TY - JOUR AU - วันเพ็ง, กัญญารัตน์ AU - พรหมพงษ์, พนิดา AU - ไล้สุวรรณชาติ, ปัญจรัตน์ AU - ศรีศศลักษณ์, ปุรินทร์ AU - นพรุจจินดา, สุภาวดี AU - พลับพลาไชย, ธณารัตน์ PY - 2021/08/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 14 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/252968 SP - 126-137 AB - <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดความรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข(2561)และแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม(Orem, 2001) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 240 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p><p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับสูง จำนวน 147 คน (ร้อยละ 61.25) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 127 คน (ร้อยละ 52.92) เมื่อพิจารณาความรอบรู้สุขภาพตาม <br>6 องค์ประกอบ พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 75.80 ด้านความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.80 ด้านทักษะการสื่อสารในระดับต่ำ ร้อยละ 49.17 ด้านทักษะการจัดการตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 67.08 ด้านทักษะการตัดสินใจในระดับสูง ร้อยละ 62.92 และด้านการรู้เท่าทันสื่อในระดับต่ำ&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 81.67 &nbsp;นอกจากนี้ยังพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( <sup>&nbsp;</sup>= 10.547 p-value 0.001)</p><p>ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> ER -