TY - JOUR AU - แสงสว่าง, สุรพันธ์ AU - วโรภาษ, อัจฉรา AU - ก้อนแก้ว, สุทธิลักษณ์ AU - จารุเลิศพงศ์, รัชนีวรรณ PY - 2020/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม กับภาวะโลหิตจางและการฝากครรภ์ ที่ครอบครัวมีส่วนร่วม จากสถิติคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 JF - วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา JA - LannaHealth VL - 5 IS - 1 SE - บทนิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/243675 SP - 1-10 AB - <p>โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวตลอดกระบวนการฝากครรภ์ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาแบบคู่ โรงเรียนพ่อแม่ การฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอด ตามแนวทางของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (Low Birth Weight, LBW) เป็นตัวชี้วัดหนึ่งตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว โดยในปี พ.ศ. 2554-2556 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่มี LBW ร้อยละ 6.8-6.9 แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมาย LBW ไม่เกินร้อยละ 7 ของการคลอดมีชีวิต โลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่สำคัญในสตรีมีครรภ์และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม</p><p>จุดประสงค์<strong>: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของครอบครัวในกระบวนการฝากครรภ์ โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จากสถิติคลอดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556</p><p>วิธีการวิจัย<strong>: </strong>การศึกษาวิจัยข้อมูลย้อนหลังจากสถิติคลอดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในปีงบประมาณ &nbsp;&nbsp;&nbsp;พ.ศ. 2556 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556) มีการเกิดมีชีวิตทั้งหมด 1,557 ราย(รวมการตั้งครรภ์แฝด 7 คู่ มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 8 ราย) ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ คือ การมีส่วน</p><p>&nbsp;</p><p>ร่วมของครอบครัวในโครงการฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอดขณะฝากครรภ์ ความเข้มข้นของเลือดจากการเจาะเลือดครั้งแรกเมื่อมาฝากครรภ์และจากการเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์&nbsp; 32 สัปดาห์ และการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม</p><p>ผลการวิจัย<strong>: </strong>มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 106 ราย จากการเกิดมีชีวิตทั้งหมด 1,557 ราย คิดเป็นร้อยละ 6<strong>.</strong>81, สตรีมีครรภ์ที่ครอบครัวมีส่วนร่วมในโครงการฯขณะฝากครรภ์ทั้งหมดจำนวน 338 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.55, สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกทั้งหมดจำนวน 452 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.62, สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ทั้งหมดจำนวน 420 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.14, แต่สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเฉพาะเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์โดยที่เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกไม่มีโลหิตจาง มีจำนวน 196 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.57</p><p>สรุป<strong>: </strong>การมีส่วนร่วมของครอบครัวในโครงการฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอดขณะฝากครรภ์มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมที่ต่ำลง โลหิตจางเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมที่สูงขึ้น แต่โลหิตจางเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครอบ&nbsp;&nbsp; ครัวฯ กับโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลร่วมของทั้ง 2 ปัจจัยต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม</p><p>&nbsp;</p> ER -