ประสิทธิผลการพัฒนาระบบทางด่วนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
ระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, บาดเจ็บที่ศีรษะ, ผลลัพธ์การรักษา, ระยะเวลาจากห้องฉุกเฉินถึงห้องผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : บาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและความพิการที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของการบาดเจ็บ ทุกระบบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยวัดผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและด้านการพัฒนาระบบ
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่เข้ารับการ รักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาระบบจำนวน กลุ่มละ 30 ราย จับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มให้มีความคล้ายคลึงกันในด้าน อายุ เพศ ประเภทการบาดเจ็บสมอง และการรักษา ส่วนการพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) การวิเคราะห์ สถานการณ์ 2) สืบค้นวิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาแนวปฏิบัติ 4) นำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 5) ประเมิน ผลการปฏิบัติ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 2) แบบประเมิน Glasgow coma scale (GCS) และ 3) แบบประเมิน Glasgow outcome scale (GOS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t-test และสถิติ Chi-Square
ผลการศึกษา : กลุ่มหลังพัฒนาระบบมีระยะเวลาจากห้องฉุกเฉินถึงห้องผ่าตัด (Door to operation time) < 90 นาที (เฉลี่ย 87.15 นาที) และมีค่าเฉลี่ยคะแนน GCS หลังผ่าตัดในวันที่ 1, 3, 7, 14 และขณะจำหน่ายกลับบ้าน มากกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าในขณะจำหน่ายกลับบ้าน กลุ่มหลัง การพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยคะแนน GOS มากกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจาก นี้ยังพบว่ากลุ่มหลังการพัฒนาระบบมีจำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ข้อสรุป: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีระยะเวลาตั้งแต่แรกรับจนถึงผ่าตัดน้อยกว่า 4 ชั่วโมง มีผลลัพธ์ด้านการฟื้น ตัวที่ดี และสามารถลดระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะสามารถ เพิ่มคุณภาพการดูแลทั้งผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและด้านโรงพยาบาล
References
Keris V, Lavendelis E, Macane I. Association between implementation of clinical practice guidelines and outcome for traumatic brain injury. World J Surg 2007; 31: 1352-5.
Teuntje A, Janneke H, Gaby F, Joukje N, Iain H, Bram J, Ewout S. Epidemiology, severity classification, and outcome of moderate and severe traumatic brain injury : a prospective multicenter study. J Neurotrauma 2011; 28: 2019-31.
Harting JA, Vidgeon S, Strong AJ, Zacko C, Vagal A, Andaluz N. Surgical management of traumatic brain injury : a comparative effectiveness study of 2 centers. J Neurosurg 2014; 120: 434-46.
Limpastan K, Norasetthada T, Watcharasaksilp W, Vaniyapong T. Factors influencing the outcome of decompressive craniectomy used in the treatment of severe traumatic brain injury. J Med Assoc Thai 2013; 96: 678-82.
Sharma S, Gomez D, Mestral C, Hsiao M, Rutka J, Nathens AB. Emergency access to neurosurgical care for patients with traumatic brain injury. J Am Coll Surg 2014; 218: 51-7.
Henzler D, Cooper DJ, Mason K. Factors contributing to fatal outcome of traumatic brain injury : a pilot case control study. Crit Care Resusc 2001; 3: 153-7.
Kejriwal R, Civil I. Time to definitive care for patients with moderate and severe traumatic brain injury- -does a trauma system matter?. N Z Med J 2009; 122: 40-6.
Kim YJ. The impact of time from ED arrival t o surgery on mortality and hospital length of stay in patients with traumatic brain injury. J EmergNurs2011; 37: 328-33.
Fakhry SM, Trask AL, Waller MA, Watts DD. Management of brain injured patients by an evidencebased medicine protocol improves outcomes and decreases hospital charges. J Trauma 2004; 56: 492-500.
Joseph B, Aziz H, Sadoun M, Kulvatunyou N, Tang A, O’Keeffe T. The acute care surgery model : managing traumatic brain injury without an inpatient neurosurgical consultation. J Trauma Acute Care Surg 2013; 75: 102-5.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2550.
Hartl R, Gerber LM, Iacono L, Ni Q, Lyons K, Ghajar J. Direct transport within an organized state trauma system reduces mortality in patients with severe traumatic brain injury. J Trauma 2006; 60: 1250-6.
Sorantin E, Wegmann H, ZaupaPMentzel HJ, Riccabona M. Computed tomographic scan in hand trauma : what is the rational in children?. Eur J Pediatr Surg 2013; 23: 444-53.
Mejaddam A Y, Elmer J, Sideris AC, Chang Y, Petrovick L, Alam HB, Fagenholz PJ. Prolonged emergency department length of stay is not associated with worse outcomes in traumatic brain injury. J Emerg Med 2013; 45: 384-91.
Rudehill A, Bellander BM, Weitzberg E, Bredbacka S, Backheden M, Gordon E. Outcome of traumatic injuries in 1,508 patients : impact of prehospital care. J Neurotrauma 2002; 19: 855-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ