https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/issue/feed
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
2024-12-12T21:00:17+07:00
Prof. Dr. Darunee Jongudomkarn
journal.nu@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ เป็นวารสารวิชาการด้านพยาบาลศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (peer review) อย่างน้อย 2 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านเนื้อหานั้น ๆ และด้านระเบียบวิธีวิจัย (ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการนำบทความไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการตามเงื่อนไขเฉพาะราย หากต้องการผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความจำนวน 3 ท่าน ตามเงื่อนไข สามารถแจ้งรายละเอียดได้ร่วมกับการส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาการตีพิมพ์) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย </p> <p><strong>ISSN 2822-1133 (Online)</strong></p> <p><strong><em>กำหนดการออก ราย 3 เดือน (ปีละ 4 ฉบับ)</em></strong></p> <ul> <li class="show">ฉบับ 1 มกราคม-มีนาคม</li> <li class="show">ฉบับ 2 เมษายน-มิถุนายน</li> <li class="show">ฉบับ 3 กรกฎาคม-กันยายน</li> <li class="show">ฉบับ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</li> </ul>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/271414
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิดกรณีไม่มีรูทวารหนัก: รายงานผู้ป่วย
2024-06-25T10:52:34+07:00
อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์
watcha@kku.ac.th
อุไรวรรณ หงวนไธสง
uraisroi@kku.ac.th
จุฑามาศ พายจะโปะ
chupay@kku.ac.th
ขวัญกมล ลาดเสนา
khunla@kku.ac.th
ประกาย โพธิ์งาม
praksi@kku.ac.th
รัศมี งามเจริญ
watcha@kku.ac.th
<p>คำถามแรกที่คนส่วนใหญ่ถามหมอผู้ทำคลอดภายหลังการคลอดทารก คือ “ครบ 32 ประการหรือไม่” เพราะเป็นคำถามที่บ่งบอกถึงความเป็นไปในชีวิตของทารกและครอบครัวของทารกด้วย กรณีทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิดไม่มีรูทวารหนัก เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 1 ใน 4,000-5,000 ของทารกเกิดมีชีพ มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด และควรได้รับการดูแลภายหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ทารกและครอบครัวของทารกสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติสุขมากที่สุด</p> <p>บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอกระบวนการพยาบาลในการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่เข้ารับการผ่าตัดกรณีไม่มีรูทวารหนัก จำนวน 1 ราย ตามแนวปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะสุขภาพผิดปกติ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของทารกแรกเกิด ได้แก่ การซักประวัติ การประเมินร่างกาย 2) การวางแผนการพยาบาล และ 3) การประเมินภาวะสุขภาพแบบองค์รวม ประกอบด้วย ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และการเรียนรู้ ประโยชน์ที่ได้เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการพยาบาลในการแก้ปัญหาและดูแลทารกให้ครอบคลุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีความปลอดภัยและช่วยลด ความวิตกกังวลให้กับครอบครัวต่อไป</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/275782
ฝึกทักษะคิดพิชิตการเขียน (หนังสือ/ตำรา): ดีเอ็นเอที่จำเป็นของคนทำงานในยุคสื่อดิจิทัล
2024-12-08T16:43:48+07:00
ดารุณี จงอุดมการณ์
darjon@kku.ac.th
<p>บทความรับเชิญนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์เอกสารวิชาการ ประเภทหนังสือ หรือตำราสำหรับผู้สนใจ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม กำหนดตามประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นเอกสารประกาศล่าสุดที่ต้องยึดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรนำมาพิจารณาบูรณาการ คือ บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ความต้องการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนไปเพราะการระบาดโควิด-19 จากยุควิถีปกติใหม่ (new normal) สู่ยุคปกติถัดไป (next normal) กรอบทฤษฎีการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ฉบับปรับปรุงที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อนำไปสู่การออกแบบเนื้อหา นอกจากนี้ ผู้เขียนได้สรุปกระบวนการเขียนหนังสือ/ตำรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ได้</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/275881
บทบรรณาธิการ
2024-12-11T23:02:46+07:00
admin admin
journal.nu@gmail.com
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/275882
สารบัญ
2024-12-11T23:08:58+07:00
admin admin
journal.nu@gmail.com
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/273256
สมรรถนะการปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตตามการรับรู้ของผู้ผ่านการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต
2024-10-11T16:38:23+07:00
จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี
jurtan@kku.ac.th
ประกายแก้ว ศิริพูล
prakaikaewsi@kkumail.com
ภวรรณตรี พลเยี่ยม
phawpo@kku.ac.th
นิภา อังศุภากร
nipang@kku.ac.th
แก้วกาญจน์ เสือรัมย์
kaesue@kku.ac.th
อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์
watcha@kku.ac.th
ชลิดา ธนัฐธีรกุล
warinee@kku.ac.th
<p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตของผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาวิชาชีพ ด้วยการพัฒนาความรู้ ทักษะปฏิบัติและสมรรถนะทางคลินิกของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในสภาวะที่อัตราการเกิดใหม่น้อยลง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมรุ่นที่ 14 จำนวน 39 คน (คิดเป็นร้อยละ 100)</p> <p>เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .88 และ หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วยสถิติ paired t-test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะด้านคลินิกของการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=84.77, SD=13.75) 2) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะด้านวิชาชีพ ภาวะผู้นำ การสอน การนิเทศ และการวิจัยในการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=43.33, SD=6.18)และ 3) คะแนนเฉลี่ยโดยรวม ทั้ง 2 ด้าน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=128.10, SD=18.85) โดยผู้เข้าอบรมที่ผ่านการอบรมมีการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ในการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตเพิ่มขึ้นทุกข้อ</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/270899
ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี
2024-05-06T10:48:34+07:00
สาวิตรี แย้มศรีบัว
phatphitcha.kru@gmail.com
ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ
phatphitcha.kru@gmail.com
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 232 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน และแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20,SPST-20) โดยเครื่องมือแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ทุกข้อ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และ 0.66 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับคลั่งไคล้ มีผลกระทบต่อสุขภาพกายอยู่ในระดับน้อย มีผลกระทบต่อการเรียนอยู่ในระดับน้อยที่สุด และมีผลกระทบต่อความเครียดอยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผลกระทบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ผลกระทบต่อการเรียน และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<.05) ดังนั้น สามารถนำผลการวิจัย ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้สื่อสังคมออนไลน์และป้องกันผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/272800
ความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในเขตเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2024-07-31T16:21:41+07:00
เบญญาภา พิภัชปวัน
chuntana@bcnsprnw.ac.th
จันทนา โรเจอร์สัน
chuntana@bcnsprnw.ac.th
<p>ภาวะกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดทั้งหมด เป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ในนักเรียนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เกิดจากความเสี่ยงหลายประการแต่ยังไม่มีการศึกษาปัจจัยที่ชัดเจน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยง และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับ ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กนักเรียนประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประเภทหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนเทศบาล 3 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 427 คน ดำเนินการวิจัยโดยการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยงด้วยแบบสอบถาม และการตรวจกระดูกสันหลังคดด้วยวิธี Adam’s forward bending test ซึ่งมีค่า test-retest reliability เท่ากับ 0.90 และในกรณีที่ผลการตรวจเป็นบวก จะได้รับการตรวจความเอียงของกระดูกสันหลังด้วย scoliometer ซึ่งมีค่า inter-rater reliability เท่ากับ 0.80-0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (Spearman’s rank correlation coefficient)</p> <p>ผลการศึกษาไม่พบนักเรียนที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด นักเรียนใช้กระเป๋าที่มีน้ำหนักเหมาะสม ไม่เกิน 15% ของน้ำหนักตัว ร้อยละ 99.76 อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะกระดูกสันหลังคด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กิจกรรมการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะกระดูกสันหลังคด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ดังนั้น ควรมีการรณรงค์เกี่ยวกับการมีค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะกระดูกสันหลังคด</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/269933
การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดลิ้นหัวใจ
2024-03-25T15:40:06+07:00
ชาญณรงค์ ประสารกก
chanpr@kku.ac.th
มะลิวรรณ ศิลารัตน์
smaliw@kku.ac.th
วาสนา รวยสูงเนิน
waskir@kku.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ กระบวนการพัฒนามี 2 ขั้นตอน คือ 1) ยกร่างเครื่องมือ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมร่วมกับทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และยกร่างข้อคำถามของแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในการรับประทานอาหารได้ข้อคำถาม จำนวน 16 ข้อ แบ่งเป็นคำถามเพื่อวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นฐาน 6 ข้อ ระดับปฏิสัมพันธ์ 5 ข้อ และระดับวิจารณญาณ 5 ข้อ ลักษณะแบบวัดเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และ 2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ อาจารย์พยาบาล พยาบาลวิชาชีพ และเภสัชกร ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จำนวน 30 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.84</p> <p>สรุปผลเนื้อหาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพครอบคลุมการวัดระดับพื้นฐาน ระดับปฏิสัมพันธ์ และระดับวิจารณญาณ คุณภาพเครื่องมือมีค่าความตรงและความเชื่อมั่นผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับเครื่องมือใหม่ อย่างไรก็ตาม ควรมีการวิเคราะห์แบบวัดเป็นรายข้อ และวัดความตรงเชิงโครงสร้าง เพื่อให้แบบวัดมีคุณภาพมากขึ้น</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/269886
การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมด้วยสื่อดิจิทัลลดความวิตกกังวลและส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ ในการรักษาของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ : การวิจัยนำร่อง
2024-04-06T00:11:17+07:00
เกียรติวรรณ การสะอาด
keattiwan.k@kkumail.com
วาสนา รวยสูงเนิน
waskir@kku.ac.th
รชฏ มาลา
rachata@kku.ac.th
<p>การศึกษานำร่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตด้วยสื่อดิจิทัลต่อความวิตกกังวลและพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ รูปแบบการศึกษาเป็นแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่นัดมาผ่าตัดหัวใจเป็นครั้งแรก จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2567 เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความวิตกกังวลแบบมาตรวัดด้วยสายตาชนิดแนวนอน และแบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยคือ สื่อดิจิทัลให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับเข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตหลังการผ่าตัดหัวใจ ความยาว 12 นาที พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยจากแนวคิดการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมตามทฤษฎี self-regulation theory และผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแตกต่างก่อนและหลังให้ข้อมูลด้วยสถิติ repeated measures ANOVA</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของความวิตกกังวลก่อนได้รับข้อมูล หลังได้รับข้อมูล 30 นาที และ 48 ชั่วโมง หลังผ่าตัดหัวใจ เท่ากับ 35 (SD 12.90), 25 (SD 0.00) และ 15 (SD 12.09) ตามลำดับ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากก่อนให้ข้อมูลเทียบกับ 30 นาทีหลังการให้ข้อมูล และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ตามลำดับ (p<0.05) กลุ่มตัวอย่างให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมขณะอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ จำนวน 9 คน (ร้อยละ 90) สรุปได้ว่า การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมฯ ลดความวิตกกังวล และส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาขณะอยู่ในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอ เพื่อยืนยันผลลัพธ์ของการให้ข้อมูลด้วยสื่อดิจิทัลก่อนนำไปใช้งาน</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/268879
การแปลและประเมินคุณภาพของแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในผู้ที่มีรูเปิดลำไส้ทางหน้าท้องฉบับภาษาไทย
2024-06-02T12:07:35+07:00
พิมพ์ชนก ทองคำจันทร์
pimchanok@kku.ac.th
บุษบา สมใจวงษ์
bussom@kku.ac.th
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการแปลและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในผู้ที่มีรูเปิดลำไส้ทางหน้าท้องฉบับภาษาไทย ผู้วิจัยเลือกใช้กระบวนการแปลเครื่องมือด้วยการแปลแบบย้อนกลับและทดสอบกับผู้ใช้ภาษาเดียว</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินฉบับภาษาไทยมีกระบวนการแปลที่ทัดเทียมด้านภาษา เนื้อหา และความหมาย เทียบเท่ากับแบบประเมินชุดต้นฉบับภาษาต่างประเทศ ศึกษาความเที่ยงตรงของแบบประเมิน โดยวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้เท่ากับ 0.98 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมิน โดยการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรูเปิดลำไส้ทางหน้าท้องวัยผู้ใหญ่ ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล จำนวน 30 ราย วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาครวมของแบบประเมินทั้งฉบับ เท่ากับ 0.977 วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมของแบบประเมินทั้งฉบับ อยู่ระหว่าง 0.716-0.856</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/272091
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่มารักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2024-07-18T14:20:41+07:00
สายสมร ลีลดาภัทรกุล
psaisa@kku.ac.th
กาญจนศรี สิงห์ภู่
psaisa@kku.ac.th
ภาวินี สายบุ่งคล้า
psaisa@kku.ac.th
สมศักดิ์ เทียมเก่า
somtia@kku.ac.th
<p>การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาที่มารับการรักษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่มารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เข้ารักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ทุกราย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559-31 มกราคม 2560 จำนวนทั้งหมด 188 คน</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและแบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการมารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทดสอบแบบสัมภาษณ์กับผู้ป่วย จำนวน 30 รายก่อนการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ multiple logistic regression analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 65.4 มารับการรักษาตามเกณฑ์ (≤270 นาที) ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาที่มารับการรักษาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการเดินทางจากสถานที่ เกิดอาการถึงโรงพยาบาล ≤60 นาที (OR<sub>adj </sub>3.31,95% CI=1.47-7.48) ระยะห่างจากสถานที่เกิดอาการถึงโรงพยาบาล ≤60 กิโลเมตร (OR<sub>adj </sub>2.35,95% CI=1.04-5.28)</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/272969
ศึกษาเปรียบเทียบผลการคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินแบบดั้งเดิม และการคัดแยกด้วยการใช้แอปพลิเคชัน
2024-09-24T22:29:08+07:00
สุนทราพร วันสุพงศ์
sumasum@kku.ac.th
สุมนา สัมฤทธิ์รินทร์
sumasum@kku.ac.th
ฉนันทา ภาเคน
chananta@kku.ac.th
พงษ์ลัดดา ปาระลี
pongpar@kku.ac.th
ศิรินันท์ วรรณจันทร์
pukpik_b@hotmail.com
ธนัท ทั้งไพศาล
sumasum@kku.ac.th
<p>บทนำ การคัดแยกอย่างถูกวิธีและรวดเร็วในห้องฉุกเฉินส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย การคัดแยกด้วยแอปพลิเคชันจะช่วยให้พยาบาลสามารถจัดการข้อมูล ประมวลผลและตัดสินระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้ถูกต้องแม่นยำ ลดความผิดพลาดในการทำงาน</p> <p>วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินแบบดั้งเดิมและการคัดแยกด้วยการใช้แอปพลิเคชัน และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการคัดแยกด้วยการใช้แอปพลิเคชัน</p> <p>วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งกลุ่มตัวอย่างพยาบาลเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 738 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 24 มกราคม ถึงวันที่ 21 เมษายน 2567</p> <p>เครื่องมือที่ใช้วิจัย เกณฑ์การคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินแบบดั้งเดิมและเกณฑ์การคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยการใช้แอปพลิเคชัน</p> <p>วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและความพึงพอใจของพยาบาล ใช้สถิติเชิงบรรยาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลของความถูกต้องในการคัดแยก ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินระหว่างกลุ่มที่คัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแบบดั้งเดิมกับกลุ่มที่คัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยการใช้แอปพลิเคชัน ใช้สถิติ chi-square</p> <p>ผลการวิจัย ผลการคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยการใช้แอปพลิเคชัน มีความถูกต้อง 76.83% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการดั้งเดิมมีความถูกต้อง 67.61% ซึ่งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .68</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/272096
สายใยครอบครัวที่ตัดไม่ขาด: การรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านในบริบทสังคมอีสาน ด้วยวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง
2024-07-02T15:05:47+07:00
อรวรรณ ดวงมังกร
aurawan@kkumail.com
ดารุณี จงอุดมการณ์
darjon@kku.ac.th
ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์
ladpan@kku.ac.th
ประมวล พิมพ์เสน
ladpan@kku.ac.th
<p>เป็นที่ตระหนักว่าทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ส่งผลให้มีผู้ป่วยเรื้อรังทุพพลภาพและติดเตียงเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์นี้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อครอบครัวที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ทำให้ต้องอุทิศตนแบกรับภาระในการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน แม้มีความพยายามสนับสนุนจากหน่วยงานระบบบริการสุขภาพในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลมาระดับหนึ่ง แต่ยังต้องปรับข้อมูลนำเข้าเป็นระยะและให้มีความเฉพาะกลุ่ม รวมถึงสังคมยังขาดข้อมูลเชิงลึกถึงการรับรู้ คุณค่าการดูแลผู้ป่วยในครอบครัวของผู้ดูแล ในบริบทความเชื่อในสังคมอีสานซึ่งเป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายและการออกแบบการดูแลที่สอดคล้องกับผู้รับบริการ </p> <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความคิด ความเชื่อ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามบริบท สังคมอีสาน เพื่อเติมเต็มช่องว่างของความรู้ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง โดยศึกษาบริบทและประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 7 คน ผู้ดูแลในครอบครัวสำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 10 คน บุคลากรผู้ให้บริการด้านสุขภาพระดับตำบล 14 คน และผู้นำชุมชน 8 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 39 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม บันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์แก่นความคิด ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม 2566 </p> <p>ผลการวิจัย พบแก่นความคิด 3 ประเด็น คือ การให้ความหมายของการดูแล การรับมือต่อปัญหาในการดูแล และการหาแหล่งประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาที่เผชิญ ได้แก่ ประเด็นที่ (1) การให้ความหมายของการดูแล แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1.1) เป็นบทบาทหน้าที่ของครอบครัว 1.2) เป็นสายสัมพันธ์หรือสายแนนของครอบครัวที่ทิ้งไม่ได้ตัดไม่ขาด 1.3) เป็นความสงสาร (เหลือโตน) และ 1.4) เป็นการทำบุญ ส่วนประเด็นที่ (2) การรับมือต่อปัญหาในฐานะผู้ดูแล ผู้ดูแลรับมือต่อปัญหาในการดูแล 3 วิธี คือ 2.1) “ทำใจ” คือ การยอมรับสถานการณ์ของตนเองและไม่คิดมากเกินไป 2.2) “คงความหวัง” และ 2.3) “สร้างความสมดุล” และประเด็นที่ (3) การหาแหล่งประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาที่เผชิญ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 3.1) พึ่งตนเอง 3.2) แสวงหาแหล่งช่วยเหลือ</p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึง การรับรู้ของผู้ดูแลในบริบทสังคมอีสานที่เป็นการรับรู้และให้คุณค่าเชิงบวก รวมถึงมีความเหนียวแน่นกลมเกลียวของความสัมพันธ์ในครอบครัวอีสาน ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลนำเข้าสู่การออกแบบปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการดูแลด้วยการรับรู้เชิงบวกของผู้ดูแลในบริบทสังคมอื่น ๆ ให้เกิดความสมดุลและความผาสุกทางจิตใจ แก่ผู้ดูแลในครอบครัวต่อไป</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/274768
ความทุกข์ทางจิตใจของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตามการรับรู้ ของผู้ป่วยและผู้ดูแล: การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา
2024-10-24T13:54:42+07:00
ขวัญสุดา บุญทศ
kwaboo@kku.ac.th
สมสกุล นีละสมิต
somsne@kku.ac.th
มนฤดี มโนรัตน์
monrka@kku.ac.th
อรวรรณ ดวงมังกร
aurawan@kkumail.com
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายมุมมองต่อความทุกข์ทางจิตใจของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตามการรับรู้ของผู้รอดชีวิตและผู้ดูแล เป็นการศึกษาในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทใน 2 ตำบลในจังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 9 คน และผู้ดูแล 21 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิธีวิจัยปรากฏการณ์วิทยาเฮอร์เมนนิวติกซ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า มุมมองต่อความทุกข์ทางจิตใจของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 4 แก่นสาระหลัก ได้แก่ 1) ทุกข์เพราะมีข้อจำกัดของร่างกาย 2) ทุกข์เพราะขาดคนเยี่ยมเยียนช่วยเหลือ 3) ทุกข์เพราะขาดรายได้และมีหนี้สินจากการเจ็บป่วย และ 4) ทุกข์เพราะรู้สึกไร้ประโยชน์เป็นภาระต่อครอบครัว</p> <p>ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ไม่เพียงแต่การดูแลด้านร่างกาย แต่ยังต้องคำนึงถึงการสนับสนุนทางสังคม การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และการเสริมสร้างความรู้สึกว่าผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองยังมีคุณค่าในครอบครัวและสังคม การนำความเข้าใจเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ในแนวทางการดูแลที่จะช่วยลดความทุกข์ทางจิตใจของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ