ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแล ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • พรสวรรค์ สังฆะมณี กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การจัดการครอบครัว, แผลกดทับ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง และการเกิดแผลกดทับระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการส่งเสริมการจัดการครอบครัว

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ สองกลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง (Two Group Post Test Only Design) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเปิดแผลกดทับ มีระดับคะแนน Braden scale ≤ 18 คะแนน ที่เข้ารับการ รักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมรวมใจรักษ์ โรงพยาบาลนครพนม แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนเรื่องโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันการเกิด แผลกดทับ คู่มือเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และคู่มือเรื่องการป้องกันแผลกดทับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล 2) แบบบันทึกการประเมินความ เสี่ยงการเกิดแผลกดทับและการบันทึกการเกิดแผลกดทับ 3) แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการ เกิดแผลกดทับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ผู้ดูแล และพยาบาลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบคะแนน ความสามารถของผู้ดูแลระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัวโดยใช้สถิติที และ เปรียบเทียบการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริม การจัดการครอบครัว โดยใช้สถิติฟิชเชอร์

ผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยความสามารถของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัวอยู่ในระดับสูง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปานกลางซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และ ไม่พบการเกิดแผลกดทับในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัว ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการจัดการ ครอบครัวพบอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับระดับ 2 ขึ้นไป จำนวน 5 ครั้ง

ข้อสรุป : ผลการวิจัยนี้สนับสนุนแนวคิดการจัดการครอบครัว ทำให้ผู้ดูแลมีระดับความสามารถสูงในการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้เกิดแผลกดทับ

References

Wauters Y, Oupra R, & Tanasuwan P. Development of a Teaching Model for Prevention of Stroke among People at Risk in Northern Thai Community. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2016; 3(2): 100-116.

Bureau of Non-communicable Diseases. Department of Disease Control. World paralysis day campaign issue 2017[internet]. 2018. [cited 2018 June 8]; Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail

Ali ZH. Effect of Nursing Care Strategy on the Functional and Physical Abilities of Patients Following Stroke. JNN 2013; S8.

Viscogliosi C, Belleville S, Desrosiers J, Caron CD, Ska B, BRAD group. Participation after a stroke: Changes over time as a function of cognitive deficits. Archives of Gerontology and Geriatrics. 2011; 52(3) :336-43.

Indredavik B. Stroke unit care is beneficial both for the patient and for the health service and should be widely implemented. Stroke 2009; 40(1): 1-2.

Theisenet S, Drabik A, & Stock. Pressure ulcers in older hospitalised patients and its impact on length of stay: A retrospective observational stud. Clinical Nursing Journal 2012; 21(3-4): 380-387.

จิณพิชญ์ชา มะมม. บทบาทพยาบาลกับแผล กดทับ:ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555; 20(5): 478-490.

Yap TL, & Kennerly SM. A nurse-Led Approach to Preventing Pressure Ulcers. Rehabilitation Nursing 2013; 36(3): 106-110.

Braden B, & Bergstrom N. A Conceptual schema for the study of the etiology of pressure. Rehabilitation nursing 2000; 25(3): 105-109.

พัฒนา ชวลิตศุภเศรณี. การเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยและความสามารถ ในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับไว้ในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

อารี บูรณกุล. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับใน ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

Schue RM. & Langemo DK. Prevalence, incidence, and prediction of pressure ulcers on a rehabilitation unit. JWOCN 1999; 26(3): 121-129.

ปองหทัย พุ่มระย้า. ผลของการพยาบาลตามแนว ปฏิบัติการพยาบาลต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย ศัลยกรรมกระดูก [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย มหิดล; 2546.

Antoni, D. (1996). Effect of malnutrition after acute stroke on clinical outcome. American HeartAssociation, 27(6), 1028-1032.

Gillespie D, & Campbell F. Effect of stroke on family carers and family relationships. Nursing Standard 2011; 26(2): 39-46.

Ween JE, Alexander MP, & D’Esposito M. Factors predictive of stroke outcome in a rehabilitation setting. Neurology 1996; 47(2): 388-392.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลใน โรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

Lubkin IM, Larsen PD, editors. Chronic illness: Impact and interventions. Jones & Bartlett Learning; 2006.

Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing outlook. 2009; 57(4): 217-25.

Grey M, Knafl K, McCorkle R. A framework for the study of self-and family management of chronic conditions. Nursing outlook 2006; 54(5): 278-86.

Burns N, & Grove S. The practice of nursing research. Appraisal, synthesis, and generation of evidence. 6th ed. St Louis: Saunders Elsevier; 2009.

Bandura A. Social Foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs; 1987.

Bernhardt J, Langhorne P, Lindley RI, Thrift AG, Ellery F, Collier J, et al. Efficacy and safety of very early mobilisation within 24 h of stroke onset (AVERT): a randomised controlled trial. Lancet 2015; 386(9988): 46-55.

Duncan PW, Gresham GE, Stason WB, Adams HP, Adelman AM, Holland AL. Post-stroke rehabilitation: Clinical practice guideline. Pro Ed. 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-30