การพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจน ในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นพวรรณ เสโนฤทธิ์ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ นครพนม

คำสำคัญ:

ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด, การดูแลสตรีในระยะคลอด, โรงพยาบาลโพนสวรรค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะ ขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน กรกฎาคม 2560 ถึง เดือน กันยายน 2561

วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย บุคลากรที่มีหน้าที่ในการดูแลสตรีในระยะคลอด จำนวน 11 คน ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน พยาบาลหัวหน้างาน 1 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 9 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสตรีในระยะคลอด โดยการ รวบรวมข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์เวชระเบียน ทบทวนวรรณกรรม สังเกตสิ่งแวดล้อม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้คลอด 2) ระยะพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีในระยะคลอด โดยนำผลจากที่ได้ในระยะ ที่ 1 มาสนทนากลุ่มบุคลากรเพื่อสร้างรูปแบบการดูแลสตรีในระยะคลอดร่วมกัน และ 3) ระยะประเมินผล การนำ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้เป็นเวลา 10 เดือน และได้เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดก่อน และหลังการใช้รูปแบบ

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการดูแลสตรีในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารก แรกเกิด ประกอบด้วย 1) บริหารอัตรากำลังให้ยืดหยุ่นตามภาระงาน 2) พัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพ ในเรื่องการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด 3) จัดการวัสดุ อุปกรณ์ในการดูแลสตรีในระยะคลอดและทารกแรกเกิดให้ พร้อม และ 4) พัฒนาแนวทางการรายงานแพทย์ หลังจากการใช้รูปแบบ พบว่า อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน ในทารกแรกเกิดลดลงก่อนการใช้รูปแบบ จาก 9.62 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ เป็น 5.71 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ

ข้อสรุป : จากการศึกษาพบว่ารูปแบบในการดูแลสตรีในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารก แรกเกิด โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ที่พัฒนาขึ้น สามารถลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารก แรกเกิดได้จริง

References

สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Defining the scope of Perinatal Asphyxia. ใน. Neonatology 2007. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2550. หน้า 76-89

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เป้าหมายการ ดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก. ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). นนทบุรี

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในประเทศไทย. 2559. นนทบุรี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สถิติรายงาน การคลอดจังหวัดนครพนม. 2559. นครพนม

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลโพนสวรรค์. สถิติรายงานการคลอดโรงพยาบาลโพนสวรรค์ 2559. นครพนม

อร่าม ลิ้มตระกูล. ปัจจัยสาเหตุและแนวทางในการ ป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2551 ;17: 2-11 .

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการ คลอดมาตรฐาน. การคลอดมาตรฐานและการดูแล ทารกแรกเกิดสำหรับโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7-10; (30-31 มีนาคม 2558); อุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร; 2558

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การวางแผนอัตรากำลังทางการ พยาบาล. ใน ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการ องค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550

มนตรี ภูริปัญญวนิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาด ออกซิเจนในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิชาการ 2551; 2: 83-89.

จารุณี อ่วมแดง. การพัฒนาแนวทางการประเมิน ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30