วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr <p><strong>วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</strong> เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข ชีวสถิติและประชากรศาสตร์ ระบาดวิทยา และโภชนาการ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ จำนวน 3 เดือนต่อฉบับ หรือ ปีละ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม, ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน, ฉบับที่ 3 กรกฏาคม-กันยายน และฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</p> คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น th-TH วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1906-1137 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายของอาหารที่บริโภคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/263484 <p>ความหลากหลายทางอาหารที่บริโภคของเด็กสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเพียงพอของสารอาหารที่เด็กได้รับ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายของอาหารที่บริโภค และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายของอาหารที่บริโภค ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ในเด็กกลุ่มตัวอย่างอายุ 2-5 ปีจำนวน 300 คน ประเมินความหลากหลายของอาหารที่บริโภคของเด็ก โดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมงของเด็ก แล้วนำมาคำนวณจำนวนกลุ่มอาหารที่บริโภคโดยแบ่งกลุ่มอาหารเป็น 9 กลุ่ม เก็บข้อมูลลักษณะบุคคลของเด็กและผู้เลี้ยงดูเด็ก ความรู้ของผู้เลี้ยงดูเด็กด้านการบริโภคอาหารของเด็ก พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กด้านอาหาร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็ก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความหลากหลายของอาหารที่บริโภคของเด็ก โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า เด็กกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 44.07±8.55 เดือน มีความหลากหลายของอาหารที่บริโภค (&gt;5 กลุ่มอาหารจากทั้งหมด 9 กลุ่ม) ร้อยละ 49.00 จำนวนกลุ่มอาหารที่บริโภคเฉลี่ย 5.62±0.84 เด็กที่บริโภคอาหารกลุ่มผักใบเขียวเข้ม และกลุ่มผักผลไม้อื่น ๆ ที่มีวิตามินเอสูง มีเพียง<br />ร้อยละ 11.0 และ 35.3 สำหรับกลุ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมีเด็กที่บริโภคร้อยละ 18.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายของอาหารที่บริโภคของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวมากกว่า 200 บาทต่อวัน (OR<sub>agj</sub>: 3.62, 95% CI: 1.39-9.43, <em>p</em> =0.008), ผู้เลี้ยงดูมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทำงาน/เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป) (OR<sub>agj</sub>: 2.31, 95% CI: 1.24-4.30, <em>p</em> = 0.008), กลุ่มเด็กที่พ่อแม่เป็นผู้เลี้ยงดู (OR<sub>agj</sub>: 1.78, 95% CI: 1.07-2.96, <em>p</em> = 0.024) ครัวเรือนที่การปรุงประกอบเองในอาหารมื้อเย็น OR<sub>agj</sub>: 1.74, 95% CI: 1.01-3.00, <em>p</em> = 0.046) สรุป เด็กอายุ 2-5 ปี เพียงครึ่งหนึ่งที่บริโภคอาหารที่มีความหลากหลาย และขาดการบริโภคอาหารกลุ่มที่มีวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณมาก ควรส่งเสริมผู้ปกครองหรือผู้ดูแลทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการจัดอาหารที่หลากหลายให้เด็กโดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร ครอบครัวที่มีปู่ย่าตายายเป็นผู้ดูแล หรือพ่อแม่เด็กที่เป็นเกษตรกรควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้ควรส่งเสริมการทำอาหารที่บ้านเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กได้รับอาหารที่หลากหลายและเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง</p> กัญญารัตน์ สร้อยมาลัย Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 1 19 ความสัมพันธ์ระหว่างโฆษณาแฝง อิทธิพลทางสังคม และระดับการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นไทย จังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/262882 <p>การดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นนับเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้พัฒนาการของสมองส่วนกระบวนการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการควบคุมตนเองชะลอตัว โดยตามธรรมชาติสมองส่วนนี้จะหยุดพัฒนาการเมื่ออายุ 25 ปี พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นเกิดจากพหุปัจจัยตามกรอบแนวคิดนิเวศสังคม ความเข้าใจความสัมพันธ์ของพหุปัจจัยกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น จะทำให้การออกแบบมาตรการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นไทยมีประสิทธิผลมากขึ้น การศึกษา community-based cross-sectional design นี้จัดทำขึ้นเพื่อวัดความชุกของการดื่ม และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล อิทธิพลทางสังคม และปัจจัยการตลาดและโฆษณาแฝงต่อระดับการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 540 คน จากการสุ่มเลือกด้วยวิธี stratified cluster probability proportional to size เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสังคมพฤติกรรมและการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นด้วยสถิติ multinomial logistic regression</p> <p>จากวัยรุ่น 540 คน (อัตราตอบรับ 100%) พบวัยรุ่นกลุ่มดื่มปัจจุบัน ร้อยละ 35.0 (95%CI: ร้อยละ 30.9 – 39.0) โดยความชุกของวัยรุ่นที่ดื่มในปัจจุบันในวัยรุ่นชายสูงกว่าวัยรุ่นหญิง (ร้อยละ 37.3 และ ร้อยละ 25.9 ตามลำดับ) อายุเริ่มดื่มครั้งแรกในวัยรุ่นชายน้อยกว่าวัยรุ่นหญิง (อายุ 13 ปี และ อายุ 14 ปี ตามลำดับ) การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับระดับการดื่มแบบเสี่ยงต่ำ (Adj OR = 2.28; 95%CI: 1.78-2.93) และการดื่มแบบเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย (Adj OR = 2.97; 95%CI: 2.07-4.26) และวัยรุ่นที่มีทัศนคติว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติมีความสัมพันธ์กับการดื่มแบบเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย (Adj OR = 3.04; 95%CI: 1.51-6.15)</p> <p>การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการตลาดโดยเฉพาะการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทัศนคติต่อการดื่มของวัยรุ่น มีอิทธิพลต่อระดับการดื่มสูงที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันตามแนวคิดพฤติกรรมผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อให้วัยรุ่นมีทัศนคติและมีทักษะในการตัดสินใจเพื่อปฏิเสธการดื่มได้อย่างเหมาะสมการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยบุคคลที่เป็นต้นแบบของวัยรุ่น ร่วมกับการเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปียังเป็นมาตรการจำเป็นสำหรับการลดอัตราการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นไทย</p> จุฑาทิพย์ ปรีการ มธุรส ทิพยมงคลกุล ศุภาพิชญ์ มณีสาคร โฟน โบร์แมนน์ ทรงพล ต่อนี Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 20 37 ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ นักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265613 <p> </p> <p>ปัจจุบันการใช้เวลาหน้าจอดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมที่อยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่อยู่ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 305 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ตอบเอง โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.8 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.7 สอบถามประกอบด้วย ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปกครองและเด็ก, พฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกแบบพหุ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 67.2 อุปกรณ์ที่ใช้เวลาหน้าจอส่วนใหญ่ คือ สมาร์ทโฟน ร้อยละ 70.8 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 70.8 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอและปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า ความสัมพันธ์ของบิดา มารดาต่อเด็ก (Adjusted OR = 2.67; 95% CI: 1.18-6.06, p = 0.019) ระดับการศึกษาของผู้ปกครองต่ำกว่าอนุปริญญาลงมา (Adjusted OR = 2.87; 95% CI: 1.43-5.77, p = 0.003) ลักษณะครอบครัวขยาย (Adjusted OR = 2.40; 95% CI: 1.21-4.76, p = 0.012) การที่ห้องนอนของเด็กมีโทรทัศน์ (Adjusted OR = 3.67; 95% CI: 1.33-10.11, p = 0.012) และระยะเวลาการดูหน้าจอของเด็ก &gt; 2 ชั่วโมง/วัน (Adjusted OR = 2.84; 95% CI: 1.64-4.93 ; p = &lt;0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงผลกระทบของพฤติกรรมการใช้เวลาหน้าจอ และการจัดสรรเวลาสำหรับการใช้เวลาหน้าจอที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน รวมถึงส่งเสริมเรื่องการจัดเตรียมอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์สำหรับเด็กวัยเรียน</p> ฐิตาพร บุญโย พรพิมล ชูพานิข Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 35 52 ภาวะเครียดและความวิตกกังวล จากเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265335 <p> </p> <p>การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของภาวะเครียดและความวิตกกังวล จากเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 758 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน google form โดยทำการเก็บข้อมูลระหว่างช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2566 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.58 มีอายุเฉลี่ย (SD) = 36.52 (8.57) ปี เป็นข้าราชการ ร้อยละ 72.56 มีลักษณะการปฏิบัติงานโดยตรงต่อเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 77.04 ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ร้อยละ 70.71 นอกจากนี้พบว่าบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุในครอบครัว ร้อยละ 77.44 และเคยกักตัวเนื่องจากมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 87.73 แลพพบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีภาวะเครียด ร้อยละ 26.52 และมีความวิตกกังวล ร้อยละ 55.94 โดยพบว่าบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีอาการเบื่อหน่าย เซ็ง บ่อยครั้ง ร้อยละ 25.20 และเป็นประจำ ร้อยละ 17.02 และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 51.98 จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการศึกษาถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเครียดและวิตกกังวล เพื่อทราบข้อมูลสำหรับการวางแผนแก้ไขปัญหาให้แก่บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลจากการปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น</p> ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ pratoomrat aotprapai Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 53 64 ปัจจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเลย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/263832 <p> </p> <p>จุลินทรีย์ในอากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอาจเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยของเด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract infection; RTI) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ (Aspergillosis) และโรคปอดบวม (Pneumonia) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 5 ศูนย์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ทำการเก็บข้อมูล โดยใช้เครื่อง Bio-Stage Impactor ในการเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ และแบบสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเลยมาตรฐาน สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear regression) สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple linear regression) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 95% CI และ P-value</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายใน (I) และภายนอกห้อง (O) เท่ากับ 17.44±16.01 cfu/m<sup>3 </sup>และ 48.43±24.74 cfu/m<sup>3</sup> ตามลำดับ สัดส่วนความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ภายในห้องต่อภายนอกห้อง ( I/O) เท่ากับ 0.37 สำหรับปัจจัยด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในห้อง คือ การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องระหว่าง 24-26 <sup>๐</sup>C ทำให้ความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอากาศเฉลี่ยภายในห้องลดลงถึง 11.08 cfu/m<sup>3</sup> (95% CI: 6.63 to 15.53, P-value &lt; 0.001) เช่นเดียวกับห้องมีพัดลมดูดอากาศทำงานเป็นปกติ ทำให้พบความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอากาศเฉลี่ยภายในห้องลดลงถึง 24.79 cfu/m<sup>3</sup> (95% CI: 13.84 to35.75, P-value &lt; 0.001) ส่วนห้องที่ไม่พบฝุ่นตามพื้นผิวภายในห้อง เช่น พื้น ผนัง โต๊ะ เก้าอี้ และบริเวณอื่นๆ ส่งผลให้ความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศเฉลี่ยลดลงถึง 14.57 cfu/m<sup>3</sup> (95% CI: 8.75 to 20.39, P-value &lt; 0.001) นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงตารางการบำรุงรักษาต่าง ๆ ภายในห้องสามารถลดความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอากาศเฉลี่ยภายในห้องถึง 28.38 cfu/m<sup>3</sup> (95% CI: 17.89 to 38.87, P-value &lt; 0.001) และการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศสม่ำเสมอ ทำให้ความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในอากาศเฉลี่ยภายในห้องลดลง 7.83 cfu/m<sup>3</sup> (95% CI: 2.02 to 13.65, P-value = 0.008)</p> <p>การศึกษาครั้งนี้เน้นถึงความสำคัญของปัจจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในการควบคุมความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยมาตรการด้านต่าง ๆ เช่น การรักษาอุณหภูมิภายในห้อง การทำงานของพัดลมดูดอากาศให้ปกติ การลดฝุ่นละออง การปฏิบัติงานตามตารางบำรุงรักษา และการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็จะสามารถลดจุลินทรีย์ในอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กได้</p> ปิยะพงษ์ ชุมศรี บุญเลี้ยง สุพิมพ์ มธุรส ชลามาตย์ อรทัย ปานเพชร ชลธิชา จินาพร ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 65 74 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ : การวิเคราะห์พหุระดับ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265179 <p>ฟันผุในเด็กส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ปัจจัยที่มีผลต่อฟันผุมีทั้งปัจจัยจากเด็กและโรงเรียน ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมีการวิเคราะห์พหุระดับเพื่อพิจารณาปัจจัยทั้งสองระดับมาก่อน การศึกษานี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และปัจจัยของโรงเรียนกับการมีฟันผุของเด็กนักเรียน การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาให้ตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 574 คน จาก 36 โรงเรียน ในเขตอำเภอหนองบัวแดง ตอบด้วยตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูที่ได้รับมอบหมาย โรงเรียนละ 1 คน ตอบปัจจัยด้านโรงเรียน ข้อมูลฟันผุได้จากบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ด้วยการถดถอยลอจิสติกแบบพหุระดับเพื่อประมาณค่าช่วงเชื่อมั่นของอัตราส่วนออดส์ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95</p> <p>ผลการศึกษา พบ นักเรียนหญิงฟันผุ 1.31 เท่า (95% CI: 0.91, 1.90) ของนักเรียนชาย นักเรียนที่แปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง ฟันผุ 0.80 เท่า (95% CI: 0.45, 1.41) ของนักเรียนที่ไม่แปรงฟันทุกวัน นักเรียนที่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับดี ฟันผุ 1.03 เท่า (95% CI: 0.54, 1.95) ของนักเรียนที่มีคะแนนในระดับไม่ดี โรงเรียนที่จัดสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการแปรงฟันของนักเรียนในระดับมาก นักเรียนฟันผุ 1.93 เท่า (95% CI: 0.64, 5.80) ของโรงเรียนที่ไม่จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแปรงฟัน โรงเรียนที่มีการตรวจสุขภาพช่องปากให้นักเรียนมากกว่า 1 ครั้ง นักเรียนฟันผุ 1.04 เท่า (95% CI: 0.77, 1.41) ของการตรวจ 1 ครั้ง โรงเรียนที่ขายอาหารซึ่งเอื้อต่อฟันผุ 5 ประเภท นักเรียนฟันผุ 1.10 เท่า (95% CI: 0.37, 3.26) ของโรงเรียนที่ไม่มีการขายอาหารซึ่งเอื้อต่อฟันผุ</p> <p>สรุป การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของนักเรียนและโรงเรียนกับการมีฟันผุทั้งนี้เพราะวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนไม่สามารถจำแนกการสัมผัสปัจจัยกับการไม่สัมผัสปัจจัยได้ นักเรียนมีการระบุคำตอบที่เหมือนกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจึงต้องหาแนวทางป้องกันการระบุคำตอบที่เหมือนกัน </p> ภัสราวดี ศรีสุข ศิริพร คำสะอาด นพรัตน์ ลาภส่งผล ประภัสรา ศิริกาญจน์ Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 75 86 การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/264724 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม รวมไปถึงเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรม โดยศึกษาในเขตเทศบาลตำบลสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ <strong>ระยะที่ </strong><strong>1</strong> การวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง 17 คน เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่และตัวแทนชุมชน <strong>ระยะที่ </strong><strong>2</strong> การดำเนินงานและ<strong>ระยะที่ </strong><strong>3</strong> การประเมินผล ขนาดตัวอย่าง 151 คน (คำนวณจาก 2960 คน) และกลุ่มตัวอย่าง 17 คนเดิมจากระยะที่ 1 <strong>เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา</strong> ระยะที่ 1 คือ แนวคำถามสนทนากลุ่มการวิเคราะห์สถานการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชน ระยะที่ 2 คือ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 มี 3 เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชน แนวคำถามการสนทนากลุ่มความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมและแบบสอบถามความเป็นไปได้หลังการใช้โปรแกรม <strong>การวิเคราะห์ข้อมูล</strong> ได้แก่ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired t-test ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุขึ้นตามผลการวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พบว่า ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และในระยะที่ 3 หลังการใช้โปรแกรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมของชุมชนก่อนและหลังมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย 23.60 คะแนน (95% CI: 21.10-26.09) และมีความเป็นไป ได้ในการนำไปใช้กับบริบทที่ใกล้เคียงกัน ข้อเสนอแนะควรมีการนำโปรแกรมไปใช้ในบริบทอื่นๆต่อไป</p> Yongyut Suila Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 87 103 รูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265790 <p>การศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) ศึกษาบริบทชุมชนในการดูแลสุขภาพด้วยสมุไพรพื้นบ้าน 2) สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน และ 3) สรุปและคืนข้อมูลรูปแบบการดูแลสุขภาพตำบลแก่งเลิงจาน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทพื้นที่ด้วยการ ประชุมกลุ่ม โดยกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการสร้างรูปแบบ โดยประชุมกลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน และระยะที่ 3 ระยะประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล ประมวลความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป</p> <p> ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพแต่การประชาสัมพันธ์ยังไม่มีระบบหรือช่องทางที่ชัดเจน ด้านงบประมาณ พบว่า ควรมีการวางแผนงานพัฒนาแปรรูปการใช้สมุนไพรให้เป็นระบบเกิดความยั่งยืน ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องสมุนไพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.9 (S.D. = 0.7) ร้อยละ 96.7 ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน พบว่า รูปแบบที่ได้ประกอบด้วยกิจกรรม อบรมให้ทบทวนองค์ความรู้การใช้สมุนไพร การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์และต่อยอดการจำหน่ายสินค้าในชุมชน อบรมให้ความรู้กฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติ<strong> </strong></p> <p> สรุป รูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจาก ภาครัฐ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล ควรสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนงบประมาณแก่ชุมชนด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรดำเนินดูแลสุขภาพและส่งเสริมให้ความรู้ในการใช้สมุนไพรอย่างเหมาะสม ภาคชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ต้องประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกิจกรรม โดยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร ซึ่งจะได้เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาแปรรูปสมุนไพร และภาคประชาชนควรตระหนักถึงประโยชน์ของสมุนไพร เพื่อนำมาดูแลสุขภาพซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคและจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได<strong>้</strong></p> Rutchanun Srisupak Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-03 2024-04-03 16 4 104 115 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/264751 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง และประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คัดเลือกพื้นที่สูงตามระดับความยากง่ายในการเข้าถึง โดยเลือกพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ปานกลาง และยากในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ทั้งหมด 11 ตำบล จากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการพัฒนารูปแบบ คือ บุคลากรสุขภาพ และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 31 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม การเข้าสำรวจพื้นที่จริงและระดมความคิดเห็น/แลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ของซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่รับบริการจากซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธี Naturalistic data processing </p> <p>ผลการวิจัย ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เปิดโอกาสให้ได้รับประสบการณ์ตรง ทบทวนความรู้และสะท้อนคิด รับรู้และตกผลึกความรู้ด้วยตนเอง และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติ กระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนดำเนินการภายใต้ระบบและกลไกการสนับสนุนดูแลของภาคีเครือข่าย และการใช้ประโยชน์จากปัจจัย 3 ประการที่มีอิทธิพลในการส่งเสริมให้กระบวนการพัฒนามีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ภาคีเครือข่าย การสื่อสารและความร่วมมือระหว่างกัน ภายหลังการนำร่องทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายข้อของการปฏิบัติงานของซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านสูงกว่าร้อยละ 80 และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอยู่ในระดับพอใจมาก (Mean 4.14, SD 0.86) ผลการวิจัยนี้อาจสะท้อนถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านความรู้และความสามารถในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง ซึ่งควรนำไปต่อยอดหรือขยายผลในพื้นที่สูงอื่นเพื่อยืนยันถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาต่อไป</p> วิมลรัตน์ บุญเสถียร ปราณี ทัดศรี วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 116 133 การตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นในจังหวัดแห่งหนึ่งภาคเหนือประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265764 <p>การตั้งครรภ์ซ้ำส่งผลกระทบต่อสุขภาพของวัยรุ่นหลายด้าน ยังไม่เคยมีการศึกษาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นโดยคำนึงถึงเวลาจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์มาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าโอกาสปลอดการตั้งครรภ์ซ้ำและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นในจังหวัดแห่งหนึ่งเขตภาคเหนือประเทศไทย เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบ วัยรุ่นคลอดบุตรมีชีพระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2562 จำนวน 3,610 คน จากนั้นติดตามวัยรุ่นกลุ่มนี้เพื่อประเมินการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยสิ้นสุดการติดตามในวันที่ 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณค่าโอกาสปลอดการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยวิธีของแคปลานและไมย์เออร์ และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยการถดถอยค็อกซ์ โดยผลการศึกษาพบ โอกาสปลอดตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นหลังคลอดบุตรมีชีพครรภ์แรกที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ปี เท่ากับ ร้อยละ 97.0 (95% CI : 96.4 ถึง 97.5), 93.2 (95% CI : 92.3 ถึง 93.9), 91.5 (95% CI : 90.6 ถึง 92.4), 90.6 (95% CI : 89.6 ถึง 91.6) และ 90.5 (95% CI : 82.0 ถึง 86.0) ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถาพภาพการศึกษา และ วิธีคุมกำเนิด แม้โอกาสปลอดตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการตั้งครรภ์ซ้ำซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะนำให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร</p> สุรชาติ กองสังข์ ศิริพร คำสะอาด สมจิตร เมืองพิล ประภัสรา ศิริกาญจน์ Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 134 144 คุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/263356 <p>ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่ดี โดยมีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่อาศัยอยู่ที่อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 364 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วยแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิตต์สเบิร์ก (PSQI) เก็บข้อมูลปัจจัยด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย ความเครียด และสภาพแวดล้อมของการนอน/กิจกรรมก่อนนอน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับคุณภาพการนอนหลับโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกพหุ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ศึกษามีอายุเฉลี่ย 68.35 ± 3.88 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 78 ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีร้อยละ 51.10 (95% CI: 45.95 - 56.22) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง ( (OR<sub>adj</sub>)=3.87 ; 95% CI 2.10 - 7.14, p &lt;0.001) ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี (OR<sub>adj</sub>=3.30; 95% CI 1.74-6.24, p&lt;0.001) การมีโรคประจำตัว (OR<sub>adj</sub>=1.92; 95% CI 1.16-3.19, p=0.011) การมีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไป (OR<sub>adj</sub>= 3.88; 95% CI 1.63-9.23, p=0.002) การบริโภคผักน้อยกว่า 4 ครั้ง/สัปดาห์ (OR<sub>adj</sub>=2.12; 95% CI1.16-3.87, p=0.014) <strong>สรุป</strong> ผู้สูงอายุที่ศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมคลายเครียด ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมที่เหมาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุเพศหญิง ที่มีโรคประจำตัว ควรให้คำแนะนำเป็นพิเศษ</p> อภิสิทธิ์ อ้วนวงษ์ Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4 145 158 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/269897 วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-21 2024-03-21 16 4