ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ

ผู้แต่ง

  • รัชฎาพร แนบเนียด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ด้านจิตวิญญาณ และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ หอผู้ป่วยพิเศษโภคทรัพย์ โรงพยาบาลนครพนม

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Intervention research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษโภคทรัพย์ โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึง กรกฎาคม 2563 จำนวน 12 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยประเมินสภาวะของผู้ป่วย ที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative performance scale ) 40-60 คะแนน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ แนวการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณที่สร้างขึ้นจากการทบทวนและแบบ ประเมินของนารายาชามิ แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยแบบประคับประคอง และแบบสอบถามความ ต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา

ผลการศึกษา : พบว่า ความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคองด้านจิตวิญญาณหลังได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ มีค่าเฉลี่ย 4.94(SD=0.66) สูงกว่าก่อนใช้แนวทางอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001) ความต้องการด้านจิตวิญญาณแบบ ประคับประคองด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้าย พบว่าผู้ป่วยมีความต้องการอยู่ในสถานที่เงียบสงบ ต้องการให้ ญาติมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา การเอาใจใส่จากทีมสุขภาพ ต้องการให้ญาติมาเฝ้าดูแลใกล้ชิด และครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นผู้ที่ให้กำลังใจดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 4 (S.D= 0.00)

ข้อสรุป : ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณมี ผลต่อการเพิ่มความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้าย

References

สถาพร ลีลานันทกิจ. ภาวะสุดท้ายของชีวิต-แนวคิด- ปรัชญา. คู่มือการดูแลรักษาสุขภาพผู้ป่วย ระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

วนิดา รัตนานนท์. วิเคราะห์ประเด็น Symptom management ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ; 2550. (เอกสารประกอบการ ประชุมวิชาการเรื่องการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 5-6 มิถุนายน 2550 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร. สถาพร ลีลานันทกิจ, 2551;กรมการแพทย์, 2557)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรค และสุขภาพประชากรไทยสำนักงานพัฒนานโยบาย สุขภาพระหว่างประเทศ., 2555;Cancer control, Knowledge into action World Health Organization, 2007)

พินิจรัตนกุล. จิตวิญญาณ: มิติใหม่ของการดูแล สุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์. 2547; 11(1), 3-9

กิตติกร นิลมานัด. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต: The end of Life Care. สงขลา:ขานเมืองการพิมพ์; 2555.

Smith,S.N.&N.Bohnet. Organization and administration of hospice care. The Journal of Nursing Administration. 1983; 13(4)ซ: 10-16.

William Sullivan. Ethical and Spiritual at the End of life: The Relevance of Spiritual Care to Bioethics. 2003; Bioethics Update.3(2) Retrieved October 1 2019 , from https://www.utoronto.ca/stmikes/biocthic

World Health Organization. (2005) Definition of palliative care 2002[online].2014 [citied2019 September 20];Available from: URL: http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/.

โรงพยาบาลสงฆ์. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแล รักษาแบบประคับประคอง. กรมการแพทย์: กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Narayanasamy,A,Clissett,P., Parumal, L., THonpson, D.,Annasamy,S.&Edge,R. Sespons es to the spiritual need of older people. Journal of Advanced Nursing. 2004; 48(1): 6-6

ธิติมา วทานียเวช. ความต้องการของสมาชิก ครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตตามการรับรู้ ของตนเอง และ ของพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาล อายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2540.

กัลยากร ฉัตรแก้ว. เอกสารประกอบการประชุม วิชาการฟื้นฟูเทคนิคการพยาบาล ครั้งที่ 11. วันที่ 24-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ภาควิชาการ พยาบาลพื้นฐาน วิทยาลัย สภากาชาดไทย เรื่อง Palliative Care : การดูแลเพื่อคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: สภากาชาดไทย; 2544.

ศรีรัตน์ กินาวงศ์ และปุญญณิน เชื่อมเพ็ชร์. ความผาสุกด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังระยะ สุดท้าย.เชียงรายเวชสาร. 2559; 8(1). 131-137.

ปราณี อ่อนศรี. บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายตามความเชื่อทางศาสนา. วารสาร พยาบาลทหารบก. 2557; พ.ค. - ส.ค.; 15(2). 39-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31