TY - JOUR AU - ธนทรัพย์, วราภรณ์ PY - 2019/02/15 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนา “ระบบสารสนเทศเปรียบเทียบประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน” สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ JF - วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา JA - LannaHealth VL - 8 IS - 2 SE - บทนิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/172698 SP - 10-22 AB - <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (Chiang Mai Benchmark Information System : CMBIS) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยบริการ 2) ประเมินความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานภายในและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ประชากรที่ใช้ในการพัฒนาระบบ CMBIS กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 286 แห่ง 2) ประชากรที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจต่อระบบ CMBIS กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้ระบบ CMBIS จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ&nbsp; โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการศึกษาจากประชากรทั้งหมด (Census) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย&nbsp; 1) ระบบสาร CMBIS สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่&nbsp; 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ CMBIS โดยกำหนดเป็นมาตรวัดการประมาณค่าแบบลิเคิร์ต (Likert Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า ระบบ CMBIS แบ่งส่วนตามลักษณะผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเป็น 4 ส่วนคือ 1) ผู้ดูแลระบบ 2) ผู้รับผิดชอบฐานข้อมูล&nbsp; 3) ผู้รับผิดชอบข้อมูลตัวชี้วัด และ 4) ผู้บริหาร กระบวนการทำงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน 2) การจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน 3) การจัดการฐานข้อมูล 43 แฟ้ม 4) การจัดการข้อมูลตัวชี้วัด &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;5) การออกรายงาน ผลการสำรวจการดำเนินงานและความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ระบบ พบว่า (1) ด้านประโยชน์ของระบบต่อการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 3.67 ± 0.73 คะแนน (2) ด้านโครงสร้างและการออกแบบ มีค่าเฉลี่ย 3.53 ± 0.84 คะแนน (3) ด้านการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ย 3.46 ± 0.88 คะแนนและความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 3.79 ± 0.62 คะแนน สรุปภาพรวม 3 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีค่าเฉลี่ย 3.54&nbsp; ± 0.83 ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและสนองตอบได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน&nbsp; อย่างไรก็ตามในด้านการใช้งานระบบนั้นจะต้องมีการพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้ใช้งาน</p> ER -