M. Maternal risk factors associated with low birth weight.J Coll Physicians Surg Pak 2003;13:25-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ