ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลในเขตจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, บริการแพทย์แผนไทย, คุณภาพบริการ, การเข้าถึงบริการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของผู้มารับบริการโรงพยาบาล ในเขตจังหวัดนครพนม
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้คือผู้มาใช้บริการในคลินิก แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน 354 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการ แพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตจังหวัดนครพนม ด้วยสถิติ Chi-square
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ( =9.18 SD=1.29 ) และทัศนคติในระดับสูง ( =3.45 SD= 0.27) ส่วนระดับการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตจังหวัดนครพนมได้แก่ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และ บริการ (=3.23 SD= 0.27) ด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ ( =3.40 SD= 0.26) และด้านสถานที่ ( =3.08 SD= 0.39) ชักจูงสู่การตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยระดับสูง ส่วนด้านกระบวนการให้บริการ ( =2.87 SD= 0.46) และ ด้านราคา ( =2.91 SD= 0.45) ชักจูงสู่การตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยระดับปานกลาง ด้านการประชาสัมพันธ์ ( =1.96 SD= 0.43) ชักจูงสู่การตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยระดับปานต่ำ การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย ส่วนบุคคล กับปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตจังหวัดนครพนม พบว่า ด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัย ส่วนบุคคล ด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ ด้านสถานที่และด้านราคา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับกับปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านประสบการณ์การได้รับบริการแพทย์แผนไทย มีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการและปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยส่วน บุคคลด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ และด้านราคาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ข้อสรุป: การตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตจังหวัดนครพนม พบว่ามีปัจจัยหลายด้าน ที่มีผลทางบวกต่อการตัดสินใจและยังมีปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ที่สถานบริการสาธารณสุขจะต้องพัฒนาเพื่อเป็นการ เพิ่มสัดส่วนการใช้บริการแพทย์แผนไทยในอนาคต
References
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. การแพทย์แผนไทย การแพทย์องค์รวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2539.
รัชนี จันเกษ มนนิภา สังข์ศักดา และปรียา มิตรตรานนท์. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2552 2554 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2559; 10(2): 103-116.
กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. การตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กระทรวงสาธารณสุข. 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. ผลการดำเนินงานแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. 2562.
Chirawatkul, A., Laopaiboon, M., Jeeraporn, K., et al. Biostatistics for health science research. Khon Kaen: Department of Biostatistics and Demography, Faculty of Public Health, Khon Kaen University.2004.
พิมพร ทองเมือง.ความรู้ และ เจตคติ ต่อการรักษา ด้วยการแพทย์แผนไทยของผู้เข้ารับบริการด้านแพทย์ แผนไทย ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและ พัฒนา 2553; 2:40-46.
ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และ พฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร สถาบันบำราศนราดูร 2562; 13(2): 111-122.
ถวัลย์ พวงบุบผา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุข ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2558
อัจฉรา เชียงทอง อรนุช ภาชื่น ฉวีวรรณ บุญสุยาและ ฉัตรชัย สวัสดิไชย. คุณภาพและการเข้าถึงบริการของ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย. วารสารศูนย์ การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาล พระปกเกล้า 2560; 34(3): 206-221.
อัจฉริยา อยู่ประเสริฐ. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ เลือกรับบริการนวดแผนไทยของผู้ป่วยโรคปวด กล้ามเนื้อและโครงร่างทั่วไปที่มารับบริการคลินิก แพทย์แผนไทยประยุกต์ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2551.
ศุรดา มันพันธ์.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ แพทย์แผนไทยของผู้มารับบริกาโรงพยาบาล บางปลาม้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2551.
Ketpama, K. Bangkok residents’knowledge, attitudes and behavior on food consumption for good health.Master’s Thesis, Human and Social Development, Chulalongkorn University.2005.
Sherer, P. Situations, behavior of usingalternative medicine of Thai people. Research, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. 2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ