TY - JOUR AU - บุษมงคล, นฤมล AU - เพียรภายลุน, อัจฉริยา PY - 2020/09/24 Y2 - 2024/03/28 TI - ลักษณะทางระบาดวิทยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 14 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/244357 SP - 90-97 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p><strong>หลักการและวัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>โรคไตเรื้อรัง ปัจจุบันถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก&nbsp; อุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกประเทศ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากขึ้น สำหรับประเทศไทยความชุกของโรคไตเรื้อรังในประเทศนั้นมีแนวโน้มและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทางแพทย์ในการวางแผนเป็นการหาแนวทางการลดความรุนแรงของโรคหรือเป็นการหาแนวทางป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยไตเรื้อรัง</p><p><strong>&nbsp;</strong></p><p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบ Case control study เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน ที่เป็นทะเบียนประวัติการรักษาที่เก็บไว้ที่โรงพยาบาล โดยมีการบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาใช้บริการที่โรงพยาบาล ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Health Data Center Kalasin&nbsp; ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลนาคู ระหว่างวันที่&nbsp; 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 420 ราย&nbsp; กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากนั้นจึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ ค่า Crude Odds ratio, Adjust Odds ratio และ 95% Confident interval กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 &nbsp;</p><p><strong>&nbsp;</strong></p><p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> จากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 420 ราย พบว่า กลุ่มศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.4 &nbsp;อายุน้อยกว่า 70 ปี ร้อยละ 59.5 อายุเฉลี่ย 65.6 &nbsp;ปี&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.2 &nbsp;ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาร้อยละ&nbsp; 80.5&nbsp; โรคประจำตัวร่วม&nbsp; ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง&nbsp; ร้อยละ 46.6&nbsp; ระยะจากบ้านถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระยะทาง 21 กิโลเมตร – 35 กิโลเมตร ร้อยละ 58.6 ระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคไต ส่วนใหญ่ 2 ปี ร้อยละ 72.4 ความสม่ำเสมอในการรักษา ส่วนใหญ่&nbsp; 1-3 ครั้งต่อระยะเวลาลาการเป็นโรคไต ร้อยละ 65.7 และสิทธิการรักษา ส่วนใหญ่เป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 95.7 กลุ่มควบคุม&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.3 &nbsp;อายุน้อยกว่า 70 ปี ร้อยละ 81.4 อายุเฉลี่ย 60.6 ปี&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.9 &nbsp;ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาร้อยละ&nbsp; 80.5&nbsp; โรคประจำตัวร่วมส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง&nbsp; ร้อยละ 46.6 ระยะจากบ้านถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระยะทาง 100 เมตร – 5 กิโลเมตร ร้อยละ 43.8 ระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคไต ส่วนใหญ่ 2 ปี ร้อยละ 83.3 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ความสม่ำเสมอในการรักษาส่วนใหญ่&nbsp; 1-3 ครั้งต่อระยะเวลาลาการเป็นโรคไต ร้อยละ 77.1&nbsp; และสิทธิการรักษาส่วนใหญ่เป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 93.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 3.84 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่า 70 ปี (AdjOR=3.84,95%CI;2.33-6.34,p&lt;0.001) ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ ร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับผู้มีระดับการศึกษาประถมศึกษา (AdjOR=0.23, 95%CI; 0.13-0.37, p&lt;0.001) โรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง&nbsp; ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 6.10 เท่า &nbsp;&nbsp;เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (AdjOR=6.10, 95%CI; 1.62-22.80, p=0.007)&nbsp;</p><p>&nbsp;</p><p>&nbsp;<strong>สรุปผลการศึกษา</strong>&nbsp; พบว่า อายุ 70 ปีขึ้นไป&nbsp; ระดับการศึกษามัธยมศึกษา และโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>&nbsp;คำสำคัญ</strong> <em>โรคไตเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางไต </em></p><p>&nbsp;</p> ER -