การพัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Action research) นำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการศึกษา พัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส ที่ โรงพยาบาลนครพนม จำนวน 30 คน ดำเนินการศึกษา ระหว่าง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2562 การศึกษามี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอน ที่ 1 การวางแผน (P = Plan) 1) ศึกษารวบรวมข้อมูล สถานการณ์เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่รักษาด้วยยาต้าน ไวรัส ที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม ผู้วิจัยวางแผนการจัดทำรูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมกระบวนการกลุ่ม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการกลุ่มและ แรงสนับสนุนทางสังคม สร้างแบบสอบถามความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบวัดการเห็นคุณค่า ในตนเอง ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (D = Do) ดำเนินการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส โดยใช้กระบวนการกลุ่มและแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นแนวทางในการดำเนินการ กิจกรรมประกอบ ด้วย การให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกิจกรรมกลุ่ม เกี่ยวกับโรคเอดส์ การรักษาด้วยยาต้านไวรัส การรับประทานยา สม่ำเสมอ (Adherence) ,CD4 ,VL การฝึกทักษะการออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การให้คำปรึกษา รายบุคคลและครอบครัว การจัดกิจกรรมกลุ่มผู้ติดเชื้อให้กลุ่มช่วยเหลือกันเอง การให้แรงสนับสนุนทางสังคม ทั้งใน โรงพยาบาลและหน่วยงานภายนอก ดำเนินการเป็นเวลา 2 เดือน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบผลการศึกษา (C = Check) ศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และ ขั้นตอนที่ 4 การแก้ไขปัญหา (A = Action) โดยประเมินผลลัพธ์ จากผลการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ ปรับปรุงและพัฒนาจากปัญหาที่พบระหว่างจัดกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำผลที่ได้จากการรวบรวม สรุป วิเคราะห์ มาปรับปรุง มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และผู้วิจัยเปรียบเทียบความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองและวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ก่อนและหลังการ พัฒนา และติดตามประเมินความสม่ำเสมอของการกินยาต้านไวรัส (Adherence) ใช้แบบสอบถามชุดเดิม เครื่องมือ ที่ใช้ได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ แบบสอบถามความ รู้ โดยใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR – 20) ได้ค่าความเที่ยง 0.72 แบบสอบถามการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองและแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ได้ค่าความเที่ยง 0.71 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความรู้การปฏิบัติ ตนในการดูแลสุขภาพและการเห็นคุณค่าในตนเอง ก่อนและหลังการพัฒนาโดยการทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (Paired t-test) ติดตามประเมินความสม่ำเสมอของการกินยาต้านไวรัส (Adherence) โดยหาค่าความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิง คุณภาพวิเคราะห์จาการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 ปีขึ้นไปร้อยละ 70.67 สถานภาพ คู่ ร้อยละ 73.33 การศึกษา ระดับประถมศึกษาร้อยละ 83.33 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 56.67 รายได้ของครอบครัว 1,001-5,000 ร้อยละ 80 ลักษณะของครอบครัว ครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 66.67 สถานภาพของครอบครัว เป็นสมาชิก ครอบครัว ร้อยละ 53.33 ผู้ดูแลช่วยเหลือมากที่สุดคือ คู่สมรสร้อยละ 56.67 ลักษณะของชุมชนที่อยู่อาศัย นอกเขต เทศบาล ร้อยละ 80 จากการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีการดูแลตนเองที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด บุหรี่ สุรา การมีเพศสัมพันธ์ที่ ปลอดภัย มีวินัยการรับประทานยาต้านไวรัส ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (Adherence) ของการรับประทานยาต้านไวรัส 100% ร้อยละ 96.67 ผลการเปรียบเทียบความรู้ การปฏิบัติและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนมก่อนและหลังการพัฒนาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การปฏิบัติ และการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
ข้อสรุป รูปแบบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส โดยใช้กระบวนการ กลุ่มและแรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้ผู้ติดเชื้อมีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัส ต่อเนื่อง ตรงเวลาและมีการดูแล สุขภาพตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
Dracup,K.A.,&Meleas, I.A. Compliance : An interactionist approach. Nursing Re search1982; 31(1): 31-2.
Schwartz, N.E. Nutritional Knowledge attitude , and practices of high school. J AM Diet Assoc 1975; 66(1):28 – 31.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี.นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560
อภิญญา จำปามูล. แนวทางการปรับปรุงคุณภาพ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการคุณภาพ ทางการพยาบาล. ขอนแก่น: คณะพยาบาลสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549
Garrido-Hernansaiz H, Alonso-Tapia J. Associ ations Among Resilience, Posttraumatic Growth, Anxiety, and Depression and Their Prediction From Stress in Newly Diagnosed People Living With HIV. J Assoc Nurses AIDS Care 2017; 28:289-94.
Halkitis PN, Krause KD, Vieira DL. Mental health, psychosocial challenges and resilience in older adults living with HIV. Interdiscip Top Gerontol Geriatr 2017; 42:187-203.
Subramaniam S, Camacho LM, Carolan MT, Lopez-Zeron G. Resilience in low-income African American women living and aging with HIV. J Women Aging 2016; 1-8.
เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, ธันยวีร์ ภูธนกิจ, โอภาส พุทธ เจริญ, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, วินัย รัตนสุวรรณ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, และคณะ, แนวทางการ ตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ