หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง : โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • วันเมษา บรรจงศิลป์ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง อาการแสดงทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อน การรักษา ผลลัพธ์การรักษา จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ผลลัพธ์ด้านทารก

วัสดุและวิธีการ : รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาแบบพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 -30 กันยายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง จำนวน 121 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี (ร้อยละ 67.77) ลำดับการตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก (ร้อยละ 56.20) อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 34-36 สัปดาห์ (ร้อยละ 38.84) ค่าดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง > 25-29 kg/m2 (ร้อยละ 35.53) วิธีการคลอดส่วนใหญ่ โดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (ร้อยละ 71.08) การเกิดภาวะแทรกซ้อนมีภาวะชัก 2 ราย (ร้อยละ 1.65) pulmonary edema และ HELLP syndrome อย่างละ 1 ราย (ร้อยละ 0.83) ผลการรักษาหาย ร้อยละ 100.00 จำนวนวันนอน โรงพยาบาล อยู่ในช่วง 3-5 วัน (ร้อยละ 95.04) อาการแสดงทางคลินิกทุกรายมีภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือ เท่ากับ 160/110 มิลลิเมตรปรอท และพบโปรตีนในปัสสาวะ (ร้อยละ 93.38) อาการปวดศีรษะ (ร้อยละ 98.44) อาการ ตาพร่ามัว (ร้อยละ 59.90) และจุกแน่นลิ้นปี่ (ร้อยละ 48.76) ผลลัพธ์ด้านทารก พบว่า ทารกที่คลอดส่วนใหญ่มีน้ำหนัก 2,500 กรัมขึ้นไป (ร้อยละ 88.42) มีทารก 1 ราย เกิด Birth Asphyxia (0.83%)

บทสรุป : ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง มีผลกระทบทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวินิจฉัยที่รวดเร็ว การดูแลรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา จะลดความรุนแรงทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เกิดความปลอดภัย

References

Cunningham FG, Leveno KM, Bloom SL, et al. Pregnancy Hypertension. In: Cunningham FG, Williams JW, editors. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2014.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2558.

Cunningham FG, Leveno KJ % Blom, et al. Pregnancy Hypertension. In: Cunningham FG, Williams JW, editors. Williams obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2010.

WHO Maternal mortality, [Internet] [cited 2015 April 6]. Available from URL: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs348/en/

Sibai BM. Magnesium sulfate prophylaxis in preeclampsia: Lessons learned from recent trials. Am J Obstet Gynecol 2004; 190: 61: 1520-6.

Diagnosis and management of preeclampsia and management of preeclampsia and eclampsia. ACOG Practice Bulletin No. 33. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2002; 99: 159-67.

งานสถิติและเวชระเบียน โรงพยาบาลนครพนม. สถิติหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง ปี พ.ศ. 2562. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. โครงการดูแล สตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามคำแนะนำขององค์การ อนามัยโลกในบริบทประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ, 2557.

Liu CM, Chang SD, Cheng PJ. Relationship between prenatal care and maternal complications in women with preeclampsia: implications for continuity and discontinuity of prenatal care. Taiwan J Obstet Gynecol 2012; 51: 4: 576-82.

Aksomphusitaphong A. Phupong V. Risk factors of early and late onset pre-eclampsia. J Obstet Gynaecol Res. 2013; 39(3): 627-31. (in Thai)

Luealon P, Phupong V. Risk factors of preeclampsia in Thai women. J Med Assoc Thai. 2010; 93(6): 661-6. (in Thai)

Fortner RT, Pekow P, Solomon CG, Markenson G. Chasan-Taber L Prepregnancy body mass index, gestational weight gain, and risk of hypertensive pregnancy among Latina women. Am J Obstet Gynecol. 2009; 200(2): 167. e1-7.

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ. แนวทางปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลครรภ์เป็นพิษ. สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2561 Available from http://www.inspection.anamai.moph.go.th

Liu S, Joseph KS, Liston RM, Bartholomew S, Walker M, Leon JA, et al. Incidence, risk factors, and associated complications of eclampsia. Obstet Gynecol 2011; 118: 5: 987-94.

Thornton C, Dahlen H, Korda A, Hennessy A. The incidence of preeclampsia and eclampsia and associated maternal mortality in Australia from populationlinked datasets: 2000-2008. Am J Obstet Gynecol 2013; 208: 6: 476.

Chinayon P. Clnical management and outcome of eclampsia at Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 1998; 81: 8: 579-85.

สิรยา กิติโยดม. การศึกษาภาวะชักในสตรีตั้งครรภ์ที่ มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง. วารสารการแพทย์ โรงพาบาลศีรษะเกศ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 2557 29(3): 129-138.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26