TY - JOUR AU - Lorvansay, Anousak AU - มุกตพันธุ์, เบญจา PY - 2020/08/18 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มพนักงานของรัฐ เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 13 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/243642 SP - 70-80 AB - <p>โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคความดันโลหิตสูงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ยังมีน้อย การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มพนักงานของรัฐในเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของรัฐ อายุ 35-60 ปี จำนวน 285 คน ภาวะความดันโลหิตสูงกำหนดโดยค่าความดันซีสโตลิก ≥140 mmHg หรือความดันไดแอสโตลิก ≥ 90 mmHg หรือมีการใช้ยาลดความดันโลหิตเป็นประจำ เก็บข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 63.9 มีอายุเฉลี่ย 42.8±7.2 ปี อัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 26.7 เพศชายมีความชุกร้อยละ 31.9 และเพศหญิงร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ≥45 ปี (OR<sub>Adj</sub>=2.4, 95% CI: 1.32, 4.24, p=0.004) ภาวะอ้วน (BMI ≥25 kg/m<sup>2</sup>) (OR<sub>Adj</sub>=3.1, 95% CI: 1.71, 5.58, p=0.001) การชอบรับประทานอาหารรสจัด (OR<sub>Adj</sub>=2.8, 95% CI: 1.48, 5.21, p&lt;0.001) โดยสรุปหนึ่งในสี่ของพนักงานรัฐที่ศึกษามีภาวะความดันโลหิตสูง ควรมีโครงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปและในคนอ้วน</p> ER -