วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah <p>วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ เป็นวารสารวิชาการด้านพยาบาลศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (peer review) อย่างน้อย 2 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านเนื้อหานั้น ๆ และด้านระเบียบวิธีวิจัย (ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการนำบทความไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการตามเงื่อนไขเฉพาะราย หากต้องการผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน ตามเงื่อนไข สามารถแจ้งรายละเอียดได้ร่วมกับการส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาการตีพิมพ์) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย </p> <p><strong>ISSN 2822-1133 (Online)</strong></p> <p><strong><em>กำหนดการออก ราย 3 เดือน (ปีละ 4 ฉบับ)</em></strong></p> <ul> <li class="show">ฉบับ 1 มกราคม-มีนาคม</li> <li class="show">ฉบับ 2 เมษายน-มิถุนายน</li> <li class="show">ฉบับ 3 กรกฎาคม-กันยายน</li> <li class="show">ฉบับ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</li> </ul> คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น th-TH วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2822-1133 <p> วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ</p> บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/273837 admin admin Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในครอบครัว: โสเหล่เสวนาเพื่อภารกิจพิชิตใจตนเอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/273838 <p>นำเสนอประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในครอบครัว โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ได้จากประสบการณ์ในฐานะนักวิชาการการพยาบาลครอบครัว และในฐานะผู้ดูแลสมาชิก ในครอบครัวที่ติดเตียง ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญทั่วโลกชี้ให้เห็นภยันตรายในปัจจุบัน นอกเหนือจากโรคระบาด นานาชนิดนอกจากโควิด 19 แล้ว ยังมีภัยคุกคามที่เป็นเพชฌฆาตเงียบทางระบาดวิทยา คือ โรคไม่ติดต่อ โดยพบว่า ปัญหาภาวะสุขภาพเรื้อรังร่วมกับภาวะสูงวัยก่อให้เกิดภาวะพิการ ทุพพลภาพของคนทั่วโลก ถึงร้อยละ 15 หรือประมาณ 44 ล้านคน โดยมีสาเหตุจากโรคไม่ติดต่อเป็นสำคัญของความพิการมากที่สุด มีความบกพร่องทางร่างกายจิตใจ การรับรู้ ความเข้าใจ การสื่อสารและประสาทสัมผัส กลายเป็นต้องพึ่งพิงผู้อื่น นำมาซึ่งการสูญเสียวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตตามปกติที่บุคคลเคยมี เพราะต้องกลายเป็นคนพึ่งพา ขาดซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ยังนำมาซึ่งภาระในครอบครัวที่ต้องดูแลอีกด้วย นับเป็นภาวะวิกฤตและความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลที่ต้องรับมือกับภาวะสูญเสียความสมดุลในชีวิตเกิดกระบวนการเศร้าโศก ซึ่งหากขาดความเข้าใจอาจนำมา ซึ่งการล่มสลายของชีวิตครอบครัว เพราะไม่สามารถปรับตัวรับมือต่อภาวะวิกฤตในชีวิตครอบครัวได้ ดังนั้น ประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนี้ อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอดทางวิชาการวิจัยให้เกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไปได้</p> ดารุณี จงอุดมการณ์ ขวัญสุดา บุญทศ พิมชญา วิเศษสิทธิกุล Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 1 14 การพัฒนาแนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/270176 <p>มารดาหลังคลอดมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมที่อาจก่อปัญหาสุขภาพ และส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการดูแลมารดาหลังคลอด พัฒนาแนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด และศึกษาผลของการใช้แนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอด ญาติ และทีมผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมทั้งหมด จำนวน 68 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเอง ปัญหาและความต้องการของมารดาหลังคลอด 2) พัฒนาแนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด 3) นำแนวทางไปปฏิบัติ 4) สรุปและประเมินผล</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในแต่ละระยะ มีดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแนวทางการจัดประชุมกลุ่ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด และระยะที่ 3 ได้แก่ แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .80, .82, .86 และ .90 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .89, .93, .85 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนาและ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) มารดาหลังคลอดส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ในระดับปานกลาง และ 2) มารดาหลังคลอดส่วนมากมีการดูแลตนเอง โดยทั่วไป อยู่ในระดับดี การพัฒนาแนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ (1) การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด และ (2) การพัฒนาระบบการติดตามเยี่ยมหลังคลอด</p> <p>ผลจากการนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับมารดาหลังคลอด พบว่า 1) มารดาหลังคลอดและญาติมีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลังคลอด การปฏิบัติตัวหลังคลอด วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ได้ 2) มารดาหลังคลอดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100 3) มารดาหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทางโทรศัพท์ ร้อยละ 100 และ 4) มารดาหลังคลอดที่มีปัญหาในการดูแลตนเองได้รับการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 100 ดังนั้น แนวทางการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่ได้จากการศึกษา จึงทำให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด</p> วรรณพร วังสะวิบูลย์ ทศพร ทองย้อย Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 38 50 การพัฒนาระบบอีเลิร์นนิง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือดสำหรับพยาบาลวิชาชีพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/266420 <p>ระบบอีเลิร์นนิง เป็นเครื่องมือที่หลายองค์กรนำมาใช้ในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากร เนื่องจากเข้าสู่เนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว สามารถพัฒนาความรู้และทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรในรูปแบบการฝึกอบรม ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และมีข้อจำกัดด้านบุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นผลัด เช้า บ่าย ดึก ไม่สามารถจัดอบรมพร้อมกันได้อย่างทั่วถึง</p> <p>การวิจัยนี้ เป็นวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบอีเลิร์นนิง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลที่มีต่อระบบอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผลสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษา ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพระดับบริหาร คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต 3 ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระหว่างเดือนมกราคม ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566</p> <p>เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย บทเรียนเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด แบบบันทึกผลการประชุม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ พบว่า แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบอีเลิร์นนิง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนาโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนและหลังเรียน ด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (paired t-test)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การพัฒนาได้ระบบอีเลิร์นนิงเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเป็นระบบออนไลน์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนและหลังเรียนด้วยระบบฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 พยาบาลมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="blob:https://he01.tci-thaijo.org/2492aae4-560d-449f-9704-0dc0e36ddd80" alt="" /><img src="blob:https://he01.tci-thaijo.org/4bdf660d-b3ac-476d-adac-0747e7857f2a" alt="" /><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.22, SD=0.670) และความพึงพอใจต่อการใช้ระบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="blob:https://he01.tci-thaijo.org/d04d25ad-c63d-4833-ac3a-61cffe683425" alt="" /><img src="blob:https://he01.tci-thaijo.org/1d49c862-18fb-4542-a50d-642f7dce75fd" alt="" /><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.28, SD=0.654) เช่นกัน</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการวิจัยไปใช้ด้านการบริหารในการวางแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลและติดตามการปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย และควรมีการศึกษาประสิทธิผลของระบบอีเลิร์นนิงเปรียบเทียบกันการเรียนรู้ระบบอื่นในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้</p> สุดถนอม กมลเลิศ นุชจรีย์ หอมนาน สัญพิชา ศรภิรมย์ รัศมี ภะวะพินิจ ภาสกร เงางาม บุษบา บุญกระโทก สุมาลี ศิริศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 51 67 การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของการพยาบาลบนหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อส่งเสริมการกำซาบเนื้อเยื่อส่วนปลายในผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/269598 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของการพยาบาลบนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อส่งเสริมการกำซาบเนื้อเยื่อส่วนปลายในผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พัฒนาโดยใช้ กรอบแนวคิดของรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเมินคุณภาพ โดยการตรวจสอบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา และประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและประเมินผล (appraisal of guideline for research &amp; evaluation II: AGREE II) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำการพยาบาลบนหลักฐานเชิงประจักษ์ฯ ไปทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้ โดยการนำการพยาบาลไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย จำนวน 10 ราย ติดตามผลลัพธ์ 24 ชั่วโมง หลังให้การพยาบาลด้วยการประเมินค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (ดัชนีความดันโลหิตบริเวณข้อเท้า เมื่อเทียบกับแขน ankle brachial index: ABI) รวมทั้งอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ตามคำย่อ 6P วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายรวมทั้งอาการและอาการแสดงของภาวะขาดเลือดเฉียบพลันก่อนและหลังการใช้การพยาบาลฯ โดยใช้สถิติ paired t-test และสถิติ chi-square</p> <p>ผลการสืบค้นและสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ได้งานวิจัย จำนวน 18 เรื่อง แล้วนำมาสังเคราะห์หมวดหมู่องค์ความรู้และสร้างแนวทางการพยาบาล ได้แนวทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) การประเมินและติดตามอาการแสดงของการกำซาบเนื้อเยื่อส่วนปลาย 2) การส่งตรวจและติดตามค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ 3) การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการกำซาบเนื้อเยื่อส่วนปลาย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของการพยาบาลบนหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index: CVI)=1.0 และตรวจสอบคุณภาพตามการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและประเมินผล มีคะแนน AGREE II ของแต่ละหมวดอยู่ระหว่าง ร้อยละ 93.57-100.00</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังให้การพยาบาลครบ 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดง (mean=0.95, SD=0.30) มากกว่าก่อนให้การพยาบาล (mean=0.71, SD=0.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.451, p&lt;0.001) การเกิดอาการและอาการแสดง 6P ของภาวะขาดเลือดเฉียบพลันลดลงกว่าก่อนให้การพยาบาล แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) และคะแนนความปวด (mean=2.90, SD=1.63) ลดลงกว่าก่อนให้การพยาบาล (mean=8.50, SD=1.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=10.340, p&lt;0.001)</p> <p>การพยาบาลบนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ เพื่อส่งเสริมการกำซาบเนื้อเยื่อส่วนปลายในผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทดสอบประสิทธิผลของการพยาบาลนี้</p> ศุภานันท์ แทบทาม ปาริชาติ วงศ์ก้อม Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 68 81 ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/269246 <p>การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (correlational research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566</p> <p>เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 3) แบบประเมินสมรรถภาพสมอง (The mental state examination: MSET-10) ฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินการรับรู้และความเข้าใจ (The montreal cognitive assessment: MoCA) ฉบับภาษาไทย และ 5) แบบสัมภาษณ์การมีกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและกรอบการพัฒนาเครื่องมือวิจัย เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.799 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.233, p&lt;.001) การมีกิจกรรมทางสังคม ประเภทที่ 1, 2 และ 3 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.201, p=&lt;.002; r=0.181, p=0.005; และ r=0.133, p&lt;.040) ตามลำดับ</p> พัชรีภรณ์ ทรงถิ่น ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์ นัดดา คำนิยม สุทธินันท์ สุบินดี Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 82 95 ผลของการใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนต่ออัตราการทำความสะอาดมือของบุคลากร งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษเฉพาะทาง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/271278 <p>การทำความสะอาดมือ เป็นวิธีการสำคัญในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งการส่งเสริมการทำความสะอาดมือมีหลายวิธี เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนถูกนำมาใช้แล้วได้ผลดี ในการส่งเสริมการปฏิบัติของบุคคลในด้านต่าง ๆ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนต่ออัตราการทำความสะอาดมือของบุคลากร งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษเฉพาะทาง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยวัดจากการเปรียบเทียบอัตราการทำความสะอาดมือของบุคลากร ก่อนและหลังการดำเนินการเดือนที่ 1, 3 และ 6 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยของงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษเฉพาะทาง 5 หอผู้ป่วย จำนวน 133 คน ที่ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม -31 ธันวาคม 2564</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนและสมุดบันทึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสังเกตการทำความสะอาดมือ เครื่องมือวิจัยนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.0 การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตระหว่างผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ได้ค่าเท่ากับ 1.0 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลการทำความสะอาดมือ ในเดือนที่ 1, 3 และ 6 วิเคราะห์โดยการนำอัตราการทำความสะอาดมือมาเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติบรรยาย</p> <p>ผลการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการทำความสะอาดมือ ในเดือนที่ 1, 3 และ 6 ก่อนและหลังใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า มีอัตราการทำความสะอาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกิจกรรมก่อนสัมผัสผู้ป่วย ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า การใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนสามารถส่งเสริมการทำความสะอาดมือของบุคลากรซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เกิดจากการสัมผัสโดยมือได้</p> พิมพิลา ศิริปัน พัชรินทร์ เนตรสว่าง อมรพรรณ วรรณวิไลย เพชรา นำปูนศักดิ์ ยุพาวรรณ สิงห์สุภา สุพรรษา วรรณะ จุฑามาศ ไชยวุฒิ นงลักษณ์ อินทะจักร จันจิรา ตาใจ อภิญญา วงลังกา ศิริลักษณ์ ศิริวงษ์ จิตถนอม สังขนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 96 110 ผลของการพัฒนานวัตกรรมและระบบบริการสุขภาพ ต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นวัณโรคปอด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/271525 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมและระบบบริการสุขภาพในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นวัณโรคปอดต่อผลลัพธ์การรักษาวัณโรค ทั้งด้านกระบวนการรักษาและอัตราสำเร็จของการรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัณโรคที่มารับบริการ ณ คลินิกวัณโรค จำนวน 9 แห่ง คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 88 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการรับประทานยาวัณโรค แบบบันทึกการมาตรวจตามนัด และแบบบันทึกอัตราสำเร็จของการรักษา และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง “กล่องรักษ์ยาและระบบบริการสุขภาพทางไกล” ซึ่งพัฒนาขึ้น โดยผู้วิจัยวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา โดยใช้ mann-whitney u test เปรียบเทียบ การมาตรวจตามนัดและอัตราสำเร็จของการรักษา โดยใช้ independent t-test</p> <p>ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองรับประทานยา โดยใช้นวัตกรรม คิดเป็นร้อย 81.68 และกลุ่มควบคุมรับประทานยา โดยการสังเกตโดยตรง (directly observed treatment: DOT) คิดเป็น ร้อยละ 2.73 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) และอัตราสำเร็จของการรักษาภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองรักษาหาย คิดเป็น ร้อยละ 100 ซึ่งมีสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่รักษาหาย คิดเป็น ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) ดังนั้น กล่องรักษ์ยาและระบบบริการสุขภาพทางไกล มีผลต่อผลลัพธ์การรักษาวัณโรค ทั้งด้านกระบวนการรักษาและด้านอัตราสำเร็จของการรักษา นวัตกรรมชิ้นนี้นับเป็นอุปกรณ์เฉพาะ สำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นวัณโรค ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีอัตราสำเร็จของการรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานควบคุมวัณโรค เพื่อช่วยเพิ่มอัตราสำเร็จของการรักษา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองนโยบายของประเทศ และนโยบายขององค์การอนามัยโลก</p> อัมพรพรรณ ธีรานุตร สุณี เลิศสินอุดม ภาณุพงษ์ วันจันทึก พรอนันต์ โดมทอง ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น ปฐมาวดี สุดสะอาด เสน่ห์ พุฒธิ พิชามญชุ์ คงเกษม Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 111 127 การพัฒนาเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/269562 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participation action research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า มีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ของภาวะซึมเศร้าและความต้องการในการดูแลของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 2) สร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า 3) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า และ 4) ปฏิบัติการเยี่ยมบ้านและประเมินผลเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง</p> <p>กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่ติดบ้าน จำนวน 19 คนและผู้สูงอายุที่ติดเตียง จำนวน 25 คน ภาคีเครือข่าย บริการชุมชน/ท้องถิ่น จำนวน 17 คน และเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q ,9Q 2) แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติ paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงส่วนมาก (ร้อยละ 50.30) ไม่มีอาการ/มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยมาก องค์ประกอบเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) เครือข่ายดูแลหลัก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และจิตอาสา 2) เครือข่ายสนับสนุน ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำหมู่บ้าน ผลพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่าเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะการปฏิบัติงานในการเยี่ยมบ้าน และการใช้ชุดกิจกรรมต้านเศร้า 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประเมินภาวะซึมเศร้า 2) การนวดผ่อนคลาย 3) สมาธิบำบัด 4) การสนทนาเพื่อการบำบัด และ 5) ดนตรีหมอลำบำบัด เพิ่มขึ้นกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)</p> <p>จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงนี้ มีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าได้</p> ศรินรัตน์ จันทพิมพ์ ณรงค์กร ชัยวงศ์ ณิชาภัทร มณีพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 128 141 การแปลและการตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดความไม่สุขสบาย จากอาการกระหายน้ำจากการผ่าตัด ฉบับภาษาไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/270312 <p>อาการกระหายน้ำพบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และทำให้เกิดความไม่สุขสบาย เครื่องมือมาตรฐานสำหรับประเมินอาการดังกล่าว จะช่วยในการประเมินปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้ บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลแบบวัดความไม่สุขสบายจากอาการกระหายน้ำจากการผ่าตัด (The perioperative thirst discomfort scale: PTDS) จากฉบับภาษาอังกฤษเป็นฉบับภาษาไทย และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบวัดฯ ฉบับภาษาไทย โดยในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำกระบวนการแปลและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยขององค์การอนามัยโลกมาใช้กระบวนการแปล ประกอบด้วย 1) การแปลเครื่องมือจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย 2) การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยฉบับแปลโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3) การทดสอบเครื่องมือในผู้ใช้ภาษาไทยเพียงภาษาเดียว 4) การแปลย้อนกลับจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ 5) การตรวจสอบความเท่าเทียมกันของเครื่องมือ โดยผู้พัฒนาเครื่องมือต้นฉบับ</p> <p>ผลการแปลพบว่า แบบวัดความไม่สุขสบายจากอาการกระหายน้ำจากการผ่าตัด ฉบับภาษาไทย มีความทัดเทียมด้านภาษา เนื้อหาและความหมายเทียบเท่ากับต้นฉบับภาษาต่างประเทศ ในการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา พบว่า ค่าดรรชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (scale-level content validity index: S-CVI) เท่ากับ 1.00 และการตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค เท่ากับ .75 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ อยู่ระหว่าง .30-.65 ซึ่งมีความตรงและความเชื่อมั่น ที่ยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินความไม่สุขสบายจากอาการกระหายน้ำในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด โดยผู้ป่วยสามารถอ่านและตอบข้อคำถามได้ด้วยตนเอง หรือหากผู้ป่วยมีข้อจำกัดด้านการอ่าน พยาบาลสามารถอ่านและอธิบายแต่ละข้อคำถามให้ผู้ป่วยฟัง แล้วให้ผู้ป่วยตอบตามระดับความรู้สึกของตนเองได้ ดังนั้น พยาบาลและผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจแบบวัดความไม่สุขสบายจากอาการกระหายน้ำจากการผ่าตัด ฉบับภาษาไทยอย่างครอบคลุมก่อนที่จะนำไปใช้ในสถานพยาบาล</p> กวิดา พิมทา บุษบา สมใจวงษ์ วิภาวดี โพธิโสภา Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 142 153 สารบัญ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/274010 admin admin Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 ความท้าทายของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: ยุควิถีถัดไป https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/271272 <p>โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก โดยส่ง ผลกระทบต่อระบบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องเผชิญกับความท้าทายหลังการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา การระบาดของโรคครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา และควบคุมโรค จากผลกระทบดังกล่าวทำให้การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยลดลง</p> <p>บทบาทสำคัญของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง เช่น การให้คำแนะนำด้านสิ่งแวดล้อม อาหารและโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด รวมถึงการส่งเสริมการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสม ผ่านการให้ความรู้ สอนทักษะ ในการปฏิบัติกิจกรรม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น ๆ</p> <p>สำหรับพยาบาลนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการปรับรูปแบบและบทบาทการพยาบาล ให้มีความเหมาะสมกับบริบทสถานการณ์ยุควิถีถัดไป (next normal) โดยเฉพาะบทบาทด้านการส่งเสริมและป้องกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการสุขภาพ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยนั้น สามารถควบคุมความเจ็บป่วยของตนเองได้ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดระดับความรุนแรงของโรค เพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี</p> สาธิก สุทธิวิริวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 15 25 บันทึกบทบาทของทีมงานการจัดการดูแลสุขภาพโควิด-19: ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานธุรการ ต่อการดำเนินงานของศูนย์พักคอยในชุมชนของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/267575 <p>ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานธุรการมีบทบาทสำคัญ ในการแบ่งเบาภาระงานของทีมบุคลากรด่านหน้า ในการดำเนินงานของศูนย์พักคอยในชุมชน ในช่วงการระบาดของโควิด-19 การดำเนินงานภายใต้องค์ความรู้ที่มีอย่างจำกัด ร่วมกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทาย ที่นำมาสู่การบันทึกประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้น บทความวิชาการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ ความรู้ที่บันทึกไว้ท่ามกลางการปฏิบัติในฐานะทีมงานการจัดการดูแลสุขภาพโควิด-19 ของผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานธุรการ ในการดำเนินงานของศูนย์พักคอยในชุมชน</p> <p>เอกสารที่บันทึกประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นนี้ เน้นให้เห็นบทบาทเสริมที่สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาวะวิกฤตของผู้ป่วยและครอบครัวลงได้ ซึ่งประกอบด้วย บทบาทการเป็นผู้ช่วยรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย เป็นผู้ช่วยเตรียมรับเข้าสู่ระบบการรักษา เป็นผู้ช่วยดูแลขณะพักรักษาตัว เป็นผู้ช่วยวางแผนและเตรียมจำหน่าย รวมทั้งการเป็นผู้ช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้เข้าสู่ระบบการรักษาที่มีคุณภาพ เกิดความปลอดภัย ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนได้</p> ชนิษฐ์ชา ภูมัสยสุวรรณ์ วาสนา โพธิ์เย็น ชูธนันพัฒน์ ไชยศรีประสาร Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-22 2024-09-22 47 3 26 37