ประสิทธิผลของการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย
คำสำคัญ:
โรคธาลัสซีเมีย, โปรแกรมกลุ่มเพื่อนสอนเพื่อนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาออกแบบโปรแกรมการใช้กลุ่ม เพื่อนสอนเพื่อนต่อการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียน โรคธาลัสซีเมีย และศึกษาผลลัพธ์ภาวะสุขภาพของการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียและความ พึงพอใจของสหสาขาวิชาชีพต่อโปรแกรมการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ออกแบบโปรแกรมการใช้กลุ่ม เพื่อนสอนเพื่อนที่เข้ารับการรักษาในคลินิกกุมารเวชกรรมธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม จ.นครพนม ดำเนินการ ระหว่าง เดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือนพฤษภาคม 2561 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่เคยผ่าน การใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน จำนวน 30 คน และสอนแนะนำโดยทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 7 คน มีขั้นตอนพัฒนา 4 ขั้นตอนได้แก่ 1)การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การพัฒนาออกแบบโปรแกรมการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน 3) ทดลองใช้ รูปแบบ 4) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียและแบบประเมิน ความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อโปรแกรมการใช้กลุ่ม เพื่อนสอนเพื่อน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ paired t-test
ผลการศึกษา : พบว่าโปรแกรมการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อนต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย พบว่า ก่อนการใช้โปรแกรม คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีคะแนนเฉลี่ย 82.30 (SD 5.99) ภายหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 99.43 (S.D 6.96) สูงกว่าก่อน การใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001 ) ผลลัพธ์ของภาวะสุขภาพภายหลังการใช้โปรแกรม ผู้ป่วยมีภาวะ สุขภาพดีขึ้น ประเมินผลได้จากความเข้มข้นของเลือด และการลดลงของระดับเฟอรอตินด้านทีมสหสาขาวิชาชีพ พบว่าหลังการใช้ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด(X = 3.62,S.D=0.44)
ข้อสรุป : โปรแกรมการใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน ต่อการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลสซีเมีย พบว่าภายหลัง ใช้โปรแกรม เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นกว่าส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ประเมินได้ จากความเข้มข้นของเลือดและการลดลงของระดับเฟอริตินสะสมในร่างกายและสหสาขาวิชาชีพพึงพอใจในโปรแกรม การใช้กลุ่มเพื่อนสอนเพื่อน
References
นฤมล ธีระรังสิกุล และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์(2558). ประสบการณ์การจัดการดูแลตนเองของเด็กป่วย โรคธาลัสซีเมีย (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก https://www.researchgate.net/ (30/12/58)
นภารินทร์ นวลไธสง .(2553).ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ปัจจัยพื้นฐาน บางประการกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็ก วัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย.วารสารพยาบาลศาสตร์และ สุขภาพ ,33 (2)34-41
บุญญภัสร์ ภูมิภูและพร้อมจิตร ห่อบุญเหิม. (2561). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรค เรื้อรัง.วารสารฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่14 MRC#14. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
รัตนชฎาวรรณ มั่นกันนาน(2541)รัตนชฎาวรรณ มั่นกันนาน(2541) .ผลของโปรแกรมการพัฒนา ศักยภาพในการดูแลตนเองต่อความพร่องในการดูแล ตนเองและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเด็กโตโรคธาลัส ซีเมีย(ออนไลน์).เข้าถึงได้ จาก https://www.researchgate.net/ (30/12/58)
สมร ยอดพินิจ.(2560).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรร การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแล ตนเองของเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย.วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนี กรุงเทพ,33(1):141-150
สุภาพร หมุกรอด(2551)สุภาพร หมุกรอด(2551). ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อ พฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดา และการดูแล ตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรุณี เจตศรีสุภาพ(2552).ธาลัสซีเมียแบบองค์รวม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Cappellini, et al. Iron overload in nontransfusion-dependent thalassemia: a clinical perspective [Internet] 2017 [cited 2017 Jul 20]. Available from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0268960X12700061
Orem,D.E. Nursing:Conceps of practice. St.Louis : MosbyCo;1995 Ward,Caro,Green, Huybrechts,Arana,Wait,et al. Impact of Thal assemia major on Patients and Their Families [Internet] 2017 [cited 2017 Jul 28]. Available from https://www.karger.com/Article/Abstract/57633
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ