การพัฒนาระบบการปรับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง งานจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ สันติเสวี กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • วิชิต เหล่าวัฒนาถาวร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • ศศิธร อยู่ยงวัฒนา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • อาทิตยา นวลอินทร์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • จันทร์ศิริ รุ่งเรืองวุฒิกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • จริญาภรณ์ ต้นสวรรค์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • สุพัชนี ภูครองหิน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การทำงานของไตผิดปกติ มีผลกระทบต่อการขับยาออกจากร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ถ้าไม่การ เฝ้าระวังในการใช้ยาอาจจะทำให้ผู้ป่วยใช้ยาไม่เหมาะสม โดยห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม ได้มีการ ปรับปรุงการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน 13 รายการ เป็นแนวทางการปรับยาตามความเหมาะสมของการใช้ยา ปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนาการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน การเปรียบเทียบจำนวน การใช้ยาปฏิชีวนะก่อนการปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และหลังมีการปรับการใช้ยาปฏิชีวนะเปรียบเทียบค่าใช้ จ่ายก่อนและหลังจากการมีการปรับยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้ยาปฎิชีวนะชนิดรับประทาน 13 รายการแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562-31 ธันวาคม 2562

ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่ามีผู้เข้ารับบริการก่อนและหลังที่มีการปรับขนาดการใช้ยาปฏิชีวนะชนิด รับประทานอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 52.6 และร้อยละ 54.1 ตามลำดับ มีการปรับเปรียบเทียบ จำนวนการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังมีแนวการปรับการใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกต้อง ได้แก่ ยา Amoxicillin /clavulanic acid (500/125 mg) ก่อนและหลังการมีแนวทางการบริหารยาอย่างเหมาะสม จากก่อน 4,324 ครั้ง (74.38%) และ หลัง 5,425 ครั้ง (92.96%) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ยา Azithromycin ก่อน 691 ครั้ง (79.80%) และหลัง 593 (86.95%) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.025) ยา Norfloxacin ก่อน 2,032 ครั้ง (88.62%) และหลัง 1,927 ครั้ง (97.37%) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) เมื่อพิจารณาจากมูลค่ายาปฏิชีวนะ ชนิดรับประทาน เมื่อมีการตั้งกฎเกณฑ์ในการปรับการใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยไตเรื้อรัง ที่ผ่านมามีการลดค่าใช้จ่าย ก่อน และหลัง โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยก่อน 111.71±186.9 บาทและหลัง 104.43±179.4 บาท ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p=0.164)

ข้อสรุป: งานจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพนม ได้มีการปรับปรุงการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน 13 รายการ โดยได้มีการแนวทางการปรับยานั้นได้มีการเสนอในคณะกรรมการ PCT ซึ่งโดยแพทย์ได้มีการปฏิบัติตามแนวทาง และ สามารถลดค่าใช้จ่ายการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาล หลังจากได้มีการปรับปรุงการปรับยาปฎิชีวนะ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

References

ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการใช้ยา ปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติที่อาศัยการจ่ายเงินตามเกณฑ์คุณภาพ ของผลงานบริการ. คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์, ไตรเทพ สุรศักดิ์เหล่าดิ์. JJPP Thai Journal of Pharmacy Practice. Vol 2 No2 Dec 2017.

Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotic. Health System Research Journal. 2012; 6:361-73.

Apisarnthanarak A, Danchaivijitr S, Khawcha roenporn T. Effectiveness of education and antibio- tic-control program in tertiary hospital in Thailand. Clin Infect Dis 2006; 42:768-75

The Sanford Guide To Antimicrobial Therapy 2018

ธีระพงษ์ มนต์มธุรพจน์. Treatment of Community-Acquired Urinary Tract Infection in the Current Era of Quinolone Resistant Uropathogens แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อระบบ ทางเดินปัสสาวะในชุมชนในภาวะที่เชื้อแบคทีเรียดื้อ ต่อยากลุ่มควิโนโลน. Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30