TY - JOUR AU - ศิริไพบูลย์, ชวนพิศ AU - ดวงจินดา, อิทธิพล AU - ศรีหมากสุก, กันธิมา AU - เคหะนาค, ศรีสรางค์ AU - บุญครอง, อังคณา PY - 2020/12/24 Y2 - 2024/03/29 TI - ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 14 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/245490 SP - 94-107 AB - <p>ความเชื่อส่วนบุคคลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในการปฏิบัติหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และช่วยให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ในระยะยาว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือการดูแลสุขภาพของตนเอง ขึ้นอยู่กับความเชื่อและการรับรู้ด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ของความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ประชากร คือ คนไทยที่มีอายุ 60 ปี&nbsp; ขึ้นไป ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้สูตรการคำนวณหาขนาดตัวอย่างของไวเออรส ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 376 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.892 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.936 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p><p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.51 เพศชาย ร้อยละ 41.49 เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) &nbsp;ร้อยละ 52.13 อายุเฉลี่ย 70.61 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 53.46 ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 64.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,500.00 บาท การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 67.55 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 35.90 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 28.19 มีภาวะสุขภาพดี ร้อยละ 50.27 ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 2.340, S.D.=0.227) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.412, S.D.= 0.371) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การศึกษา (χ<sup>2</sup>=19.358, p=0.013) โรคประจำตัว (χ<sup>2</sup>=21.241, p&lt;0.01) และภาวะสุขภาพ (χ<sup>2</sup>=37.460, p&lt; 0.01) และพบว่าความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=0.623, p&lt;0.01) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r= -0.170) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและรักษาโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r= -0.361) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r=0.117) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=0.567) ในขณะที่การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติ (r=0.632) ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ (r=0.627) และปัจจัยร่วม (r=0.627) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p>จากการวิจัยครั้งนี้ ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุไทยมีความสัมพันธ์ในทางบวก แต่มีบางตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ดังนั้น ควรเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้ที่ถูกต้องตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างเป็นขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือมีภาวะสุขภาพไม่ดี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และบริบทของผู้สูงอายุ ซึ่งจะผลักดันให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว</p> ER -