การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย Septic Shock แผนกงานหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นิรันดร เทียนรังษี กลุ่มงานการพยาบาล แผนกหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลวานรนิวาส สกลนคร

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, งานหอผู้ป่วยหนัก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock แผนกงานหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลวานรนิวาส

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาแบบปฏิบัติการนี้ (Action Research) นำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการ ศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกหอ ผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลวานรนิวาส จำนวน 17 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย septic shock เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย หนักโรงพยาบาลวานรนิวาส จำนวน 20 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ขั้นตอนการศึกษา 1) Plan (P) ทบทวนปัญหาและจัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock ที่สอดคล้องกับแนวทางการรักษา 2) Do (D) พยาบาลที่ขึ้นเวรปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock ตามที่กำหนดไว้3 ) Check (C) ศึกษาผลการใช้ แนวปฏิบัติ และ 4) Act (A) ปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock เครื่องมือในการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้1) แบบสอบถามสำหรับพยาบาลผู้ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนัก ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แนวปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วย septic shock แบบบันทึกการตรวจสอบกิจกรรมการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock 2) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลด้านผลลัพธ์ต่อผู้รับบริการ วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.1 อายุไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 58.8 สถานภาพโสด ร้อยละ 58.8 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100 ทำงานในโรงพยาบาลไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 58.8 และทำงานในหอผู้ป่วยหนักมาไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 94.1 ด้านการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วย septic shock โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก ( png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 3.98, S.D.= 0.48) การพยาบาลใน ระยะวิกฤต ( png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 3.98, S.D.= 0.48) และการพยาบาลในระยะดูแลต่อเนื่อง (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 3.99, S.D.= 0.50) อยู่ในระดับดี มากเช่นกัน ส่วนด้านผลลัพธ์ต่อผู้รับบริการพบว่าผู้ป่วย septic shock ได้เข้ารับการดูแลแบบภาวะวิกฤตที่หอผู้ป่วย หนักใช้เวลาเฉลี่ย 178.3 นาที (S.D.=74.9 นาที) และอัตราการได้รับการดูแลแบบภาวะวิกฤตของภาวะ septic shock ภายใน 3 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 60.0 ส่วนความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (png.image?\dpi{110}%20\bar{x} = 4.47, S.D.= 0.62)

ข้อสรุป : การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย septic shock ทำให้การพยาบาลผู้ป่วย septic shock ได้มี คุณภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย

References

Husak L. National Analysis of Sepsis Hospitalizations and Factors Contributing to Sepsis In-Hospital Mortality in Canada. Healthcare Quarterly, 2010; 13(2):35-41.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางสถิติอัตราตาย ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเตอร์เน็ต]. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562 เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ผลลัพธ์ของ Surin sepsis treatment protocol ในการจัดการดูและรักษาภาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2555; 27(10): 332-339.

Francis M., Tom R., Tyler W. & Daniel P. Effect of an emergency department sepsis protocol on time to antibiotics in severe sepsis. CJEM, 2010; 12(4): 303-310.

พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล,นาตยา คาสว่าง และปัญญา เถื่อนด้วง. ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้แนวทาง เวชปฏิบัติ, พุทธชินราชเวชสาร, 2550; 24(1): 33-47.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, กรองกาญจน์ สังกาศ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา และยงค์รงค์ รุ่งเรือง. ผลของกิจกรรม พยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรง ของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsis. Journal of Nursing Science, 2554; 29(2): 102-110.

Polit D.F., & Hungler B.P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Phildelphia: J.B. Lippincott.

สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสาร โรงพยาบาลแพร่, 2561; 35-46.

สุพรรณ สว่างแสง. (2557). การพยาบาลระยะฉุกเฉิน ในผู้ป่วย septic shock: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4, 16(3); 242-248.

Institute for health care improvement. Severe sepsis bundles. Available online https://www.ihi.org/resources/Pages/Tools/SevereSepsisBundles.aspx. Accessed April 20th, 2020.

สมาคมเวชปฏิบัติวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock.

กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ และ พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการ ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2560; 34(3): 222-236

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30