การใช้ลูกประคบสมุนไพรไทยเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • ไพลิน เกษมสินธุ์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ความเจ็บปวด, ผ่าตัดคลอด, ความเย็น, ลูกประคบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ลูกประคบเย็นในการลดระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาโดยการสุ่ม เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบเย็น เกณฑ์คัดเลือก ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยหญิงตั้งครรภ์อายุระหว่าง 18 ถึง 40 ปีที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษาจะได้รับการประคบด้วยลูกประคบเย็น และกลุ่มควบคุม จะได้รับการประคบด้วยลูกประคบอุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการ ประเมินระดับความเจ็บปวด ที่ระดับศูนย์ถึงสิบ โดยประเมินที่ 0, 2, 6 และ 12 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดคลอด ข้อมูลทั่วไป ของผู้เข้าร่วมการศึกษา ข้อแทรกซ้อน จะได้รับการบันทึก

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 58 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มศึกษา 27 คน และ กลุ่มควบคุม 31 คน ทั้งสอง กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานในด้าน อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ โรคประจำตัว จำนวนการตั้งครรภ์ จำนวนบุตร และข้อบ่งชี้การผ่าตัด จากการศึกษาพบว่าคะแนนความเจ็บปวดทันที และ สองชั่วโมง หลังการผ่าตัดของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนความเจ็บปวดที่เวลา 6 และ 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัดในกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์รองพบว่าปริมาณการใช้ยา opioid ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดของกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบข้อแทรกซ้อน ในการศึกษาครั้งนี้

ข้อสรุป: ลูกประคบเย็นสามารถเป็นการรักษาเพิ่มเติมเพื่อลดภาวะความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตรได้ ในการ ศึกษานี้พบว่าในกลุ่มที่วางลูกประคบเย็นมีระดับความเจ็บปวดที่ลดลงที่เวลา 6 และ 12ชั่วโมง และพบว่ามีปริมาณการ ใช้ยาระงับปวดที่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม

References

Timothy J, Esther P. Global year against pain after surgery 2017. Available from: http://www.iasp-pain.org/globalyear

อุดมวรรณ วันศรี, สายพิณ เกตุแก้ว. การอยู่ไฟ: ทางเลือกของมารดาหลังคลอด.วารสารวิทยาศาสตร์ สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ ประสงค์. 2560; 1(3): 1-11.

Marjan A, Jila G. The influence of cold pack on labour pain relief and birth outcomes: a randomized controlled trial. J Clin Nurs 2014; 23: 2473-9.

Chumkam A, Pongrojpaw D, Chanthasenanont A, Pattaraarchachai J, Bhamarapravatana K, Suwannarurk K. Cryotherapy Reduced Postoperative Pain in Gynecologic Surgery: A Randomized Controlled Trial. Pain Res Treat 2019; 2019: 2405159.

Chaowalit M, Pongrojpaw D, Chanthasenanont A, Pattaraarcharchai J, Bhamarapravatana K, Suwannaruk K. Cold Therapy for Pain Relief in Postoperative Cesarean Section: Randomized Controlled Trial. J Med Assoc Thai 2020; 103: 43.

Nadler SF, Weingand K, Kruse RJ. The physiologic basis and clinical applications of cryotherapy and thermotherapy for the pain practitioner. Pain Physician 2004; 7: 395-9.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออบรมครูฝึกแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2541. ประพจน์ เภตรากาศ, รัชนี จันทร์เกษ. รายงานสถานการณ์การ แพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ ทางเลือก ประจำปี พ.ศ. 2548-2550. กรุงเทพมหานคร: มนัสฟิล์ม; 2549.

Soheil A, Joseph C, Ashwin C. Cold therapy in the management of postoperative cesar ean section pain. Am J Obstet Gynecol 1992; 167: 108-9.

Koc M, Tez M, Yoldas O, Dizen H, Gocmen E. Cooling for the reduction of postoperative pain: prospective randomized study. Hernia 2006; 10: 184-6.

Watkins AA, Johnson TV, Shrewsberry AB, Nourparvar P, Madni T, Watkins CJ, et al. Ice packs reduce postoperative midline incision pain and narcotic use: a randomized controlled trial. J Am Coll Surg 2014; 219: 511-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30