ศึกษาผลของการปฏิบัติตาม Surviving Sepsis Campaign Guideline 2018 ต่ออัตราการตาย ในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ(sepsis) และช็อกเหตุพิษติดเชื้อ(septic shock)
คำสำคัญ:
sepsis, septic shock, Surviving Sepsis Campaignบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) และช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (septic shock) เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญและเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ทำให้มีการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ เรียกว่า Surviving Sepsis Campaign Guideline ซึ่งคำแนะนำนี้ได้รับการพัฒนาและทบทวนใหม่ล่าสุดในปี ค.ศ.2018 จากการศึกษาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามแนวทาง Surviving Sepsis Campaign 2004 – 2012 สามารถ ลดอัตราการตายจากภาวะ sepsis และ septic shock ลงได้ การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาอัตราการปฏิบัติตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาไม่ครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) และช็อกเหตุพิษติดเชื้อ(septic shock) ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 กลุ่มสองได้รับการรักษาไม่ครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 วิเคราะห์ขอมูลลักษณะทั่วไป วิเคราะห์อัตรา การตายในโรงพยาบาลเทียบกันระหว่างสองกลุ่ม
ผลการศึกษา : พบว่าจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนักทั้งหมด 785 คน พบผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ วินิจฉัย sepsis หรือ septic shock จำนวน 110 คน (14%) เป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 จำนวน 20 คน (18.2%) และเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาไม่ครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 จำนวน 90 คน (81.2%) คุณลักษณะของทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว แหล่งติดเชื้อ และ SOFA score ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ พบการส่งเลือดไปเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ 99.1%, การวัดระดับ lactate ภายใน 1 ชั่วโมง 63.6%, การเริ่มให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง 85.5%, การเริ่มให้ iv fluid ภายใน 1 ชั่วโมง 81.8%, การเริ่ม ยาบีบหลอดเลือดภายใน 1 ชั่วโมง 29.1% พบอัตราตายของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 15% กลุ่มที่ได้รับการรักษาไม่ครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 22.2%
ข้อสรุป : อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับการรักษาตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้ รับการรักษาไม่ครบตาม Surviving Sepsis Campaign 2018 แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
เอกรินทร์ ภูมิพิเชษฐ, Surviving Sepsis Campaign Guideline 2012: Overview, The Smart ICU, กรุงเทพฯ:บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด;2557
คลังข้อมูลสุขภาพ(Health Data Center-HDC), สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ร่วมกับสำนัก เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข, 2563: http://www.hdcservice.moph.go.th
Jeffrey P, Jason A, Edward A, Timothy A:The 2012 Surviving Sepsis Campaign: Management of Severe Sepsis and Septic shock-An update on the guidelines for initial therapy.Curr Emerg Hosp Med Rep (2013) 1: 154-171.
Fang G, Teresa M, Darren FD, Simon G, Samantha F (2005) The impact of Compliance with 6 h and 24 h sepsis bundles on hospital mortality in patients with severe sepsis: A prospective observational study. Crit Care 9: R764-R770.
Lefrant JY, Muller L, Raillard A, Jung B, Beaudroit L, et al. (2010) Reduction of the Severe sepsis or septic shock associated mortality reinforcement of the Recommendations bundle: A multicenter study. Ann Fr Anesth Reanim 29:621-628.
Jacky K, Yuen L (2017) A retrospective study on the compliance with surviving Sepsis campaign guideline in patients with sepsis admitted to intensive care unit in Hong Kong. Journal of Intensive and Critical Care: Vol.3 No.4:43
Mitchell M, Laura E, Andrew R.The Surviving Sepsis Bundle: 2018 update:Intensive Care Med (2018) 44: 925-928.
Andrew R, Laura E, Walee A, Mitchell M, Levy ‘MM, Massimo A, et al. Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016.Intensive Care Med (2017) 43:304-377.
Levy MM, Dellinger RP, Townsend SR, Linde-Zwirble WT, Marshall JC, et al. (2010) The surviving sepsis campaign: Results of an international guideline-based Performance improvement program targeting severe sepsis. Crit Care Med 38: 367-374.
Jean M, Henry M, Herwig G, Thierry C, Jona than C, et al.Surviving Sepsis Campaign guidelines for management of severe sepsis and septic shock:Intensive Care Med (2004) 30:536-555
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ