TY - JOUR AU - เค้าแคน, พิชญ์จิลักษณ์ AU - เจริญธัญรักษ์, เลิศชัย PY - 2022/06/07 Y2 - 2024/03/28 TI - ผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 15 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/252390 SP - 1-8 AB - <p><strong>          </strong></p><p>ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของทารกตามมา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพัฒนาการภาวะโภชนาการ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ในเขตพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พร้อมการคัดลอกข้อมูลจาก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และคู่มือเฝ้าระวังคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่คลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 จำนวน 112 คน วิเคราะห์ทางสถิติโดยสถิติพรรณนา</p><p>ผลการวิจัย พบว่าเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ16.9 ส่วนใหญ่ได้กินนมแม่และนมผสม ร้อยละ 37.5 ด้านการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน และ 18 เดือน พบว่า เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 7.1 และน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 6.4 ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุร้อยละ 10.7 และเมื่อวิเคราะห์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบมีน้ำหนักค่อนข้างผอมและผอม ร้อยละ 8.9 ท้วมและอ้วน ร้อยละ 6.3 ด้านพัฒนาการพบว่า เด็กอายุ 6 เดือนและ 18 เดือน มีด้านพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวสมวัยมากที่สุด ร้อยละ 96.9 และ 95.7 ตามลำดับ และเด็กอายุ 6 เดือนและ 18 เดือน มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาระดับสงสัยล่าช้าและล่าช้า ที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุด ร้อยละ 59.1 และ 15.2 ตามลำดับ การได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามเกณฑ์อายุ พบกลุ่มอายุ 6 เดือน และ 18 เดือน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 98.5 และ 97.8 ตามลำดับ ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 1.5 และ 2.2 ตามลำดับ</p><p>จากผลการศึกษาจึงควรมีการฝากครรภ์และดูแลมารดาวัยรุ่นก่อนคลอดเน้นโภชนาการให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตล่าช้า การคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย พร้อมทั้งให้การติดตามการเจริญเติบโต และพัฒนาการเด็กทารกไปจนถึงอายุ 5 ปี</p> ER -