การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ชัชญาภา สมศรี กลุ่มภารกิจบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

กิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ, การพัฒนาศักยภาพสมอง, ความสุขของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น และศึกษา ประสิทธิผลของศึกษากิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยได้แก่ ผู้สูงอายุที่มาตรวจตามนัดคลินิกพิเศษเบาหวานความดัน เข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ และได้รับ การประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพส่งต่อเข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม 30 คน และบุคลากร ทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 12 คน ขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบบ่อย และการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุปัจจุบัน 2) การพัฒนารูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติใน ผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (Thai Mental Health Indicator -15) TMHI -15 (3) แบบวัดความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น และ (4) ความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อรูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติใน ผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น (5) รูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น (6) แบบประเมิน MoCA test ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟา ของครอนบาค สำหรับแบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ, แบบวัดความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อ กิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ และความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อรูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติใน ผู้สูงอายุ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด เท่ากับ 0.81, 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบ แบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ก่อน และหลังเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในเดือนที่ 3 ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมครบ 6 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ใช้สถิติ Paired samples t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษา : พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ ในภาพรวมของความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.51 ) และเมื่อเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงอายุเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม เท่ากับ 3.32 และหลังการ เข้าร่วมกิจกรรม เท่ากับ 3.77 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนน MoCA test ของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น ก่อน และหลังเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ พบว่า มี ระดับคะแนน MoCA test เฉลี่ยก่อนการร่วมกิจกรรม เท่ากับ 20.47 และหลังการเข้าร่วมกิจกรรม เท่ากับ 22.17 เพิ่ม ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อรูปแบบของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ที่มีความจำบกพร่องเบื้องต้น พบว่า คะแนนความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.83, S.D.= 0.42)

ข้อสรุป : ผลการวิจัยนี้สนับสนุนแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการฝึกทักษะสมอง ชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่งพิง

References

ชุมพล เสนาขันธ์. รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D). วารสาร วิทยาศาสตร์ 2552; 10(1), 97-104.

พัชรี ถุงแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2561; ปีที่ 13ฉบับที่ 39

ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน. รูปแบบกิจกรรมความสุข 5 มิติของกรมสุขภาพจิตที่มีผลต่อสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ชัย อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2561.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. การผ่อนคลายความเครียดสำหรับ ผู้สูงอายุ.ออนไลน์ ; 2552 (เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2560). เข้าถึงได้ จาก http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_12.html

บรรลุ ศิริพานิช. คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี; 2549.

วีนา ลิ้มสกุล และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรม กระตุ้นความสามารถสมองในผู้สูงอายุที่มีสมรรถภาพ สมองบกพร่องระยะต้น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษร์ธานี 2561; ปีที่ 45 ฉบับที่ 3

วีระศักดิ์ เมืองไพศาส. การป้องกัน การประเมินและ การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม (Dementia: Prevention, Assessment and care). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัดภาพพิมพ์; 2556.

เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, สถาบัน. การดูแลรักษาโรค ผู้สูงอายุแบบสหวิชาชีพ. กรุงเทพ ฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุ ในประเทศไทย พ.ศ. 2537 – 2554. อ้างถึง ในมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พงษ์พาณิชย์เจริญผล จำกัด; 2555.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการวิจัยการพัฒนาศักยภาพสมองบกพร่อง ในระยะต้น. กรมการแพทย์; 2558.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์ กาญจนา วณิชรมณีย์ และ พรรณี ภาณุวัฒน์สุข. คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับ ผู้สูงอายุ”. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2555.

อรวรรณ์ คูหา, จิตนภา วาณิชวโรตม์ และคณะ. การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบ สภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น (ฉบับภาษาไทย) (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพ สมองไทย (TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะ สมองเสื่อม. กรุงเทพฯ : บริษัทซีจี ทูล จำกัด; 2551.

Pender, NJ. Health Promotion in Nursing Practice. 2 nd ed. Apption and Lange, norwalk, connectial. Los Angelis California; 1987.

United Nations Development Program (UNDP). Thailand human development report 2007. Paris : UNESCO; 2007.

Wilson RS, Scherr PA, Scheider JA, et al. Relation of cognitive activity to risk of developing Alzheimer disease. Neurology 2007;21:65-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31