@article{กฤษฎาธาร_2020, title={การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2557 – 2559}, volume={7}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/243936}, abstractNote={<p>เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดลำปาง</p> <p><strong>วิธีการ</strong></p> <p>การวิจัยแบบผสม (Mixed method) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปาง มาพัฒนารูปแบบการบริหารการเงินการคลัง และนำรูปแบบการบริหารการเงินการคลังที่พัฒนาไปใช้ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยประเมินประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งในจังหวัดลำปาง</p> <p>          คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 12 แห่ง และคณะกรรมการการเงินการคลังโรงพยาบาลละ     2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูลการเงิน และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลัง โดยทุกเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบความเที่ยงทั้งฉบับมีค่ามากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยตัวชี้วัดสภาพคล่องทางการเงินประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากร และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลังด้วยสถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p> </p> <p>          จากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ด้วย content analysis</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong></p> <p>ผลของการศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปาง ปี 2557 – 2558 ได้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการ โดยนำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้ในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปางทั้งหมดจำนวน 12 แห่ง ในปี 2559</p> <p>ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพพบว่าโรงพยาบาลชุมชนมีสภาพคล่องทางการเงินการคลังดีขึ้นจากปี 2558 โดยโรงพยาบาลชุมชนมีระดับภาวะวิกฤตทางการเงินลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 83.33 ส่วนผลการประเมินค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลังหลังใช้รูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05</p> <p><strong>สรุป</strong></p> <p>รูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารการคลังสุขภาพในพื้นที่อื่น โดยจะทำให้สถานบริการสามารถบริหารการคลังสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่เสถียรภาพทางการเงินการคลังที่ยั่งยืน</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา}, author={กฤษฎาธาร รัตนา}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={1–12} }