TY - JOUR AU - คำเครือ , ศิริโสภา AU - ศรีสุวรรณ , ทัศนีย์ AU - แก้วบุญเรือง , รุณราวรรณ์ PY - 2020/07/20 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน JF - วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา JA - LannaHealth VL - 8 IS - 1 SE - บทนิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/244139 SP - 46-57 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูนต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 10 คน 2) กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 798 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์มารดาตกเลือดหลังคลอด แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และแบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเมิน แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้</p><ol><li class="show">แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ประกอบด้วยการดูแล 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนคลอด ซักประวัติ ประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เจาะ CBC และนำ Partograph มาใช้ในการดูแลมารดาคลอด 2) ระยะคลอด สวนปัสสาวะ ติดตามสัญญาณชีพ ตัดฝีเย็บเท่าที่จำเป็น ช่วยคลอดในระยะที่ 3 ของการคลอดทำ Active management of the third stage of labor ใช้ถุงตวงเลือดประเมินการสูญเสียเลือด กรณีมารดาสูญเสียเลือดถึงระดับ 300 มิลลิลิตร ให้เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยใช้ 4Tsและ 3) ระยะหลังคลอด</li></ol><p>&nbsp;</p><p>ให้การดูแลหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกในห้องคลอด การนวดคลึงมดลูก การกระตุ้นทารกดูดนมมารดา และการดูแลก่อนย้ายไปหอผู้ป่วยสูตินรีเวช</p><ol start="2"><li class="show">ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก พบว่า อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดลดลงจากร้อยละ 3.02 ในปี 2558 เป็น 2.62 ในปี 2559 ไม่พบภาวะช็อกจากภาวะตกเลือดหลังคลอด มารดาถูกตัดมดลูกจากการเสียเลือด และมารดาตายจากภาวะตกเลือดหลังคลอด ในด้านการใช้ แนวปฏิบัติ พบว่า โดยรวมพยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยในระดับมากต่อการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกมาปฏิบัติในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน</li></ol><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก จึงเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลใช้เป็นแนวทางในการดูแลมารดาคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ไม่ให้เกิดภาวะ ตกเลือดหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้</p><p>&nbsp;</p> ER -