@article{ฟองศรี_2020, title={การประเมินโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่}, volume={8}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/244257}, abstractNote={<p>การวิจัยได้มุ่งประเมินโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2560 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive studies) การประเมินได้ใช้รูปแบบ CIPP Model ได้แก่ บริบท (Context) มีการจัดทำโครงการเหมาะสมกับปัญหาของพื้นที่ ปัจจัยนำเข้า (Input) วิทยากร งบประมาณ เหมาะสม กระบวนการ (Process) การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิต (Product) ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน125 คนเพศชาย ร้อยละ 64.00 และเพศหญิงร้อยละ 36.00 กลุ่มอายุ 40-59 ปีมากที่สุดร้อยละ 56.80 อาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดร้อยละ 81.60 ระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 85.60 ไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพร้อยละ 88.80 มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกคน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้อยู่ในกลุ่มใดไม่ทราบทุกคน มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชทั้งไกลโฟเสตและพาราควาททุกคนความรู้ภาคทฤษฎีก่อนการประชุมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ55.20 ความรู้ภาคทฤษฎีหลังการประชุมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 67.20 และคะแนนเฉลี่ยความรู้ภาคทฤษฎีก่อนและหลังการประชุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = <0.01) การประชุมมีความครอบคลุมและจำนวนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย<br>กระบวนการ (Process)การอบรมเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และผลผลิต(Product) ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนจำนวน 134 คนเพศชาย ร้อยละ 56.72 และเพศหญิง ร้อยละ43.28 กลุ่มอายุ 9-19 ปีมากที่สุด ร้อยละ 29.85 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 66.67 อาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดร้อยละ 38.81ระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 82.84 ไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 90.30 มีการรับประทานปลาดิบ ร้อยละ 91.79 ลาบปลาดิบนิยมรับประทานมากที่สุด ร้อยละ 41.50 ปลาสร้อยเป็นปลาที่นิยมรับประทานแบบดิบๆ มากที่สุดร้อยละ 54.50 ความรู้ภาคทฤษฎีก่อนการอบรมอยู่ในระดับต่ำร้อยละ61.19ความรู้ภาคทฤษฎีหลังการอบรมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ63.43และคะแนนเฉลี่ยความรู้ภาคทฤษฎีก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = <0.01) ระดับความรู้ภาคทฤษฎีหลังการอบรมของกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.6744)การอบรมมีความครอบคลุมและจำนวนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย<br>ผลกระทบ (Impacts)ผลการเจาะเลือดปี พ.ศ.2561เปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2560พบว่าระดับปกติและระดับปลอดภัยมีแนวโน้มลดลง ระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยมีแนวโน้มสูงขึ้น การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพ อาจมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน สมควรที่จะต้องมีการปรับกระบวนการการดำเนินงานให้เหมาะสม<br>ผลการตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ ปี พ.ศ.2561 เปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2560 พบว่าอัตราการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แสดงว่าการอบรมเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ การตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับแล้วคืนข้อมูลให้ผู้รับการตรวจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาเกล็ดขาวแม่น้ำปิงปรุงสุก และการรณรงค์การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีนั้นมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน กิจกรรมนี้สมควรดำเนินการต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา}, author={ฟองศรี สุเทพ}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={23–33} }