การพัฒนารูปแบบ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี ในเขตคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กุลภาภร ปัญสวัสดิ์ โรงพยาบาลหนองคาย
  • อรอานันท์ ใสแสง โรงพยาบาลหนองคาย
  • วาสนา แก่นกุล โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, สตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30 - 60 ปี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ บริบท ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อพัฒนา รูปแบบการตรวจคัดกรองคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี และ เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลหนองคาย

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน 1.) ขั้นวางแผน- ปรับปรุงแผน 2.) ขั้นปฏิบัติการ 3.) ขั้นสังเกตการณ์ และ 4.) ขั้นสะท้อนผล ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิด ชอบงานจำนวน 5 ราย ผู้นำชุมชนและอสม. จำนวน 15 รายสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงจิตอาสาจำนวน 35 ราย ระยะเวลาในการ ศึกษา มีนาคม 2561 ถึง กันยายน 2561 พื้นที่ในการวิจัย ชุมชนในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาล หนองคาย รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วย Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : 1.) ระยะศึกษาสถานการณ์ ในชุมชนที่สตรีไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากการตอบ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 ราย จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างในชุมชนที่สตรีไม่มาตรวจคัด กรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 150 ราย พบว่า อายเจ้าหน้าที่มากที่สุดร้อยละ 74.28 รองลงมาสถานที่ตรวจห่างไกล ร้อยละ 62.85 ไม่ทราบประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 43.33 กลัวพบโรคร้อยละ 20 และไม่มี เวลาร้อยละ 15 2.) ระยะปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ผู้นำชุมชน อสม.ปรับวิธีการตรวจคัด กรองโดยเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เป็นผู้ตรวจคัดกรอง ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ Liquid based วัสดุในการตรวจ ใช้ Disposable Speculum รายงานผลตรวจภายใน 2 สัปดาห์ ดำเนินการจัดบริการในโรงพยาบาลและเชิงรุกในชุมชน รับสมัครสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงจิตอาสาจำนวน 35 ราย โดยจัดโปรแกรมให้ความรู้ด้านมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ก่อน และหลังดำเนินการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ 3.) ระยะประเมินผล สตรีจิตอาสาออกให้ ความรู้เชิงรุกในชุมชนโดยชักชวน โน้มน้าวสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบ ว่ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 79.88

ข้อสรุป : การพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใน คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลหนองคาย โดยการจัดบริการ โปรแกรมและจัดกลุ่มตัวอย่างเพื่อเผยแพร่ความรู้ต่อ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มารับบริการมากขึ้น

References

International Agency for Research on Cancer (IARC). Globolcan 2018: Available from http://globocan.iarc.fr/Default.aspx.

W. Imsamran, A. Chaiwerawattana, Wiangnon et al. Cancer in Thailand Vol. VIII, 2013-2015.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2558.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. มะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556 6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย . 2560. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2560

โรงพยาบาลหนองคาย . 2560. รายงานผลการดำเนิน งานประจำปี 2560 8. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางพัฒนาระบบบริการ สุขภาพ. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง; 2560.

Kemmis & McTaggart. The Action Research Planer. : Deakin Universilty; 1988.

จุฬาภรณ์ โสตะ. .กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546 หน้า72-78

เสาวลักษณ์ สัจจา .2551.ประสิทธิผลของการ ประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับ การสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสตรีอายุ 35-60 เพื่อมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ศูนย์บริการ สาธารณสุขเทศบาล 2 เขตเทศบาลเมือง จังหวัด หนองคาย วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิยาลัยขอนแก่น 2551.

วันเพ็ญ อยู่รอด. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนให้ สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดย อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน. วารสารราชนครินทร์ มกราคม-มิถุนายน 2558; 153-160.

สุคนธ์ ไข่แก้ว และคณะ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยทำงาน. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(3): 8-13.

รจเรข ธรรมกร่าง และคณะ. การประยุกต์แบบแผน ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมกาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยตรวจคัดกรอง. Veridian E-Journal Sciene and Technology Silpakorn University 2557; 1(5): 19-29.

ศศิประภา จำปาหวาย, วิราวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ของอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นโดยการมี ส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน.วารสารการ พยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(2): 190-196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-30