การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินแบบครบวงจร โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
ระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินแบบครบวงจร โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือแพทย์ พยาบาล 74 คน มี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการส่งต่อ 2) พัฒนาระบบส่งต่อ 3) ประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรคของระบบส่งต่อ แบบประเมินระบบส่งต่อ และแบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (IOC =0.67 – 1.00) ความเที่ยงของแบบประเมินระบบส่งต่อ เท่ากับ 0.79 ความเที่ยงของแบบประเมินความพึงพอใจ เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่าแผนระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินครบวงจรประกอบด้วย 1. ระบบบริหารการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ แนวทางการส่งต่อ บันทึกการพยาบาล ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยด้วย line พัฒนา บุคลากรในการส่งต่อ และดูแลเบื้องต้นก่อนรถฉุกเฉินไปถึง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก เท่ากับ 4.39 2. ระบบส่งต่อผู้ป่วย ได้แก่ ศักยภาพบุคลากร เตรียมความพร้อมบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ แนวทางดูแลผู้ป่วย กลุ่มโรคสำคัญ ผ่านระบบช่องทางด่วนฉุกเฉินและให้คำปรึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก เท่ากับ 4.37 3. ระบบบริการห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลทุติยภูมิ/ปฐมภูมิ ได้แก่ แนวทางรักษาผู้ป่วย และระบบช่องทางด่วนฉุกเฉิน เพื่อลดขั้นตอนระบบบริการและระบบสนับสนุนปฏิบัติการ ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.39 4. เครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยในชุมชน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายกู้ชีพชุมชน การเฝ้าระวังโรคสำคัญ และ การลงข้อมูลในระบบ ITEMS โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.40
ข้อสรุป : ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดต่อการพัฒนาแผนการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินครบวงจร
References
งานศูนย์ส่งต่อ โรงพยาบาลนครพนม. สรุปการ ดำเนินงานการรับ-ส่งผู้ป่วย โรงพยาบาลนครพนม ปีงบประมาณ2561. โรงพยาบาลนครพนม. (2562).
งานศูนย์ส่งต่อ โรงพยาบาลนครพนม. สรุปการ ดำเนินงานการรับ-ส่งผู้ป่วย โรงพยาบาลนครพนม ปีงบประมาณ2562. โรงพยาบาลนครพนม. (2563).
พรพิไล นิยมถิ่น. ผลของการใช้แบบการบันทึก ทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อ คุณภาพการส่งต่อและความพึงพอใจของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย, วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 2561; 26(3), 135.
ปรีชา แหวนหล่อ, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์ และสุริย์ พันธุ์ วรพงศธร. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง. 2560; 61(3), 215-224.
ธีรินทร์ เกตุวิชิต และ สุรศักดิ์ มังสิงห์. การพัฒนา ระบบแลกเปลี่ยนสารสนเทศทางการแพทย์ใน ระบบส่งต่อผู้ป่วย. (ธันวาคม 2557). วารสารศรีปทุม ปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2557; 6(1), 68-76.
วาสิทธิ์ นงนุช, วิศิษฎ์ ทองคำและวัชระ เอี่ยมรัศมีกุล (2560). การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ระหว่างสถานพยาบาล โรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 10(2), 49.
ปรานอม สงวนพันธุ์. (2562). กระบวนการรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล. หัวหินสุขใจ ไกลกังวล, 4(1),51.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ระบบส่งต่อผู้ป่วย: กระบวนการสำคัญในการจัดการบริการสุขภาพ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2561). 25(3), 109-121.
ยุพเยาว์ วิศพรรณ์, บัญชา พร้อมดิษฐ์, และพรทิพย์ สุขอดิศัย. รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประสาน การส่งต่อ จังหวัดจันทบุรี, วารสารศูนย์การศึกษา แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2560; 34(3), 194.
สุขสันติ พักธรรมนัก, งานจิต พระเนตร, ยงยุทธ ธิตินิลนิธิ, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม. การสร้างระบบ ส่งต่อที่ไร้รอยต่อ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี, วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 2562; 13(1), 137.
พัสตราภรณ์ ปัญญาประชุม, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, สมบัติ มุ่งทวีพงษา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ มารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใช้ระบบเครือข่าย การส่งต่อช่องทางด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน, ธรรมศาสตร์เวชสาร, 2560; 17(4), 540.
กงทอง ไพศาล.(2560). การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือดเครือข่ายสุขภาพอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น, วารสารการแพทย์ โรงพยาบาล อุดรธานี, 25(1), 11.
ศิริวรรณ ขัตติวิทยากุล และนงพะงา ลีลายนะ. (2557). การพัฒนาแบบจำลองระบบการส่งต่อผู้ป่วย กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. สาธารณสุขศาสตร์, 44(2),186-197.
อรวรรณ นาคคำ และไพบูลย์ ดาวสดใส. การประเมิน ผลการดำเนินงานของระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างโรงพยาบาลชัยภูมิและเครือข่ายบริการ ปฐมภูมิในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน2560, 2560; 13(2), 67-79
พอพล เทียมทิพย์. (2555). การวิเคราะห์การบริการ ด้านการรับและส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ