ผลของการเริ่มทำกายภาพบำบัดในเวลาที่แตกต่างกันและคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วย Acute Ischemic Stroke
คำสำคัญ:
Acute Ischemic Stroke, Barthel Index, Physical Therapy Programบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ย Barthel index (BI) ในวันแรกรับ วันจำหน่าย และ ในเดือนที่ 3 ในผู้ป่วย acute ischemic stroke ที่ได้รับการเริ่มทำกายภาพบำบัดในเวลาที่ต่างกัน
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ prognostic outcome research เก็บข้อมูลแบบ prospective cohort ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย acute ischemic stroke มารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม ช่วงระหว่าง ตุลาคม 2559 ถึง พฤษภาคม 2560 จำนวน 120 ราย จำแนกผู้ป่วยที่เริ่มทำกายภาพบำบัดในเวลาที่แตกต่างกันเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1เริ่มทำกายภาพบำบัดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการนอนโรงพยาบาล (n=69) กลุ่มที่ 2 เริ่มทำกายภาพบำบัด ภายระหว่าง 24-48 ชั่วโมง (n=34) และกลุ่มที่ 3 เริ่มทำกายภาพบำบัดภายภายหลัง 48 ชั่วโมง (n=17) ประเมิน BI 3 ครั้ง คือ ในวันแรกรับ วันจำหน่าย และ ติดตามผลในเดือนที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มด้วย analysis of variance และ exact probability test ปรับลักษณะเบื้องต้นที่แตกต่างกันด้วย Bonferroni adjusted Wald test และวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงของคะแนน BI ด้วย multi-level multivariable regression
ผลการศึกษา : คะแนน BI ในผู้ป่วยที่ได้เริ่มทำกายภาพบำบัดทั้ง 3 กลุ่ม มีคะแนน BI ต่างกันตั้งแต่ต้น และมี ลักษณะบางอย่างต่างกัน ได้แก่ modified ranking scale, จำนวนครั้งของการทำกายภาพบำบัด, การเคลื่อนไหวแบบ passive, การสอน home program เมื่อปรับความแตกต่างข้างต้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงของคะแนน BI ใน 3 เดือน ของกลุ่มที่เริ่มทำ PT ใน 24-48 ชั่วโมง กับกลุ่มที่ทำหลัง 48 ชั่วโมง ไม่แตกต่างกัน แต่พบการเปลี่ยนแปลง น้อยที่สุด ในกลุ่มที่ทำก่อน 24 ชั่วโมง
ข้อสรุป : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เริ่มทำกายภาพบำบัดก่อน 24 ชั่วโมง มีคะแนน BI เพิ่มขึ้นที่ 3 เดือน ไม่ มากกว่ากลุ่มที่เริ่มทำกายภาพบำบัดช้ากว่านั้น การเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็ว (ก่อน 24 ชั่วโมง) ไม่ได้ทำให้คะแนน BI เพิ่มขึ้นมากกว่าการเริ่มทำหลัง 24 ชั่วโมง ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องรีบทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยดังกล่าวแต่อาจเริ่มทำ ภายใน 24-48 หรือ หลังจากนั้นได้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีข้อจำกัดในการสุ่มเพื่อแบ่งกลุ่ม จำนวนผู้ป่วยทีศึกษาน้อยและมีจำนวน ไม่เท่ากันอาจทำให้สรุปผลได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นอาจศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพิ่มจำนวนผู้ป่วย และมีการสุ่มแบ่งกลุ่มให้มีจำนวนเท่ากัน
References
Suwanwela NC. Stroke epidemiology in Thailand. J Stroke. 2014 Jan;16(1):1-7.
Techapaitoon A. Status of Problems and Self-care Ability in Stroke Patients After Discharge. Region 4-5 Medical Journal. 2010; 29(4): 505-510.
O’Dell MW, Lin CC, Harrison V. Stroke rehabilitation: strategies to enhance motor recovery. Annu Rev Med. 2009;60:55-68.
Herisson F et al., Early Sitting in Ischemic Stroke Patients (SEVEL): A Randomized Controlled Trial. PLoS One. 2016; 11(3)
Diserens K, Michel P, Bogousslavsky J. Early mobilisation after stroke: Review of the literature. Cerebrovasc Dis. 2006;22:183–190.
Bernhardt J, Dewey H, Thrift A, Collier J, Donnan G. A very early rehabilitation trial for stroke (AVERT): phase II safety and feasibility. Stroke. 2008;39:390 –396.
Liu et al., Randomized controlled trial of early rehabilitation after intracerebral hemorrhage stroke: difference in outcomes within 6 months of stroke. Stroke. 2014; 45(12):3502-7.
Sundseth A, Thommessen B, Rønning OM. Outcome after mobilization within 24 hours of acute stroke: A randomized controlled trial. Stroke. 2012 ;43(9):2389-94.
ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทร เกษมจิต, อำไพ อยู่วัลย์. ความน่าเชื่อถือของแบบ ประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาต หลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549;16:1-9
WattaWattanapan P, Kovindha A, Piravej K, Kuptniratsaikul V. Relationship between the ability to change from a supine to a sitting position at admission and mobility outcomes after stroke rehabilitation.J Med Assoc Thai. 2010; 93: 21-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ