ผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิกในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • อนุวรรตน์ บุญส่ง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดโอซิโนฟิลิกในโรงพยาบาลมุกดาหาร, โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดโอซิโนฟิลิก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยา ลักษณะอาการทางคลินิก การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค ผลของการ รักษาและอัตราการเสียชีวิตของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิกในโรงพยาบาลมุกดาหาร ความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวน eosinophil ในน้ำไขสันหลัง ต่อ วันนอนของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิด อีโอซิโนฟิลิก

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมุกดาหารด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก ระหว่างปีงบประมาณ 2561 ถึง ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 71 ราย วิธีการศึกษา คือเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลด้านบุคคล ลักษณะทางคลินิกผลตรวจ eosinophil ในเลือดและในน้ำไขสันหลัง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การได้ยากลุ่ม analgesic กลุ่ม steroidsและกลุ่ม antiparasite รวมถึงผลการรักษา ความสัมพันธ์ของ eosinophil ในเลือดต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิกโดยใช้สถิติ Chi-Square

ผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก 71 ราย พบเป็นเพศชาย ร้อยละ 74.60 อายุเฉลี่ย 22.10 ปี อาชีพทำนา ร้อยละ 47.90 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 84.50 อยู่ในเขต อำเภอเมือง ร้อยละ 40.80 และมีประวัติการกินอาหารดิบหลายอย่าง คือ หอยดิบ,ปลาดิบ, เนื้อหมูดิบ, เนื้อวัวดิบ และ กุ้งดิบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 26.76 อาการสำคัญ คือปวดศีรษะ ร้อยละ 97.18 ส่วนอาการร่วมที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 60.60 ส่วนอาการแสดง พบว่าไม่พบอาการแสดงที่ผิดปกติ (normal) พบมากที่สุด ร้อยละ 45.56 รองลงมา คือ neck stiffness ร้อยละ 31.65 ผลการตรวจ CBC พบeosinophils มากกว่าร้อยละ 10 คิดเป็น ร้อยละ 59.15 ผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบ eosinophils มากกว่าร้อยละ 10 ทุกราย การรักษาโดยใช้ยากลุ่ม analgesic คือ tramadol เท่ากับร้อยละ 53.52 ยากลุ่ม steroids คือการฉีด dexamethasone 16mg/day ต่อด้วย การรับประทาน prednisolone 1 MKD และยากลุ่ม antiparasite ที่ใช้คือ albendazole 800 mg/day 2 สัปดาห์ ผลการรักษาพบว่าอาการดีขึ้น ร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการตาย มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.71 วัน พบว่า จำนวน eosinophil ในน้ำไขสันหลัง ต่อวันนอนของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก ไม่มีความสัมพันธ์ กันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อสรุป : ผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดโอซิโนฟิลิก ส่วนใหญ่มีอาการปวดศีรษะ ร่วมกับมีประวัติรับประทาน อาหารดิบ การรักษาด้วยการให้ steroid และ albendazole 800 mg/day 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกรายอาการดีขึ้น จากการศึกษานี้ จำนวน eosinophil ในน้ำไขสันหลัง ต่อวันนอนของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ

References

Lv S, Zhang Y, Steinmann P, Zhou XN. Emerging angiostrongyliasis in Mainland China. Emerg Infect Dis. 2008;14(1):161-4.

อนุวรรต์ บุญส่ง, นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์, สมศักดิ์ เทียมเก่า. เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก.KKU Journal of Medicine. Vol. 2 No. 2 April -June. 2016.

Eamsobhana P. Angiostrongyliasis in Thailand: epidemiology and laboratory investigations. Hawaii J Med Public Health. 2013 Jun;72(6 Suppl 2):28-32.

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. (2543-2552) รายงานการเฝ้าระวังโรค.

เวชสถิติโรงพยาบาลมุกดาหาร. (2561-2563). รายงานประจำปีโรงพยาบาลมุกดาหาร. (เอกสารอัดสำเนา). งานเวชสถิติ โรงพยาบาล มุกดาหาร.

ญาณิศา นราพงษ์, นพคุณ ภักดีณรงค์. (2016). Eosinophilic Meningitis due to Angiostrongylus Cantonensis. Vol. 36 No. 1 January -February.

Punyagupta S, Bunnag T, Juttijudata P, Rosen L. Eosinophilic meningitis in Thailand. Epidemiologic studies of 484 typical cases and the etiologic role of Angiostrongylus cantonensis. Am J Trop Med Hyg. 1970;19(6):950-8.

Weller PF. Eosinophilic meningitis. Am J Med. 1993;95(3):250-3.

อวยพร ปะนะมณฑา. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อีโอซิโนฟิลิกในเด็ก. วารสารกรมการแพทย์ 2528;10:256-9.

Chotmongkok V. Eosinophilic meningoencephalitis in adult. Srinangarind Hosp Med J 1987;2:251-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30