ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

ผู้แต่ง

  • รัชวรรณ พลศักดิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ หนองคาย
  • สำราญ เข็มพรหมมา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ หนองคาย
  • ธัญวลัย บุญเกิด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ หนองคาย

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการช่วยฟื้นคืนชีพ, ROSC

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์แบบย้อนหลัง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง เดือนกันยายน 2561 จำนวน 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ใบบันทึกการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR record) แฟ้มประวัติหรือ OPD card ของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยโลจิสติคเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยที่ทำการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งหมดของ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ในปี 2561 จำนวน 110 ราย พบว่าเป็นเพศชาย 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.1 เพศหญิง 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.9 ค่าเฉลี่ยอายุ 59.95 หน่วยที่เรียกทีมช่วยฟื้นคืนชีพมากที่สุด คือห้องอุบัติเหตุ ฉุกเฉินจำนวน 104 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.4 คลื่นไฟฟ้าหัวใจแรกที่มีการช่วยฟื้นคืนชีพคือ Asystole (AS) และ PEA ร้อยละ 66.4 และอัตราการช่วยฟื้นคืนชีพแล้วรอดมี ROSC จำนวน 63 รายคิดเป็นร้อยละ 50.9 ปัจจัยที่มีผลต่อการ ฟื้นคืนชีพที่มีการกลับคืนของระบบไหลเวียน (ROSC) คือการทำช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (BLS ) เพียงปัจจัยเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p - value .05) เป็น 6.82 เท่าของตัวแปรอื่น ๆ (AOR 6.82 , 95 % .CI :1.920 ถึง 24.248)

ข้อสรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ พบปัจจัยที่มีผลต่อการช่วยฟื้นคืนชีพสำเร็จ คือการทำการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งบุคลากรและประชาชนมีศักยภาพหรือทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างครอบคลุมและ ต่อเนื่อง

References

สุกิจ วิยสัตยา, บวร วิทยชำนาญกุล, กรองกาญจน์ สุธรรม . แนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2553 . เชียงใหม่. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่. 2553

พลิตา เหลือชูเกียรติ.คู่มือการช่วยชีวิตพื้นฐานสำหรับ บุคลากรทางการแพทย์.นนทบุรี.ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.2561

ปิยดา จันทรกุล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลชิระภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11.2562,33(2);339-352.

GO,A.S. Mogattarian, D., Roger, V.C., Benjamin , E.J. Berry, J.D., Borden , W.B. et al. Heart disease and stroke statistic – 2013 Update a report from the American Heart Association . Circulation.2013,127 : e6-e245.

รุ่งโรตน์ กฤตยพงษ์ ,ปาณิสรา แสงสังข์ และ คณะ. ปัจจัยทำนายผลที่ได้รับของการกู้ชีพหัวใจและปอด ในประเทศกำลังพัฒนา : การลงทะเบียนการกู้ชีพ หัวใจและปอดของศิริราช. J Med Assoc Thai ,2009,92(5):618-623.

อุรา แสงเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และ ทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาล สงขลานครินทร์.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555,32(1) :1-10

ธวัช ชาญชญานนท์.ผลของการปฏิบัติการช่วย ฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วย ฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.สงขลา นครินทร์เวชสาร.2554,29(1),39-49.

American Heart Association Guidelines Update for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care 2015 . Circulation. 2015,132 : S313 –S314

มาลี คุณคงคาพันธ์ ,ฐิติพันธ์ จันทร์พัน. ลักษณะ ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจและปัจจัย ที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย.2561,12(3):33-47.

วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอก โรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคม เวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561,8(1),15-23.

ชมพูนุท แสงพานิชย.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอก โรงพยาบาล ณ จุด เกิดเหตุ โดยศูนย์กู้ชีพโรงพยาบาล อุตรดิตถ์.วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ ฉบับพิเศษ.2561:85-96.

ดวงเนตร ลิตุ, พลพันธ์ บุญมาก และคณะ .ความมั่นใจ ของวิสัญญีพยาบาลต่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจ หยุดเต้น.วิสัญญีสาร. 2561,44(1): 5-11.

มาลี คำคง. ห่วงโซ่การรอดชีวิต , วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.2561,12(3):33-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-30