Mahidol R2R e-Journal https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r Mahidol R2R e-Jornal Mahidol University th-TH Mahidol R2R e-Journal 2392-5515 <p><img src="/public/site/images/modmur2r/GO-01.jpg"></p> เส้นทางการบริการการแพทย์วิถีใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/260962 <p> กว่าสามทศวรรษที่ประเทศไทยนำแนวคิดการบริการแพทย์ทางไกลมาใช้ จนปัจจุบันเกิดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่าบริการการแพทย์วิถีใหม่ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษารูปแบบของระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล และเพื่อติดตาม ผลการให้บริการการแพทย์วิถีใหม่ รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงปริมาณ <br />ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัลประกอบด้วย 1) ระบบนิเวศการดูแลสุขภาพ 2) เครือข่ายด้านดิจิทัลเพื่อการดูแลรักษาทางการแพทย์ และ 3) การจัดสิทธิประโยชน์ด้านบริการการแพทย์วิถีใหม่ ซึ่งระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัลทำให้เกิดบริการการแพทย์ทางไกลเป็นพรมแดนใหม่สำหรับบริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ขยายศักยภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แบบสหสาขา สำหรับผลการให้บริการการแพทย์วิถีใหม่ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2564 ได้แก่ การบริการแพทย์ทางไกล การส่งยาทางไปรษณีย์และร้านยา การส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล เป็นต้น พบว่า ปีงบประมาณ 2564 มีผู้ป่วยจำนวน 49,195 คน รับบริการ 77,431 ครั้ง งบประมาณ 2.32 ล้านบาท และ 5 อันดับโรคที่เข้ามารักษาสูงสุดคือ Essential (Primary) Hypertension, Non-insulin-dependent diabetes mellitus; without complication, Childhood autism, Disturbance of activity and attention และ Paranoid schizophrenia; Continuous ส่วนการให้บริการส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล มีผู้ป่วยจำนวน 23,161 คน รับบริการ 28,057 ครั้ง งบประมาณที่ใช้ 2.24 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยจำนวน 43,615 คน รับบริการ 106,059 ครั้ง งบประมาณ 3.18 ล้านบาท และ 5 อันดับโรคที่เข้ามารักษาสูงสุดคือ Essential (Primary) Hypertension, Non-insulin-dependent diabetes mellitus; without complication, Paranoid schizophrenia; Continuous, Paranoid schizophrenia; Episodic remittent และ Childhood autism ส่วนการให้บริการส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล มีผู้ป่วยจำนวน 40,993 คน รับบริการ 60,786 ครั้ง งบประมาณที่ใช้ 4.86 ล้านบาท <br /> สรุปว่าเส้นทางการบริการการแพทย์วิถีใหม่ของประเทศไทยได้เริ่มขึ้นแล้ว การวางรากฐานโครงสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมกำกับผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีคุณภาพ และแม่นยำถูกต้อง เป็นเรื่องท้าทายต่อระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล</p> ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล ศิริวรรณ วงศ์ประกรณ์กุล Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 37 51 10.14456/jmu.2024.4 ผลของการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/254970 <p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับบริการฟอกเลือดที่งานไตเทียม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน จำนวน 26 ราย โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ 2. ข้อมูลคุณภาพชีวิต 3. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลแบบประคับประคอง และ 4. ความพึงพอใจของญาติต่อการดูแลแบบประคับประคอง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ การทดสอบ t-test, ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)<br /> ผลการศึกษาพบว่า การประเมินระดับคุณภาพชีวิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการดูแลแบบประคับประคองหลังการเสริมโปรแกรม การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในภาพรวมและรายข้อมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองส่งผลต่ออาการทางร่างกายของผู้ป่วย โดยพบว่าผู้ป่วยมีความจำที่ดีขึ้นและเปิดใจยอมรับความเจ็บป่วยได้มากขึ้น ไม่มีอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ ผลจากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการยังพบว่าผู้ป่วยมีระดับอัลบูมินในเลือดดีขึ้นร่วมกับระดับฟอสฟอรัสในเลือดอยู่ในเกณฑ์มากขึ้น ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นมีการควบคุมอาหารและรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อภาวะโรคไตได้ดีขึ้น ผลจากการศึกษายังพบว่าผู้ป่วยและญาติมีทัศนคติเชิงบวกและเข้าใจในตัวโรค ตลอดจนมีการเตรียมความพร้อมในระยะสุดท้ายของชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยประเมินจากผู้ป่วยทุกรายให้การยินยอมในการเตรียมพินัยกรรมชีวิตในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะ หลังจากการเข้าร่วมการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง</p> รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม สุพัตรา ยอดปัญญา วารินทร์ กลิ่นนาค เดชา ชุมภูอินทร์ Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 52 65 10.14456/jmu.2024.5 การศึกษาเปรียบเทียบ Interferon gamma (IFN-γ) ด้วยเครื่องอัตโนมัติ LIAISON® XL (CLIA) กับวิธีมาตรฐาน Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/255435 <p> ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคในระยะแฝงในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการตรวจวัดระดับ Interferon-Gamma (IFN-γ) จากหลักการ IFN-γ releasing assay (IGRA) โดยใช้ชุดทดสอบ QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) ซึ่งเป็นการทดสอบด้วยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) ที่ได้รับการยอมรับจาก FDA หากแต่ชุดทดสอบนี้มีหลายกระบวนการในการทำการทดสอบและใช้ระยะเวลานาน ห้องปฏิบัติการจึงได้นำเทคนิคใหม่สำหรับตรวจวัดระดับ IFN-γ คือการทดสอบด้วยวิธี Chemiluminescent Immuno Assay (CLIA) โดยใช้เครื่องอัตโนมัติ LIAISON® XL analyzers เพื่อนำมาใช้ทดแทน ลดภาระงานและเพิ่มความรวดเร็วในการรายงานผล วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ของค่า IFN-γ ในกลุ่มตัวอย่าง 106 ราย</p> <p> ผลการศึกษาความสอดคล้องของวิธี QFT-Plus (ELISA) เมื่อเทียบกับวิธี LIAISON® XL analyzers (CLIA) พบว่า ผลบวกมีความสอดคล้องร้อยละ 81.8 (9/11) ผลลบมีความสอดคล้องร้อยละ 95.5 (86/90) และผล indeterminate มีความสอดคล้องร้อยละ 100 (5/5) ผลรวมความสอดคล้องของทั้งสองวิธีอยู่ที่ร้อยละ 94.34 มีค่า Kappa Agreement เท่ากับ 0.799 โดยให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน 6 ราย จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ระดับ IFN-γ เมื่อตรวจวัดด้วย LIAISON® XL analyzers (CLIA) มีค่าความสอดคล้องกับวิธี QFT-Plus (ELISA) ค่าความสัมพันธ์ของการทดสอบ QFT-Plus (ELISA) ไม่ว่าจาก แอนติเจน TB1 หรือ TB2 มีความสัมพันธ์กับการทดสอบ LIAISON® XL analyzers (CLIA) เท่ากันแสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันคือ 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ</p> <p> ดังนั้นเพื่อช่วยลดภาระงานและเพิ่มความรวดเร็วในการรายงานผล LIAISON® XL analyzers (CLIA) จึงเป็นทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ทดแทนการทดสอบเดิมและใช้ในการตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงได้รวดเร็ว</p> อรชุมา ล่อใจ มงคล คุณากร ชวชล เศรษฐอุดม เมวดี ปรีชา Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 66 77 10.14456/jmu.2024.6 การศึกษาความผิดแผกของยีน Thiopurine methyltransferase (TPMT) จากประสบการณ์การให้บริการทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศิริราช 18 ปี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/256646 <p> Thiopurine S-methyltransferase (TPMT) เป็นเอนไซม์ย่อยสลายยากลุ่ม thiopurine ได้แก่ 6-mercaptopurine (6-MP), 6-thioguanine (6-TG) ซึ่งเป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีความหลากหลายของ TPMT ทำให้ระดับเอนไซม์ TPMT ลดลง ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาขนาดมาตรฐานของยากลุ่มนี้ทำให้เกิดพิษกดการทำงานของไขกระดูก<br /> ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยีเปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์ Thiopurine S-methyltransferase (TPMT) variant จำนวน 5 ชนิดด้วยเทคนิค Allele-specific polymerase chain reaction (AS-PCR) ในการตรวจวิเคราะห์ TPMT*2 และเทคนิค PCR-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) ในการตรวจวิเคราะห์ TPMT*3A, *3B, *3C และ *6 จากการให้บริการ 18 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547–2564 มีตัวอย่างเลือดคนไทยที่ส่งตรวจวิเคราะห์ TPMT variant ทั้งหมด 1,087 ตัวอย่าง จากผลการตรวจวิเคราะห์พบ genotype 3 แบบ คือ TPMT*1/*1, TPMT*3A/*1 และ TPMT*3C/*1 ที่ร้อยละ 93.84, 0.09 และ 6.07 ตามลำดับ ซึ่งพบ variant เพียง 2 ชนิด คือ TPMT*3A และ *3C เมื่อนับจำนวน allele ทั้งหมดพบชนิดของ allele ที่ร้อยละ 0.05 และ 3.04 ตามลำดับเมื่อเทียบกับ allele ปกติ (TPMT*1) ที่ร้อยละ 96.91 <br /> จากการศึกษาพบว่าการตรวจวิเคราะห์ยีน TPMT*3C พบมากที่สุดในประชากรไทยและสูงกว่าในประชากรทั่วไปในแถบเอเชีย ซึ่งการที่แพทย์ทราบข้อมูลความผิดแผกของยีน TPMT จึงเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยทำให้แพทย์สามารถปรับลดขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดและประสบความสำเร็จในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น</p> กชปิญชร จันทร์สิงห์ ปรียนันท์ ศิระประภาภัสส์ เจษฎา บัวบุญนำ Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 78 90 10.14456/jmu.2024.7 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/261162 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการที่พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการตามแนวทางของแทม (Technology acceptance model : TAM) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีตามแนวทางของแทม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการ ประกอบด้วย โครงการอบรมระยะสั้น การเป็นวิทยากรและการบรรยายพิเศษ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่น ๆ 2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการมีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน (S-CVI=1.00) และ 3) การยอมรับเทคโนโลยีตามทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี ของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em>=4.40, <em>SD</em>=.62)</p> วิทวัส เพ็ญภู่ พีร วงศ์อุปราช Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 91 103 10.14456/jmu.2024.8 การศึกษาผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ในสถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/258081 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาการเรียนออนไลน์ที่ส่งผลประสิทธิผลการศึกษาของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง นิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวนนิสิตทั้งหมด 316 คน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล <br /> ผลการวิจัยสามารถสรุปผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิต ได้ดังนี้ 1) ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับมาก 2) ด้านผลการเรียนในช่วงการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับมาก 3) ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 4) ด้านเนื้อหาบทเรียนในการเรียนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 5) ด้านการจัดกิจกรรมออนไลน์ของนิสิต (อบรมและสัมมนา) พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 6) การเรียนออนไลน์ที่ส่งผลประสิทธิผลการศึกษา พบว่า ระดับผลการเรียนแต่ละภาคการศึกษาของนิสิต จำนวน 51.2% มีผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง</p> วราพงษ์ คล่องแคล่ว สัณห์ชัย หยีวิยม นครินทร์ ชัยแก้ว Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 104 116 10.14456/jmu.2024.9 การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/261681 <p> การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาที่มีต่อระบบ<br />การเบิก-จ่ายพัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาที่มีต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ 2) เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการ เบิก-จ่ายพัสดุ ของคณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุในระดับมาก (µ = 3.84, <img title="\sigma" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\sigma" /> = 0.89) 2) บุคลากรมีระดับความพึงพอใจด้านบุคลากร (เจ้าหน้าที่พัสดุ) ในระดับมาก (µ = 3.98, <img title="\sigma" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\sigma" /> = 0.95) ส่วนปัจจัยที่บุคลากรต้องการให้พัฒนาหรือส่งเสริมให้ดีขึ้น คือ สถานที่ในการจัดเก็บวัสดุสำนักงานและสถานที่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรควรอยู่ในสถานที่เดียวกัน อีกประการที่บุคลากรมีความต้องการให้งานพัสดุดำเนินการเพื่อสนับสนุนระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ คือ เจ้าหน้าที่พัสดุ ควรระบุระยะเวลาในการเบิก-จ่ายให้ชัดเจน รวมถึงควรใช้ระบบสารสนเทศมาใช้ในการเบิก-จ่าย</p> ดวงใจ ใจกล้า ปรีชา อ่วมนาค Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 117 131 10.14456/jmu.2024.10 องค์กรแห่งความสุขของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/260249 <p> การวิจัยเรื่อง องค์กรแห่งความสุขของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อวัดระดับความสุขในการทำงานและความผูกพันที่มีต่อองค์กรของบุคลากร รวมถึงความสุขในชีวิตและครอบครัวของบุคลากร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานภายในองค์กร</p> <p> มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทั้งหมด ที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาแบบบรรยายลักษณะตัวแปรต่างๆ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความสุขในการทำงานภายในองค์กรของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.68, S.D.=0.30) และผลการศึกษาความผูกพันที่มีต่อองค์กร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =3.83, S.D. =0.51)</p> พิชญา พึ่งทอง Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 132 146 10.14456/jmu.2024.11 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/259567 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กร และความผูกพันต่อองค์กร และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ .811 โดยภาพรวมนั้นชุดตัวแปรวัฒนธรรมองค์กรสามารถอธิบายร่วมกับชุดตัวแปรความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 69.90 และ 2) ชุดตัวแปรวัฒนธรรมองค์กรมีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |.562| - |.723| โดยมีวัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วมสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรแบบกลมกลืน วัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว และวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งเน้นพันธกิจ ตามลำดับ และชุดตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |.701| - |.744| โดยมีความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความต่อเนื่อง และความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน ตามลำดับ</p> <p> ดังนั้นองค์กรสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร</p> ศักดิ์ชัย จันทะแสง Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 147 161 10.14456/jmu.2024.12 การประยุกต์ใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/256507 <p> บทความวิชาการเรื่องการประยุกต์ใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19 มีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings สำหรับการเรียนการสอนของภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสืบค้นข้อมูลสำหรับนักวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำวิจัยในขั้นต่อไป และเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้สนใจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมาย ข้อดี ข้อจำกัด การใช้งาน และการประยุกต์ใช้ Zoom Cloud Meetings สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19</p> กมลวรรณ เกิดปัญญา Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 1 14 10.14456/jmu.2024.1 การสร้างบทคัดย่อแบบกราฟิกสำหรับงานวิจัยตีพิมพ์: ศิลปะแห่งวิทยาการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/254746 <p> บทคัดย่อแบบกราฟิก (Graphical Abstract หรือ Visual Abstract) เป็นการนำเสนอเนื้อหาแนวคิดทางการวิจัย ในแบบรูปภาพหรือแผนภาพเพียงภาพเดียวเพื่อสรุปผลลัพธ์ที่สำคัญของงานวิจัยนั้น ๆ บทคัดย่อแบบกราฟิกมีหน้าที่ดึงดูดความสนใจและดึงดูดผู้เข้าชมมายังงานวิจัยของเรา ท่ามกลางกระแสการแข่งขันในแวดวงวิชาการนั้น การได้รับความสนใจจากผู้อ่านและกลุ่มผู้ทบทวน (peer-reviewer) ก่อนผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญ บทคัดย่อแบบกราฟิกสามารถส่งเสริมให้งานวิจัยมีความโดดเด่นในโซเชียลมีเดียได้ ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเลขการอ้างอิงโดยรวมของงานวิจัยและส่งผลถึงดัชนีอัลเมตริกซ์ (Altmetrics) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน นักวิจัยอาจต้องใช้เวลาเพิ่มเติมในการจัดทำบทคัดย่อแบบกราฟิก หรืออาจต้องพึ่งพาผู้ช่วยเพิ่มขึ้น แต่บทคัดย่อแบบกราฟิก ถือเป็นการสร้างคุณค่าทางการสื่อสารเชิงวิชาการในสมัยใหม่ซึ่งมีค่ากับวงการวิชาการและสำหรับนักวิจัยเอง ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการนำพาความรู้สู่สังคม</p> โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 15 24 10.14456/jmu.2024.2 แนวทางการจัดทำงบประมาณและการจัดประเภทรายการค่าใช้จ่ายในโครงการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/256382 <p> มหาวิทยาลัยมหิดลมีการให้บริการรับจ้างวิจัย โดยการศึกษาวิจัยทางคลินิกเป็นหนึ่งในบริการรับจ้างวิจัยหลักของมหาวิทยาลัยที่มีการให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก ซึ่งก่อนการดำเนินโครงการวิจัยทางคลินิกต้องพิจารณาการจัดทำสัญญาและงบประมาณโครงการวิจัย โดยการพิจารณาร่วมกันระหว่างแหล่งทุนและมหาวิทยาลัย/ส่วนงาน/โครงการวิจัย ด้วยโครงการวิจัยทางคลินิก เป็นโครงการวิจัยทางการแพทย์ที่มีกระบวนการดำเนินการหลายขั้นตอน และมีค่าใช้จ่ายที่อาจคาดไม่ถึงเกิดขึ้น ดังนั้น การคำนวณงบประมาณจึงต้องรอบคอบและครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยงบประมาณโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางตรง ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อโครงการวิจัยดำเนินการครบถ้วนตามงวดงานการจ่ายเงินของสัญญาการให้บริการกับแหล่งทุน ทางแหล่งทุนจะโอนเงินเข้ามหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น โครงการวิจัยจึงขออนุมัติการเบิกจ่ายเงินจากมหาวิทยาลัยมหิดลตามที่ระบุในสัญญาฯ และเป็นไปตามข้อบังคับและ/หรือประกาศที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเจ้าหน้าที่ส่วนงานที่หัวหน้าโครงการวิจัยสังกัดและมหาวิทยาลัยมหิดลจะตรวจสอบและดำเนินการอนุมัติการจ่ายเงินให้โครงการวิจัย เพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีการตรวจสอบ ซึ่งการขออนุมัติเบิกจ่าย โครงการวิจัยต้องแบ่งประเภทรายจ่ายตามข้อบังคับและประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ หมวดค่าจ้าง/ค่าตอบแทน หมวดงบดำเนินงานโครงการวิจัย หมวดงบลงทุน และหมวดค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบัน โดยการดำเนินการจัดทำงบประมาณและการขออนุมัติเบิกจ่าย ผู้จัดทำพบว่า งบประมาณโครงการวิจัยบางครั้งประมาณการไว้ไม่ครอบคลุมกับกระบวนการดำเนินการวิจัยทั้งหมด และการขออนุมัติเบิกจ่ายพบความผิดพลาดในการระบุค่าใช้จ่ายผิดประเภทหมวดรายจ่าย <br /> ดังนั้น ผู้จัดทำจึงจัดทำบทความนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางการจัดทำงบประมาณโครงการวิจัยทางคลินิก โดยให้ข้อมูลครอบคลุมในทุกค่าใช้จ่าย และให้ข้อมูลการจัดประเภทรายการค่าใช้จ่ายโครงการวิจัยทางคลินิก ตามประเภทหมวดรายจ่ายอย่างถูกต้อง</p> ชนินาถ สุริยะลังกา ศิราวัลย์ อัศวเมฆิน Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 25 36 10.14456/jmu.2024.3