https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/issue/feed วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2024-11-06T15:20:01+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กวินทร์ ถิ่นคำรพ kavith@kku.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</strong> เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข ชีวสถิติและประชากรศาสตร์ ระบาดวิทยา และโภชนาการ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ จำนวน 3 เดือนต่อฉบับ หรือ ปีละ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม, ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน, ฉบับที่ 3 กรกฏาคม-กันยายน และฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/268795 ผลของการนวดเต้านมเพื่อการรักษาต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด: การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม 2024-02-12T09:49:36+07:00 เอื้อมพร สุ่มมาตย์ yogiueamporn@gmail.com <p>การนวดเต้านมเพื่อการรักษาเป็นหนึ่งในการแพทย์แผนไทยเพื่อช่วยในการกระตุ้นน้ำนมมารดาหลังคลอด การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดเต้านมต่อปริมาณน้ำนมของมารดาในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอดจำนวน 80 คน ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการนวดกระตุ้นเต้านมโดยแพทย์แผนไทย เป็นเวลา 30 นาที ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด กลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลและสุขศึกษาสำหรับหญิงหลังคลอดตามปกติ ผลลัพธ์หลักคือ ปริมาณน้ำนมในแต่ละครั้งของการให้นมวัดโดย test weight method ในวันที่ 2 หลังคลอด ผลลัพธ์รองคือ breast milk score จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของทารก และอาการไม่พึงประสงค์จากการนวดเต้านม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำนมในวันที่ 2 หลังคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.052) (mean difference=13.37; 95% CI: <br />-0.15 to 26.68; p-value=0.052) ในทำนองเดียวกัน breast milk score ในวันที่ 2 และ 3 และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของทารกทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference=0.25; 95% CI: -0.63 to 0.13; p-value =0.198, 0.15; 95% CI: -0.51 to 0.21; p-value =0.413 และ -0.57; 95% CI: -0.73 to 1.88; p-value =0.384, 0.47; 95% CI: -1.76 to 0.81; p-value=0.465 ตามลำดับ) ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการนวดเต้านมในกลุ่มทดลอง สรุปผลการศึกษาหญิงหลังคลอดการนวดเต้านมครั้งเดียวในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอดไม่มีประสิทธิผลต่อปริมาณน้ำนมเมื่อเปรียบเทียบกับหญิงหลังคลอดที่ไม่ได้รับการนวดเต้านม ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาจำนวนครั้งของการนวดเต้านม ที่มีประสิทธิผลต่อการส่งเสริมปริมาณการไหลของน้ำนมหญิงหลังคลอดและทำได้สะดวกในทางปฏิบัติ</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/266107 พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2024-01-26T15:17:52+07:00 ปิยะนารถ คำภูแสน Piyanart.kh@kkumail.com Ratthaphol Kraiklang Kraiklang ratthaphol.bc@gmail.com <p>วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค ระดับความรู้ ทัศนคติ อาหารที่มีโพแทสเซียมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง จำนวน 280 ราย ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกพิเศษในวันพุธ-วันศุกร์ เวลา 08.00 น.-12.00 น. โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การบริโภคอาหารย้อนหลังในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ความถี่ในการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียม ความรู้ ทัศนคติ และการให้บริการสุขภาพเกี่ยวกับบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ59.29 อายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี มากที่สุด ร้อยละ 81.07 โดยส่วนใหญ่มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรกร้อยละ 79.29 และระยะท้ายร้อยละ 20.71 มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 75.00 ทัศนคติผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรก และระยะท้าย ส่วนใหญ่มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.55 และร้อยละ 55.41 ผู้ป่วยโรค<br />ไตเรื้อรังส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพเกี่ยวกับบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.36</p> <p>สรุป: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความรู้อยู่ในระดับต่ำ และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรกบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ป่วยโรค</p> <p> </p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/269375 บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น 2024-03-11T09:13:44+07:00 ratchadaporn yonglaoyoong ratchadaporn.y@kkumail.com สุรชัย พิมหา suraphi@kku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 276 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน หาค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับปัจจัยทางการบริหาร และระดับความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 (S.D.=0.63), 3.85 (S.D.=0.69) และ 4.14 (S.D.=0.68) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมของบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.831, p-value&lt;0.001, 95% CI 0.775-0.874) และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.846, p-value&lt;0.001, 95% CI 0.792-0.886) กับความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย บรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันหนึ่งอันเดียวกัน ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี และปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 75.4 (R<sup>2</sup>=0.754, p-value&lt;0.001) ดังนั้น สรุปได้ว่าบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารมีความสำคัญต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/268263 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ 2024-03-19T09:43:51+07:00 ณัฏฐกิตต์ แสงขัน nutthakit.16012537@gmail.com สินีนาฏ ชาวตระการ schautrakarn@gmail.com วราภรณ์ บุญเชียง waraporn@boonchieng.net พัลลภ เซียวชัยสกุล Pallop.s@cmu.ac.th <p>การดำเนินชีวิตของพระสงฆ์มีข้อจำกัดในหลายด้านที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจึงเลือกระบบสุขภาพที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของตนเอง การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่</p> <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ ที่อยู่<br />จำพรรษาในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 311 รูป ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากรายชื่อพระสงฆ์โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และได้วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยรับการถวายความรู้ด้านสุขภาพ (64.95%) และเกือบครึ่งหนึ่งไม่เคยรับถวายการตรวจสุขภาพประจำปี (49.52%) ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ประเภทวัด (Adj OR=1.88; 95%CI: 1.10-3.20) การทราบสิทธิรักษาพยาบาล (Adj OR=1.98; 95%CI: 1.11-3.50) และการสนับสนุนทางสังคม (Adj OR=0.97; 95%CI: 0.94-0.99) เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่อย่างนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>ดังนั้น พฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์ที่เหมาะสม ควรดำเนินไปภายใต้การเลือกระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/268767 ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-08T10:06:23+07:00 รศ.ดร.อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง atthawit.s@kkumail.com ภัทรกร จันทวร Pattharakorn147@hotmail.com พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ bhud2013@yahoo.com <p>สมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ของ อสม. ซึ่งการวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามในตัวอย่างที่เป็นอสม. จำนวน 200 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และหาความสัมพันธ์ โดย Multiple logistic regression นําเสนอค่า Adjusted OR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% และ ค่า p-value</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.70, S.D.=0.54) โดยพบว่า ด้านทัศนคติมากที่สุด ( =3.86, S.D.=0.62) รองลงมาคือ ด้านความรู้ ( =3.69, S.D.=0.62) และด้านทักษะ ( =3.59, S.D.=0.57) อสม. ส่วนใหญ่มีสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ อยู่ในระดับสูง จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ทั้งนี้เมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ พบว่า ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. (AOR=31.02, 95% CI: 11.65-82.59, p-value&lt;0.001)</p> <p>สรุปและข้อเสนอแนะ อสม. มีสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ ระดับมาก ปัจจัยด้านประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนมีอิทธิพลต่อสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ครอบคลุมทั้งด้านทัศนคติ ความรู้ และทักษะ โดยเน้นให้ อสม. <br />มีประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ อสม. มีความสามารถในการแนะนำ หรือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนให้ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/265193 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการพลัดตกหกล้มแบบพหุปัจจัยของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี 2024-01-29T11:13:33+07:00 Warunsicha Supprasert warunsicha@scphc.ac.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการพลัดตกหกล้มแบบพหุปัจจัยของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวนทั้งสิ้น 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมฯ จำนวน 4 กิจกรรม สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับเพียงกิจกรรมการเสริมสร้างความรู้ตามปกติที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจัดให้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ Independent sample t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทักษะ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความสามารถในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ -3.40, -7.84, -14.54 และ -4.90 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.90, 9.14, 16.27 และ 3.94 ตามลำดับ)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ หน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการอบรมเตรียมความพร้อมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อให้มีศักยภาพในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุในชุมชนลดโอกาสเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/269242 ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสื่อสารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย 2024-03-05T10:19:29+07:00 Lalita Phunprom lalita.phu@kkumail.com ดร.สุรชัย พิมหา พิมหา suraphi@kku.ac.th.com <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสื่อสารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 คน จากประชากร 384 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของแบบสอบถามและเผื่อการไม่ตอบกลับ ช่วยลดปัญหาในการส่งแบบสอบถามซ้ำ หรือการปฏิเสธให้ความยินยอมในการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้เพิ่มกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 20 ได้จำนวน 160 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.98 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม การสื่อสารแบบอวัจนภาษา และการสื่อสารด้านลายลักษณ์อักษร ทั้ง 4 ตัวแปร มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ได้ร้อยละ 75.1 (R<sup>2</sup>=0.751, p-value&lt;0.001) ดังนั้นสรุปได้ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสื่อสารมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/266917 พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานของบุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 2024-01-31T15:41:06+07:00 กีรติกา บุษมงคล passara.b@kkumail.com พรพิมล ชูพานิข pornpch@kku.ac.th <p> </p> <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน รวมถึงหาค่าความหวานของเครื่องดื่มรสหวานยอดนิยม 5 อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 257 คน การวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1) สำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามออนไลน์ ระยะที่ 2) นำข้อมูลที่เก็บได้ในระยะที่ 1 มาจัดลำดับเครื่องดื่มรสหวานยอดนิยมออกเป็น 5 อันดับสำหรับหาค่าความหวานของเครื่องดื่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน ≥ 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 84.0 และบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน 1 แก้วต่อวัน ร้อยละ 94.6 โดยเครื่องดื่มรสหวานที่นิยมบริโภค <br />5 อันดับแรก ได้แก่ ชาเขียวเย็น ชาเขียวปั่น แบล็คคอฟฟี่น้ำผึ้ง ชาไทยเย็น และมัทฉะฮันนี่ ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่กลุ่มตัวอย่างตอบเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด คือ ราคาเครื่องดื่มรสหวานมีอิทธิพลต่อการบริโภคหรือตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 72.3 รองลงมาคือ รสชาติความอร่อยของเครื่องดื่มรสหวานทำให้ต้องบริโภคหรือหาซื้อเครื่องดื่มรสหวานมาบริโภคเป็นประจำ ร้อยละ 64.5 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติว่าการซื้อเครื่องดื่มรสหวานมาบริโภคเป็นเรื่องง่ายและสะดวก ร้อยละ 59.4 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานในระดับไม่ดี ร้อยละ 70.4 ปริมาณน้ำตาลของเครื่องดื่มรสหวานที่นิยมบริโภค 5 อันแรกเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24.0-57.5 กรัม หรือประมาณ 6-14.4 ช้อนชา ดังนั้น ควรจัดหาแนวทางหรือมาตรการในการส่งเสริมให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่จำหน่ายภายในและรอบบริเวณมหาวิทยาลัย รวมถึงควรมีการส่งเสริมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องในการเลือกบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน</p> 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/272617 บทบรรณาธิการ 2024-07-19T16:28:16+07:00 วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น kkujphr@gmail.com 2024-07-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น