TY - JOUR AU - เชาว์ศิลป์ , ภคมน PY - 2020/07/04 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ JF - วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา JA - LannaHealth VL - 5 IS - 1 SE - บทนิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/243780 SP - 11-20 AB - <p>ความเป็นมา: การลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิตเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ทารกที่มีน้ำหนักลดมากเกินไป (มากกว่าร้อยละ7) แสดงว่ามารดาและทารกอาจประสบปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจทำให้มารดาขาดความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเป็นสาเหตุให้มารดาตัดสินใจให้ทารกหย่านมแม่เร็วเกินไปได้</p><p>วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดและปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ได้รับนมแม่เป็นหลักในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่</p><p>วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของทารกแรกเกิดทุกคนที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37สัปดาห์ขึ้นไปและมีน้ำหนักตั้งแต่ 2,500 กรัมที่คลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม2557 ถึง 31 กรกฎาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;0.05</p><p>ผลการศึกษา : มีทารกที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษารวมทั้งสิ้น 331 ราย เป็นทารกที่มีน้ำหนักลดสูงสุดมากกว่าร้อยละ 7 จำนวน 179 ราย (ร้อยล<strong>ะ</strong> 54.1) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกในกลุ่มที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกเกิดพบว่า การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง อายุมารดามากกว่า 30 ปีการมีภาวะลิ้นติดและการเกิด</p><p>ภาวะตัวเหลืองขณะอยู่ โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ในขณะที่ LATCH score ในวันที่ทารกน้ำหนักลดสูงสุดและการได้รับสารน้ำเสริมนอกเหนือจากนมแม่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกในกลุ่มที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7</p><p>สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า มีความชุกของทารกที่มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 7 ในช่วงที่ทำการศึกษาค่อนข้างสูง&nbsp;&nbsp; โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่าร้อยละ 7 ได้แก่ การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง การมีภาวะลิ้นติด และการเกิดภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่ต้องนำไปทบทวนเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักลดมากเกินไป ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุมารดา (มากกว่า 30 ปี) อาจต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดต่อไป</p> ER -