ความสุขของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • จิณณพิภัทร ชูปัญญา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • ศิริลักษณ์ ใจช่วง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • กนกพร ไทรสุวรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • พัชรินทร์ วงตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • พิมพ์รภัช แท่งทองหลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ความสุข, องค์กรแห่งความสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุข ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขและความคิดเห็น เกี่ยวกับชีวิตของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติ งานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม เก็บ ข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษา: พบว่า บุคลากรเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 40.8 ปี อายุงานเฉลี่ย 14.8 ปี และระยะ เวลาปฏิบัติงานในหน่วยงานปัจจุบันเฉลี่ย 8.8 ปี เมื่อพิจารณาความสุขในชีวิตของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครพนม อยู่ในระดับมาก (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 7.03, SD = 1.49) ความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตในภาพรวม อยู่ระดับมาก (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.69, SD = 1.04) ซึ่งระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตรายด้าน 5 ประเด็น พบว่า 1) ความสำเร็จตามคาดหวัง ระดับมาก (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.82, SD = 1.07) 2) สภาวะด้านต่างๆ ของชีวิต ระดับปานกลาง (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.59, SD = 1.28) 3) ความพึงพอใจในชีวิต ระดับมาก (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 5.22, SD = 1.22) 4) การได้รับสิ่งที่ต้องการในชีวิต ระดับมาก (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.80, SD = 1.21) และ 5) ความ ต้องการเปลี่ยนแปลงระดับปานกลาง (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.00, SD = 1.58) ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข ระดับดี (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 3.71, SD = 0.50) ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข มีผลต่อความสุขในชีวิตของบุคลากรสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยสามารถทำนายความสุขในชีวิต ได้ร้อยละ 12.7 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิต ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครพนม โดยสามารถทำนายความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิต ได้ร้อยละ 32.0 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

ข้อสรุป: ความสุขของบุคลากรเป็นผลจากการมีความสุขในชีวิต และความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตทั้งในด้านความ สำเร็จตามคาดหวัง สภาวะด้านต่างๆ ของชีวิต ความพึงพอใจในชีวิต การได้รับสิ่งที่ต้องการในชีวิต และความต้องการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นความสุขจากระดับบุคคลส่งพลังบวกต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข จึงควรสนับสนุนให้บุคลากรมี ทัศนคติที่ดี สร้างแรงจูงใจในการทำงาน เกิดการมีส่วนร่วมและมีพลังสร้างสรรค์พัฒนางาน

References

Veenhoven, R. Quality of life and happiness: Not quite the same. In G. DeGirolamo et al. Salute e qualita dell vida Centro scientific Torino; Italia. 2001: 67-95.

Veenhoven, R. Average Happiness in 162 Nations 2010-2018. World Database of Happiness Rank report Average Happiness [Internet] 2020 [cited 2020 Aug 25]. Available from: https://worlddatabaseofhappiness.eur.nl/reportsfinding-reports-onhappiness-in-nations/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม.องค์กรคุณธรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. รายงานผล การปฏิบัติงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครพนม. 2562.

Fordyce, M. W. A review of research on the happiness measures: A sixty second index of happiness and mental health. Social Indicators Research. 1988; 20(4): 355-381.

Diener, E. D., Emmons, R. A., Larsen, R. J., & Griffin, S. (1985). The Satisfaction with Life Scale. Journal of Personality Assessment. 1985; 49(1): 71-75.

Parfit, D. Reasons and Persons. Oxford. Clarendon press. 1984.

Diener, E. (2006), Guidelines for National Indicators of Subjective Well-Being and IllBeing, Journal of Happiness Studies, 7(4), 397-404.

รักชนก น้อยอาษาและประเสริฐ ประสมรักษ์. ระดับ ความสุขและรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการ ทำงานของบุคลากรสุขภาพ สังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(6)

พัชรินทร์ วงตา. ความสุขบุคลากร และปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. 2563.

วิทยา พลาอาด และนพดล ละอองวิจิตร. ปัจจัย ทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในจังหวัดสตูล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 2561; 6(3): 20-28.

ศุลีพร เพชรเรียง. การพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสาร เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาค ใต้ 2563; 7(1): 1-15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30